ถึงแม้เด็กในวัย 1-6 ขวบยังเล็ก แต่คุณพ่อ คุณแม่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยพฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่างของลูกน้อย การไม่ตักเตือน ไม่อธิบายว่าสิ่งที่ลูกทำนั้นมันผิดอย่างไร อาจส่งผลให้ลูกคิดว่าทำแล้วไม่เป็นไร และไม่คิดว่าผิด จนทำให้ ลูกทำผิดเป็นนิสัย ทำให้อยู่ยากในสังคม
ลูกทำผิดเป็นนิสัย หยุดเรื่องเล็กไม่ให้เป็นเรื่องใหญ่
- พูดแทรก กวนใจขณะที่คุณพ่อ คุณแม่กำลังพูด หรือยุ่งอยู่
เรื่องเล็กที่ไม่ควรปล่อย:
ลูกน้อยอาจตื่นเต้นกับเรื่องบางอย่าง และอยากจะเล่าให้คุณพ่อ คุณแม่ฟัง หรือมีเรื่องสงสัยที่ต้องถามคุณพ่อ คุณแม่ให้ได้คำตอบเดี๋ยวนั้น จึงพูดแทรกขึ้นมาทันที ถ้าปล่อยไว้ จะส่งเสริมให้ลูกน้อยไม่รู้จักคิดถึงจิตใจของผู้อื่น หรือไม่มีมารยาทในการฟังที่ดี เมื่อคนอื่นกำลังยุ่ง ตัวเองจะต้องได้คำตอบนั้นเดี๋ยวนี้ เมื่อคุณพ่อ คุณแม่ยอมแล้ว ลูกน้อยจะคิดว่าตัวเองคือศูนย์กลางของจักรวาล และจะไม่อดทนต่อสิ่งใดๆ เลย
หยุดพฤติกรรม ลูกชอบพูดแทรก ไม่ให้เป็นเรื่องใหญ่:
เมื่อคุณพ่อ คุณแม่กำลังยุ่ง หรือพูดคุยธุระสำคัญ บอกลูกตรงๆ ว่าให้รอก่อน อย่าพึ่งรบกวนคนอื่น อาจลองให้ลูกน้อยเล่นของเล่นที่สามารถเล่นคนเดียวสักครู่ อธิบายให้ลูกน้อยฟังว่าลูกจะไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ถ้าพูดแทรก หรือกวนใจผู้อื่น ขณะที่เขายังไม่ว่าง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ลูกน้อยชอบเล่นรุนแรง” คลิกหน้า 2
2. ลูกน้อยชอบเล่นรุนแรง
เรื่องเล็กที่ไม่ควรปล่อย:
คุณพ่อ คุณแม่ต้องเข้าไปห้าม ถ้าลูกน้อยกำลังผลักเพื่อนอย่างแรง หรือดึงผม หรือดึงของเล่นของเพื่อน ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ไม่ห้ามตั้งแต่ตอนนี้ พฤติกรรมรุนแรงเหล่านั้น จะติดตัวเขาไปจนโต และทำให้ลูกน้อยจดจำว่าการทำร้ายคนอื่น เป็นเรื่องที่ยอมรับได้
หยุดพฤติกรรม ลูกชอบเล่นรุนแรง ไม่ให้เป็นเรื่องใหญ่:
บอกลูกทันทีว่า ลูกกำลังทำให้เพื่อนเจ็บ แล้วถ้ามีใครมาทำแบบนั้นกับลูกบ้างลูกจะรู้สึกอย่างไร อธิบายให้ชัดเจน ว่าคุณพ่อ คุณแม่ไม่อนุญาตให้ลูกน้อยใช้ความรุนแรง ย้ำก่อนจะเล่นทุกครั้ง ฝึกให้ลูกอธิบายออกมาเป็นคำพูด เมื่อรู้สึกโกรธ หรือไม่พอใจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ลูกน้อยชอบขี้โม้ พูดเกินจริง พูดโกหก” คลิกหน้า 3
3.ลูกน้อยชอบขี้โม้ พูดเกินจริง พูดโกหก
เรื่องเล็กที่ไม่ควรปล่อย:
คุณพ่อ คุณแม่อาจจะเห็นเป็นเรื่องเล็ก เมื่อลูกน้อยบอกคุณพ่อ คุณแม่ว่าเขาเก็บที่นอนเอง ทั้งๆ ที่ยังไม่เห็นเขาแตะผ้าห่มเลย หรือลูกชอบโม้กับเพื่อนๆ ว่า เขาเคยไปเที่ยวที่นั่น ที่นี่มาแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยไปเลยสักครั้ง นี่คือเรื่องเล็กที่สำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะการพูดโกหกจนเป็นเรื่องปกติของลูกน้อย จะทำให้เขาเรียนรู้ว่าว่านั่น เป็นวิธีในการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง หรือเพื่อปฏิเสธสิ่งที่เขาไม่อยากทำ
หยุดพฤติกรรมไม่ให้เป็นเรื่องใหญ่:
เมื่อลูกน้อยพูดอะไรที่ไม่จริง คุณพ่อ คุณแม่ต้องบอกลูกอย่างจริงจังว่า ไม่ควรไปบอกเพื่อน หรือโกหกเพื่อนแบบนั้น อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าถ้าเราไม่พูดความจริง ก็จะไม่มีใครเชื่อถือเราอีกต่อไป หรือคุณพ่อ คุณแม่อาจใช้นิทานมาเป็นตัวช่วยในการสอนลูกน้อยเรื่องผลของการโกหก เช่น นิทานเด็กเลี้ยงแกะ เป็นต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save