AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกนอนกัดฟัน ส่งผลเสียอย่างไร และแก้ด้วยวิธีไหน?

ลูกนอนกัดฟัน …หนึ่งในอาการที่ทำเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนเกิดความเป็นกังวลอยู่ไม่น้อย และอดห่วงไม่ได้ในเรื่องสุขภาพฟันของลูก

สาเหตุที่ ลูกนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟันพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการนอนกัดฟันในเด็กเป็นภาวะที่พบได้ร้อยละ 15 – 33 ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นทุกวัน และถึงแม้ว่ายังไม่สามารถหาคำอธิบายถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการนอนกัดฟันได้ แต่กลับพบปัจจัยเสี่ยงของเด็กที่ชอบนอนกัดฟัน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. สภาพจิตใจ ที่เกิดจากการความตึงเครียดความวิตกกังวล ก็มีส่วนไปกระตุ้นให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ เช่น การมีน้องคนใหม่และการสอบ

2. พันธุกรรมในครอบครัวที่พ่อหรือแม่นอนกัดฟัน มีเด็กมีพี่หรือน้องนอนกัดฟัน ลูกจึงมีโอกาสสูงที่จะนอนกัดฟันได้เหมือนกัน

3. เกิดจากร่างกายของตัวเด็กเอง ที่สมองและระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้นมากเกินจึงทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้นได้

4. การเจ็บป่วย การขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินบี 5 และธาตุ แคลเซียม รวมถึงการมีพยาธิ

5. ฟันใหม่จะขึ้นหรือฟันเก่าหลุด

6. การได้รับยาหรือสารบางอย่าง ที่ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดี เช่น กาเฟอีน ในชา กาแฟ น้ำอัดลม โกโก้หรือช็อกโกแลต และแอลกอฮอล์ หรือยาต้านโรคซึมเศร้าบางตัว อาจกระตุ้นการนอนกัดฟัน แต่มักเกิดกับผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟันมากกว่าในเด็ก

7. ส่วนในรายที่เป็นทุกวันอาจเป็นเพราะมีการสบฟันที่ผิดปกติ การเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ หรือเป็นความผิดปกติของการนอนรูปแบบหนึ่ง (sleep disorder)

อย่างไรก็ดี เด็กที่ชอบนอนกัดฟัน อาจพบร่วมกับโรคและพฤติกรรมที่ผิดปกติในขณะนอนหลับอื่นๆได้ด้วย เช่น นอนละเมอพูดหรือละเมอเดิน ปัสสาวะรดที่นอน นอนกรนและโรคทางเดินหายใจอุดกั้นทำให้หยุดหายใจเป็นพักๆขณะหลับ และ โรคสมาธิสั้น ซึ่งสามารถเกิดอาการควบคู่กับการนอนกัดฟันในตัวเด็กได้ ผู้ปกครองควรสังเกตด้วยว่าเด็กมีโรคอื่นๆเกิดร่วมหรือไม่และควรนำลูกไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนั้นๆด้วย

เด็กที่นอนกัดฟันบางคนอาจบ่นว่าปวดตรงข้อต่อขากรรไกร ร้าวไปที่ในหู หรือปวดๆเมื่อยๆเวลาอ้าปาก เคี้ยวอาหาร บริเวณแก้มหรือขมับเพราะกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเมื่อยล้าจากพฤติกรรมนอนกัดฟัน หรือบ่นปวดศีรษะบ่อยๆ อาการนี้อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าลูกนอนกัดฟัน

อ่านต่อ >> “ผลเสียของการ ที่ลูกชอบนอนกัดฟัน” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

X ผลเสียของการนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟันเป็นประจำ จะทำให้ เคลือบฟันสึก ทำให้ฟันผุง่าย เสียวฟัน ฟันโยก ฟันแตกหรือบิ่น ปวดหน้า ปวดศีรษะ ปวดขากรรไกร ปวดต้นคอ ปวดหู ข้อต่อขากรรไกรสึก

และในกรณีที่เด็กนอนกัดฟันจนเสียงดังมาก ก็อาจจะทำให้ฟันของลูกเริ่มมีขนาดสั้นลง ก่อให้เกิดอันตรายถึงโครงสร้างของฟันได้ จนสามารถไปทะลุถึงโพรงประสาทฟันเลยก็ได้ ทั้งนี้ โครงสร้างของฟันภายนอกจะประกอบไปด้วย เคลือบฟัน เนื้อฟัน และเส้นประสาทที่อยู่ตรงกลาง เมื่อได้รับการสึกกร่อนมากเกิน ผลที่จะได้รับ ก็คือ เกิดอาการเสียวฟัน ฟันบิ่นแตก และฟันร้าว หรือกัดลิ้น กัดแก้ม เกิดเป็นแผลในปากบ่อยๆเป็นต้น เพื่อช่วยป้องกันฟันสึกและลดอาการปวดเมื่อยขากรรไกรและปวดศีรษะ อาจจะจำเป็นต้องใส่เฝือกสบฟันในขณะนอน ทั้งยังลดเสียงกัดฟันได้ด้วย

พฤติกรรมนอนกัดฟัน ในบางครั้งไม่มีเสียงดังก็ได้ เพราะเป็นแบบกัดฟันแน่นๆ ไม่ใช่กัดแบบฟันถูไปถูมา ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะสังเกตยากมากเพราะไม่มีเสียงดังให้ได้ยิน ต้องพามาให้ทันตแพทย์ช่วยตรวจหาดูว่ามีฟันที่สึกหรือไม่ หรืออาจสังเกตจากอาการปวดขากรรไกรหรือปวดศีรษะบ่อย ๆ แทน

√ พ่อแม่จะช่วยแก้ปัญหา ลูกนอนกัดฟันได้อย่างไร?

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นลูกนอนกัดฟันบ่อย จนรุนแรงแล้วมีอาการปวดขากรรไกร ปวดศีรษะ ฟันสึก เสียวฟัน ก็ควรมาปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์ (เฝือกสบฟัน) หากเด็กที่นอนกัดฟัน อย่าง 2 หรือ 3 เดือน นอนกัดฟันซัก 1 ครั้ง ก็คงต้องดูอาการไปก่อน คอยสังเกตดูว่าฟันของลูกมีความสึกกร่อนมากน้อยแค่ไหน คอยถามลูกว่ามีความเจ็บปวดตรงไหนหรือเปล่า หากโตขึ้นอาการยังไม่หาย ก็คงต้องใส่เครื่องมือเฝือกสบฟัน ปกป้องไม่ให้ฟันแท้สึก

ทั้งนี้การแก้ไขสามารถแก้ได้ที่ต้นเหตุ เช่น การลดความเครียด การทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนเข้านอน (นวดกล้ามเนื้อบริเวณหน้า ประคบอุ่นที่หน้า ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือดีๆ) การรักษาโรคภูมิแพ้ การให้สารอาหารที่ขาด การให้ยาฆ่าพยาธิ การงดอาหารที่มีกาเฟอีน การงดเคี้ยวหมากฝรั่งเพราะอาจทำให้เกิดความเคยชินจนละเมอเคี้ยวตอนนอน หรือการฝึกทำท่าผ่อนคลายกล้ามเนื้อขากรรไกรโดยใช้ลิ้นดุนระหว่างฟันบนและฟันล่าง (relax jaw muscle)

คุณแม่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขในกรณีที่มีการสบฟันผิดปกติ (แก้ไขโดยการจัดฟัน) และตรวจดูว่ามีฟันที่เสียหายเพราะการกัดฟันแล้วหรือยัง ทันตแพทย์อาจแนะนำให้สวมที่ครอบฟัน (night guard) ก่อนนอน แต่ในกรณีของลูกคุณแม่ เนื่องจากยังอายุน้อยและยังเป็นฟันน้ำนม ส่วนใหญ่จึงไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงลองแก้ที่สาเหตุที่อาจเป็นไปได้และคอยดูไม่ให้มีฟันผุก็พอค่ะ

กรณีที่การกัดฟันไม่สมดุล เช่น มีฟันบางซี่กระทบกันก่อนที่ซี่อื่นจะสบกัน สามารถแก้ไขได้ ด้วยการกรอผิวฟันเฉพาะจุดเพื่อเกิดความสมดุลในการสบฟันและการบดเคี้ยว

อีกทั้ง คุณหมอได้แนะวิธีการนอนที่ถูกสุขลักษณะสำหรับบ้านที่มีลูกชอบนอนกัดฟันไว้ 4 วิธี คือ

ถึงแม้ว่าโรคนอนกัดฟันจะหาวิธีรักษาให้หายค่อนข้างยาก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกนอนกัดฟันลดลงได้ โดยเริ่มจากการใส่ใจ และคอยสังเกตลูกอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความตึงเครียด และความกังวลให้กับพ่อแม่ได้

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th ผศ.ดร.ทพญ.เปรมทิพย์ ชลิดาพงศ์ คลินิกนอนกรนและนอนกัดฟัน ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์ทันตกรรม รพ.ปิยะเวท

และ แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด