ลูกนอนหลับ มีแต่ได้กับได้ จะดีจริงอย่างที่เขาพูดกันหรือไม่ ไปหาคำตอบกันค่ะ
คุณพ่อคุณแม่คะ ได้มีการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์แล้วค่ะว่า การนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่มีคุณค่ากับการพัฒนาการของลูกเป็นอย่างมากเลยละค่ะ เพราะช่วงเวลาดังกล่าว คือช่วงเวลาที่ร่างกายของลูกจะพัฒนาได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการทางด้านสมอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรที่จะนอนหลับพักผ่อนให้มาก เพราะสมองจะมีพัฒาการเร็วที่สุด โดยขนาดสมองของเด็กในวัยนี้โตถึง 80% ของสมองผู้ใหญ่เลยละค่ะ อีกทั้งช่วงเวลาที่ลูกนอนนั้น เปรียบเสมือนกับช่วงเวลาที่ร่างกายทำการรวบรวมข้อมูลที่ลูกไปเจอมาทั้งวันสะสมและบันทึกไว้เพื่อที่จะสามารถเรียกกลับมาดูได้ในเวลาต่อมา
สำหรับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 3 เดือนแรก เด็กจะนอนมากถึง 16 – 18 ชั่วโมงต่อวัน เพราะยังไม่สามารถแยกแยะเวลากลางวันและกลางคืนได้ ดังเช่น คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะสามารถสังเกตได้ว่า ลูกของเราชอบนอนเวลากลางวัน และมักที่จะตื่นในเวลากลางคืน ต่อมาพอลูกมีอายุครบได้ 4 – 6 เดือน การนอนกลางวันก็จะเริ่มลดน้อยลง เหลือวันละ 1 – 2 ชั่วโมง และก็จะยืดเวลาในการนอนกลางคืนยาวขึ้น
แต่เมื่อโตขึ้นอายุครบได้ 1 ปี จะลดชั่วโมงการนอนเหลือ 12 – 13 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อลูกอายุได้ 4 – 6 ปี ก็จะไม่นอนกลางวัน และจะนอนกลางคืนเป็นระยะเวลายาวนานเหมือนกับคุณพ่อคุณแม่เลยละค่ะ
การนอนทำไมถึงส่งผลกับพัฒนาการทางสมองลูก คลิก!
เครดิต: Born J, Wilhelm I. System consolidation of memory during sleep. Psychological Research (2012) 76:192–203
เพราะอะไร ลูกนอนหลับ หรือไม่ถึงสำคัญ?
“การนอน” มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของเด็ก พบว่าฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน หลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ถ้านอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความสูง
หากลูกนอนหลับได้ยาว ก็จะช่วยร่างกายในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ด้วยตัวเองว่า ถ้าช่วงใดที่ไม่ไม่สบาย ร่างกายจะส่งสัญญาณให้เรามีความต้องการนอนมากกว่าปกติด้วยนั่นเอง นอกจากนี้การสร้างสุขนิสัยในการนอนที่ดีก็จะช่วยเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
-
การปลูกฝังให้ลูกเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา
-
เด็กบางคนที่นอนไม่พอในเวลากลางคืนติดต่อกัน จะเกิดภาวะอดนอนเรื้อรัง จริงอยู่ที่เด็กอาจจะไม่แสดงออกทางด้านร่างกาย แต่จะไปแสดงออกทางด้านพฤติกรรมแทน เช่น ซน ไม่อยู่นิ่ง ก้าวร้าว ขี้หงุดหงิด เป็นต้น
ตอนท้องแม่นอนดึก ลูกที่เกิดมาจะนอนดึกตามจริงหรือไม่?
สำหรับเรื่องนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยศาสตร์สนับสนุนว่า เกี่ยวหรือไม่อย่างไร เพราะการนอนหลับของแม่นั้นถูกควบคุมจากสารเคมีในร่างกายร่วมกับปัจจัยภายนอก ยกตัวอย่างเช่น แสงสว่างหรือกิจกรรมที่ทำอยู่ในขณะนั้นมากกว่า
จริงอยู่ที่แม่ท้องจะสามารถสื่อสารกับทารกในครรภ์ได้ ไม่ว่าแม่จะทำอะไร ลูกก็สามารถรับรู้ได้หมด แต่ในทางวิทยศาสตร์นั้นคิดว่า การที่ลูกไม่ยอมนอนหลับนั้น น่าจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมมากว่าพันธุกรรม เพราะด้วยธรรมชาติของครรภ์คุณแม่ั้น อบอุ่น เงียบสงบ อุณหภูมิคงที่ ทำให้ทารกในครรภ์นั้นหลับสบาย แต่พอคลอดออกมาแล้วนอนไม่หลับนั้น น่าจะเกิดจากปัจจัยภายนอกตามที่ได้กล่าวมาแล้วมากกว่า
ลูกนอนหลับท่าไหนถึงจะปลอดภัย? คลิก
ลูกนอนหลับ ท่าไหนถึงจะปลอดภัย
สำหรับเด็กแรกเกิดนั้น ท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ ท่านอนหงายหรือนอนตะแคง เพราะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันหรือ (Sudden Infant Death Syndrome: SIDS) และการนอนนั้น จะต้องเป็นเบาะที่นอนที่มีความแข็งพอสมควร ไม่จำเป็นต้องใช้หมอน แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่กลัวลูกจะศีรษะไม่สวย ก็แนะนำให้จับลูกนอนตะแคงและสลับซ้ายขวาบ้างเท่านั้นพอค่ะ
ทำอย่างไรให้ลูกนอนหลับได้ตลอดคืน
-
สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน ให้ลองสังเกตดูว่าสาเหตุที่ลูกร้องตอนกลางคืนนั้นเป็นเพราะอะไร เช่น ร้อน ปวดท้อง แมลงกัด ตกใจผวา หิวนม หรือไม่สบายตัว เมื่อหาสาเหตุเจอก็จะได้แก้ไขได้ตรงจุด
-
สร้างบรรยากาศในห้องนอนของลูกในช่วงเวลากลางคืนให้ดูน่านอน เช่น ดับไฟ เปิดเพลงเบา ๆ อ่านนินทานเล่มโปรดให้ลูกฟัง เป้นต้น
-
ถ้าลูกตืนมากลางดึก อย่าชวนลูกเล่นเด็ดขาดค่ะ ให้ป้อนนมลูกต่อไปด้วยความสงบ หากกลัวมองไม่เห็นก็ให้เปิดไฟสลัว ๆ หน่อยพอ และก็กล่อมให้ลูกนอนหลับต่อไป
ทีนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ทราบกันแล้วใช่ไหมคะว่า การปล่อยให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้น ดีเพียงใด นอกจากนี้นะคะ ได้มีอีกผลงานวิจัยนึงกล่าวว่า เด็กที่นอนหลับพักผ่อนเพียงพอนั้น สามารถทำแบบทดสอบต่าง ๆ ได้ดีกว่าเด็กที่นอนน้อย อารมณ์ดี และจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ แบบนี้แล้ว คืนนี้เรามารีบพาลูกเข้าน้อนกันเถอะนะคะ
เครดิต: สสส.
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่