AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เตือน! ยาลดไข้ ใช้ผิดวิธีอันตรายถึงชีวิตลูก

เครดิตภาพ: Hayley Lyons และ Aboutkidshealth

เมื่อลูกไม่สบาย สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่นึกถึงก็คือ ” ยาลดไข้ ” แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากเราใช้ยานี้ผิดวิธี!

 

 

เพราะอากาศเปล่ี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ประเดี๋ยวฝนตกอีกละ เรียกว่าสมัยนี้วันนึงจะมีครบทั้งสามฤดูแล้วก็ว่าได้ แล้วแบบนี้จะไม่ให้ลูกหลานของพวกเราจะไม่ป่วยกันได้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเฝ้าภาวนาไม่อยากให้เกิดขึ้นก็คือ “ไม่อยากให้ลูกมีไข้หรือตัวร้อน” แต่ใครละจะไปห้ามได้จริงไหมคะ

ทุกครั้งที่ลูกหลานของเรามีไข้สิ่งที่เราจะนึกถึงก็คือ “ยาลดไข้” แต่พวกเราจะมั่นใจกันได้อย่างไรว่ายาที่ลูกหลานรับประทานเข้าไปนั้นจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ กับเขา หรือสามารถให้ยาได้ถูกต้องตามปริมาณที่พวกเขาควรได้รับ ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงยาลดไข้กันค่ะว่า แท้จริงแล้วแบ่งออกเป็นได้กี่ชนิด พร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้กันเลยค่ะ

ในบ้านเราทุกวันนี้ มียาลดไข้ขายกันมากมายหลายชนิดมีทั้งที่ทานแล้วปลอดภัยและทานแล้วส่งผลเสียถึงกับชีิวิต แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่ายาลดไข้ประเภทใดที่ลูกหลานทานได้ปลอดภัยนั้น เราไปดูประเภทของยาลดไข้ที่ไม่ควรรับประทานกันก่อนค่ะ ซึ่งสามารถแบ่งยากลุ่มนี้ออกเป็น 3 พวกด้วยกัน คือ

  1. ยาที่มีตัวยาสำคัญเป็นยาต้านจุลชีพหรือยาฆ่าเชื้อโรค อันได้แก่ เตตร้าซัยคลีน คลอแรมเฟนิค่อล เป็นต้น ยาต้านจุลชีพนี้ มิใช่ยาแก้ตัวร้อน นอกจากไม่มีฤทธิ์ในการลดไข้โดยตรงแล้ว ยังเป็นยาที่มีอันตรายอย่างมากอีกด้วย โดยเฉพาะเตตร้าซัยคลีน (หรือเรียกสั้นๆ ว่า เตตร้า) และคอลแรมเฟนิคอล (หรือเรียกสั้นๆ ว่า คลอแรม) ทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ควรซื้อให้เด็กกินอย่างยิ่ง เพราะอาจมีพิษถึงตายได้ทีเดียว

ซึ่งยาที่ว่านี้ก็มีคุณพ่อคุณแม่บางท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นซื้อไปให้ลูกทานโดยไม่รู้ถึงความอันตรายของมัน ลักษณะของยานั้นเป็นน้ำเชื่อมข้น ๆ เหมือนตะกอนซึ่งเมื่อเขย่าเข้ากันแล้วมักจะมีสีเหลืองหรือสีส้มโดยสรรพคุณของตัวอย่างนั้นจะอวดโอ้เกินความจริงว่า สามารถรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด อีสุกอีใส คางทูม และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่บางท่านที่ไม่ทราบซื้อไปให้ลูกหลานรับประทาน ซึ่งตัวยาอย่างยาเตตร้านั้น หากเด็กรับประทานบ่อยจะทำให้เกิดฟันเหลืองดำหรือฟันผุเสียหาย อีกทั้งยังมีพิษต่อไต ส่วนยาคลอแรม ถ้าหากให้เด็กเล็กรับประทานเข้าไปละก็ อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือไม่ก็ไปกดไขกระดูกไม่ให้สร้างเม็ดเลือดทำให้เกิดเป็นโรคโลหิตจากชนิดร้ายแรงได้ค่ะ

คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไป

เครดิตภาพ: The Telegraph

 

2. กลุ่มยาที่มีตัวยาสำคัญเป็นไดโพโรน ซัลไพรีน อมิโนไพรีน หรือ แอนติไพรีน ซึ่งเป็นยาลดไข้ที่มีอันตรายมาก คือ อาจทำให้เกิดเม็ดเลือดขาวในร่างกายต่ำ (ซึ่งทำให้ความต้านทานโรคของร่างกายน้อยลง เป็นไข้อักเสบต่าง ๆ ได้ง่าย) และแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะในเด็กอาจได้รับอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ ยาพวกนี้ในอเมริกาเขาเลิกใช้ไปตั้ง 30 กว่าปีแล้ว แต่ในเมืองไทยเรากลับปล่อยให้มีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย ยาพวกนี้มักทำเป็นยาน้ำเชื่อมสีเหลืองหรือส้ม

3. ยาลดไข้ที่ผลิตขึ้นเป็นผงบรรจุซองชนิดอื่น ๆ ส่วนมากใช้ตัวยาพวกแอสไพริน และอาจมีตัวยาอื่นผสมด้วย ยากลุ่มนี้มักจะแต่งรสให้หวานล่อใจเด็ก ทำให้เด็กกินง่าย มีขายในท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อ

ความจริงแอสไพรินเป็นยาที่ใช้ได้ค่อนข้างปลอดภัยนะคะ ถ้าหากเรารู้จักใช้ให้ถูกขนาดและถูกวิธี แต่ยาผงบรรจุซองเหล่านี้ มักมีปริมาณของยาในแต่ละซองเกินกว่าขนาดที่เด็กเล็ก ๆ ควรจะใช้ ถ้าหากให้เด็กเล็กกินหมดทั้งซองก็อาจเป็นอันตรายได้ เพราะยาแอสไพรินที่เกินขนาดมาก ๆ สามารถทำให้เด็กหยุดหายใจได้เลยละค่ะ

มาถึงตรงนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านคงเกิดความสงสัยว่า อ้าว! ยานู่นก็ไม่ดี ยานี่ก็อันตราย แล้วจะให้ลูกกินยาแบบไหนละทีนี้ … อย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจไปค่ะ เรายังมีข้อมูลเก่ี่ยวกับยาที่ลูก ๆ สามารถทานได้ปลอดภัยมากฝาก หากอยากรู้แล้วละก็ คลิกอ่านต่อไปได้ที่หน้าถัดไปเลยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม! ยาลดไข้ที่ลูกหลานสามารถทานได้

เครดิตภาพ: The Health Site

 

ยาลดไข้ ที่ปลอดภัย ที่เด็ก ๆ สามารถทานได้ มีดังนี้

 

1. พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อม ซึ่งเป็นยาลดไข้ทีได้ผลดีและให้ความปลอดภัยสูง โดยเฉพาะเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ ควรใช้ยานี้ โดยให้ตามน้ำหนักตัวของเด็ก คือ ครั้งละประมาณ 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวของเด็ก 1 กิโลกรัม ให้กินซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง เฉพาะเวลามีไข้ (ถ้าไข้ลงแล้ว ก็ไม่ต้องให้ยา) ตัวอย่างเช่น เด็กน้ำหนัก 4 กิโลกรัม ก็ต้องให้ครั้งละ 40 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง เป็นต้น

สำหรับผู้ปกครองหรือคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ไม่ทราบถึงน้ำหนักของเด็กนั้น ก็อาจให้รับประทานได้ดังนี้ค่ะ

2.พาราเซตามอลชนิดเม็ดสำหรับเด็ก ใน 1 เม็ด มีตัวยา 300-325 มิลลิกรัม ใช้สำหรับเด็กโตที่กลืนยาเม็ดได้ มีสรรพคุณเหมือนพาราเซตามอลน้ำเชื่อม ส่วนขนาดที่ให้ก็คิดเทียบน้ำหนักตัวของเด็ก เช่นเดียวกัน คือให้ยา 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักเด็ก 1 กก. หรือกะประมาณจากอายุได้ดังนี้

3. แอสไพรินชนิดเม็ดสำหรับเด็กหรือเบบี้แอสไพริน ใน 1 เม็ดมีตัวยาแอสไพริน 60-75 มิลลิกรัม หรือ 1-1 1/4 เกรน แอสไพรินเป็นยาลดไข้ชนิดแรกที่ใช้ได้ผลดี และยังนิยมใช้กันมาจนทุกวันนี้ ต้องใช้กินหลังอาหาร หรือกินพร้อมน้ำจำนวนมาก ๆ เพื่อกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร สำหรับผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะลำไส้ (มีอาการปวดแสบหรือแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาอิ่มจัดหรือหิวจัดเป็นประจำ) ควรเลี่ยงไปใช้ยาพาราเซตามอลดีกว่า และเพราะว่ายานี้สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความชื้นจึงควรเก็บยาไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และเก็บในที่แห้ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเก็บยาแอสไพรินไว้นาน ๆ เมื่อเปิดภาชนะออกดูเห็นว่า มีเกล็ดใส ๆ เป็นเส้นๆ อยู่มากมายก็แสดงว่า ยานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว ซึ่งถ้ากินเข้าไปจะมีอันตรายต่อกระเพาะอาหารได้

ขนาดที่ใช้จะคิดประมาณยาตามน้ำหนักตัวเหมือนยาพาราเซตามอล คือ ให้ 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ก็ได้หรือกะประมาณตามอายุ ดังนี้

ทั้งนี้ การเก็บรักษายานั้น ควรเก็บไว้ในที่ ๆ มิดชิดนะคะ ให้พ้นจากมือลูก ๆ เพราะถ้าหากลูกหลานไปหยิบทานเองละก็ อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตพวกเขาได้นะคะ

เครดิต: ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี หมอชาวบ้าน

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids