AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ไมโคพลาสมา โรคระบาดในเด็ก ฟักตัวช้า

ไมโคพลาสมา ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

จากภาพใน IG ของคุณแม่จูน ที่โพสต์รูปลูกชายสุดที่รักของคุณพ่อเปิ้ล นาคร น้องออร์ก้า ที่เคยป่วยเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคระบาด ไมโคพลาสมา โดยโรคนี้เคยเป็นข่าวครึกโครมในหมู่ทหาร จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อหลายปีก่อน จนถึงขั้นต้องปิดโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค

โรคไมโคพลาสมา

ไมโคพลาสมาคืออะไร?

ไมโคพลาสมา หรือมัยโคพลาสมา (Mycoplasma) คือโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย ติดต่อจากคนสู่คน ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ มียาปฏิชีวนะในการรักษา แต่ไม่มีวัคซีนป้องกัน และผู้ที่เคยติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก

ไมโคพลาสมาเกิดจากอะไร?

ไมโคพลาสมาคือเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็ก ที่เข้าสู่ร่างกายคนและสัตว์ ทำให้เกิดโรค 5 ชนิด เกิดจากการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยที่ ไอ จาม ออกมา เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุ 5-20 ปี พบมากในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูหนาว มักเกิดในชุมชนหนาแน่น เช่น โรงเรียน ค่ายทหาร เป็นต้น

อาการของโรคไมโคพลาสมา

1.โรคระบบทางเดินหายใจ

2.โรคระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

อ่านต่อ “ไมโคพลาสมาอันตรายแค่ไหน? และการป้องกันรักษา” คลิกหน้า 2

ไมโคพลาสมาอันตรายแค่ไหน?

1.อาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง และจะหายใจได้เองในที่สุด แม้ไม่ได้รับยา ถึงแม้โรคจะใช้เวลาอยู่ได้นาน การให้ยาปฏิชีวนะ จะทำให้หายเร็วขึ้นภายใน 7-10 วัน มีส่วนน้อยที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจลุกลามเข้ากระแสเลือด ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ หรืออาจส่งผลต่อสมอง เกิดการสูญเสียการทำงานอย่างถาวร

2.อาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ อาการรุนแรงเกิดขึ้นน้อย แต่อาจมีปัญหาตามมาคือ ทำให้มีลูกยาก และผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจติดเชื้อในกระแสเลือด และมีอาการรุนแรงได้

การป้องกันรักษาไมโคพลาสมา

1.หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ล้างมือบ่อยๆ (ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน)

2.ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

การป้องกันรักษาไมโคพลาสมา

3.เด็กเล็กที่มีอาการ ควรหยุดเรียน ควรแยกห้องนอน

4.เด็กที่มีอาการรุนแรง เช่น ไอมากจนเหนื่อย อ่อนเพลีย มีอาการนานกว่า 1 สัปดาห์ ควรพบแพทย์

เครดิต: IG june_kasama, haamor.com

Save