ฟันผุ ผลแฝงของน้ำตาลจากอาหาร อย่างที่เราทราบกันดีกว่าอาหารหวาน น้ำหวาน ของหวานไม่ดีสำหรับเด็ก ในแง่ของแคลอรี่สูงอาจทำให้เด็กเป็นโรคอ้วนจากพลังงานที่เกินกว่าความจำเป็น แต่พ่อแม่ส่วนมากลืมไปว่าของหวานนั้นส่งผลต่อสุขภาพในช่องปากของลูกด้วย ภาพที่หยิบยกมานี้อาจจะดูโหดไปเสียหน่อย แต่นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และเกิดขึ้นบ่อย จนคุณหมอฟันเห็นแล้วอยากจะร้องไห้แทนเจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสาร
ข้อมูลจาก CDC ระบุว่า ร้อยละ 42 ของเด็กอายุ 2 – 11 ปี จะมีฟันขึ้นมาเกือบครบทั้งปากแล้ว และร้อยละ 21 ของเด็กอายุ 6 – 11 ปี จะเริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ หากย้อนกลับไปในปี 2012 นิวยอร์กไทม์ได้รายงานว่าทันตแพทย์มีการใช้การดมยาสลบกับเด็กเพื่อทำฟันมากขึ้น เพื่อป้องกันเด็กดิ้นและไม่อยู่นิ่งขณะทำฟัน
ฟันผุ จากน้ำหวานปัญหาใหญ่ระดับโลก
ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (2016) เด็กชายวัย 3 ขวบจากนิวซีแลนด์ มีฟันทั้งหมด 11 ซี่ ที่ผุและน่าตกใจมาก เพราะเป็นฟันที่ได้รับผลกระทบจากน้ำตาลอย่างหนัก ซึ่งหากเป็นสหรัฐอเมริกา จะพบว่าทางตอนใต้ของรัฐนิวยอร์กไปจนถึงรัฐอลาบามาจะเป็นรัฐที่พบปัญหาฟันของเด็กจากน้ำอัดลมอย่างมากที่สุด มีน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่งที่เด็กๆ นิยมกันมาก จนเกิดเป็นปัญหาฟันผุลุกลาม
ล่าสุดมีข่าวคุณแม่จากนิวซีแลนด์พาลูกไปหาหมอฟันจากสภาพฟันผุอย่างรุนแรง คุณหมอนับฟันที่พังไปทั้งหมดได้ 11 ซี่ เพราะน้องติดดื่มน้ำหวานโซดาใส่แก้วมาตั้งแต่วัยเตาะแตะ
ในปีเดียว คุณหมอ Dr. Robert Beaglehole ได้สกัดฟันผุ 60 ซี่จากเด็กหลายๆ คน ก็เจอปัญหาฟันกับน้ำอัดลม น้ำหวานต่างๆ เช่นเดียวกับเด็กชายผู้นี้ ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำจากสมาคมทันตแพทย์นิวซีแลนด์ที่พยายามรณรงค์ให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองควรให้เด็กได้รับน้ำและน้ำนมเพียงอย่างเดียว
ทำอย่างไรดี ปัญหาฟันเด็กไม่ได้มีสาเหตุมาจากน้ำอัดลมเพียงอย่างเดียว
นอกจากน้ำตาลกับน้ำอัดลมแล้ว อาหารและของว่างทุกอย่างที่ทางโรงเรียนจัดไว้ให้กับเด็ก และการพบเห็นขนมแจกตามงานอีเว้นท์ออกบูธเชิงพานิชย์ต่างๆ นอกบ้านนั้นเต็มไปด้วยขนมหวาน ตอบสนองความต้องการของเด็ก แต่เป็นอันตรายต่อฟันของลูกอย่างมาก
ที่สำคัญอย่างมากคือ พ่อแม่ไม่ควรจะใส่ของหวานอื่นนอกจากนมกับน้ำลงในขวดนมของลูก!!!
คุณหมอขอเตือนพ่อแม่ถึงอันตรายของการไม่ดูแลฟันลูก
อย่างไรก็ดี อาหารที่เขียนระบุว่า Sugar Free ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยกับฟันของคุณกับลูกด้วย ตราบที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดี
อย่างไรก็ดี ของหวานถือเป็นดาบสองคม แม้อาหารหวานจะเป็นปัญหาต้นๆ ของฟันที่ทันตแพทย์กุมขมับ แต่ประโยชน์ของอาหารหวานๆ ที่เป็นแหล่งพลังงานที่ดีให้กับเด็กก็มี คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามลดน้ำหวาน น้ำอัดลม ที่อาจมีผลร้ายต่อสุขภาพฟันของลูก และช่วยกันดูแลช่องปากของเด็ก แม้ว่าลูกจะแปรงฟันเองได้แล้ว แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ
เด็กอายุวัย 3 – 6 ปี สามารถจับแปรงได้แต่แปรงได้ไม่สะอาด ก่อนนอนพ่อแม่ควรจะขอเช็คและใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดอีกรอบ ให้กิจกรรมทำความสะอาดฟันดูเป็นเรื่องสนุก ไม่ใช่เป็นการบังคับ
ในส่วนเด็กวัย 6 – 9 ปี คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้แปรงฟันได้เอง หากลูกแปรงไม่สะอาดก็อาจช่วยจับแปรงให้กระชับขึ้น
และในเด็กวัย 11 ปีขึ้นไป ที่วางใจแล้วว่าปลูกฝังเรื่องการทำความสะอาดฟันมาดี ก็ปล่อยให้แปรงเองได้แล้ว แต่ทั้งหมดนี้ก็อย่าลืมพาลูกไปเช็คสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยทุก 6 เดือน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ลูกฟันผุ ทำยังไงดี ? คลิกหน้า 2
ลูกฟันผุ ทำยังไงดี ?
ฟันผุเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในปากย่อยน้ำตาล (กลูโคสฟรักโทส ซูโครส) ที่เกาะติดกับเนื้อฟัน ทำให้เกิดสารที่เป็นกรดทำลายเคลือบฟัน
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงทำให้ฟันผุ ได้แก่
- โรคพันธุกรรมบางอย่าง หรือเป็นคนที่มีเนื้อฟันบางกว่าคนอื่น
- ได้รับสารอาหารไม่ครบขณะคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคขาดสารอาหาร
- ฟันอยู่ชิดกัน มีหลุมร่องฟันลึก
- การกินนมขวด การดูดนมหลับคาปาก
- ไม่ได้แปรงฟันให้สะอาดหรือไม่ได้ใช้ไหมขัดฟัน
- การกินขนมที่เหนียวติดฟัน มีแป้งและน้ำตาล น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม
- กินอาหารจุบจิบตลอดเวลา
อาหารที่ช่วยทำให้สุขภาพฟันแข็งแรง คือ
อาหาร 5 หมู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อฟัน คือแคลเซียมฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินดี วิตามินซี ฟลูออไรด์ไซลิทอล เช่น ผักใบเขียว นมถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้งปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง งาดำ ผักสีเขียว ผลไม้
การป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิภาพ คือ
- ควรปลูกฝังนิสัยการกินอาหารอย่างถูกต้องให้แก่ลูก โดยการหลีกเลี่ยงอาหารหวานไม่กินจุบจิบ ไม่กินอาหารที่เหนียวติดฟัน
- รักษาช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ โดยการแปรงฟัน บ้วนปาก ใช้ไหมขัดฟัน ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ หรือยาเม็ดฟลูออไรด์
- พบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อทำความสะอาดคราบฟันเคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน
แนวทางการรักษาของทันตแพทย์ เมื่อพบฟันผุในเด็กเล็ก
- ดูลักษณะของการผุ และอาการปวด บวม รวมทั้งโรคประจำตัว การแพ้ยา สุขภาพร่างกาย
- ดูพฤติกรรมเด็ก ว่ายอมหรือไม่ยอม (มักขึ้นอยู่กับอายุเด็ก และพื้นฐานอารมณ์เด็ก แต่อย่างไรก็ตามความกลัวของเด็กอาจมีอิทธิพลเหนือสิ่งอื่นใด เด็กที่ปวดฟันหรือบวม รู้แน่ๆ ว่าต้องโดนทำฟัน หรือเด็กที่โดนขู่มาก ๆ จะกลัวการทำฟันมากกว่า)
- ดูว่าผู้ปกครองมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งพฤติกรรมผู้ปกครองมีตั้งแต่ ปกป้องลูกมากเกินไป จนถึง ไม่สนใจลูกเลย ซึ่งวิธีการที่ทันตแพทย์จะนำมาวางแผนการรักษาย่อมแตกต่างกันไป
- ดูที่ตัวทันตแพทย์เอง หมอมีความพร้อมที่จะทำฟันให้เด็กหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความพร้อมของเครื่องมือ และผู้ช่วย
การให้การรักษา เมื่อทันตแพทย์พิจารณาทั้ง 4 ประการแล้ว ก็จะบอกถึงการวางแผนการรักษา ซึ่งส่วนมากทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาให้ครบทั้งปาก โดยทำเป็นส่วนๆ เช่น ฟันหลังบน / ล่าง /ซ้าย/ขวา , ฟันหน้าบน/ล่าง เป็นต้น ซึ่งผู้ปกครองมีสิทธิ์ไม่ทำตามก็ได้ ซึ่งอยู่กับการพูดของทันตแพทย์ และพื้นฐานของผู้ปกครอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก
เตือนลูกฟันผุ พัฒนาการล่าช้า-เตี้ยแคระแกร็น
ระวัง “เป่าอาหาร” เท่ากับส่งต่อแบคทีเรีย “ ลูกฟันผุ ” ไม่รู้ตัว
ที่มา :
จากบทความ “Doctors Warn Parents About The Dangers Of Tooth Decay” Barbara Diamond, www.littlethings.com,
บทความ “ลูกฟันผุ ทำอย่างไรดี แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
https://www.gotoknow.org/posts/158861