AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกเรียนหนังสือไม่ได้ทำอย่างไรดี?

เชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อย คงเคยมีประสบการณ์ที่ต้องเข้าไปพบคุณครูของลูก และได้รับข้อมูลที่ชวนให้กังวลว่าลูกมีปัญหาบางอย่างในการเรียนหนังสือ ไม่ว่าจะ “ไม่ตั้งใจเรียน” “เขียนตัวหนังสือโย้เย้ไม่เท่ากัน” “บวกลบเลขไม่ได้” ไปจนถึง “ไม่ยอมเข้าห้องเรียน” ซึ่งถ้าเราปล่อยให้ปัญหาดำเนินไปจนถึงข้อหลังสุดนี่ จะแก้ไขอะไรก็ค่อนข้างยากแล้วค่ะ

วันนี้หมอจึงจะมาเล่าให้ฟังถึงสาเหตุของปัญหาการเรียนที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้เด็กๆเรียนหนังสือไม่ได้ รวมถึงวิธีสังเกตและการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ซึ่งมีดังต่อไปนี้ค่ะ

จุดสังเกต –ข้อนี้สังเกตไม่ยากนักค่ะ เพราะนอกจากจะมีลักษณะ ไม่ตั้งใจ ไม่ค่อยจดจ่อกับอะไรได้นานแล้ว เด็กจำนวนมากยังมีแนวโน้มเป็นเด็กซน อยู่ไม่นิ่ง ยุกยิก เคลื่อนไหวแทบจะตลอดเวลาและบางคน มีลักษณะใจร้อน รออะไรไม่ค่อยได้ ขี้โมโห อารมณ์ฉุนเฉียวง่ายร่วมด้วย

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น –ลดสิ่งเร้าเท่าที่สามารถทำได้ เช่น ทำการบ้านในที่สงบ ไม่เปิดโทรทัศน์ไปด้วยทำการบ้านไปด้วย ปรึกษาคุณครูขอให้จัดที่นั่งด้านหน้าและไกลจากหน้าต่าง

 

จุดสังเกต –ตั้งแต่เล็ก เด็กที่อยู่ในกลุ่มนี้มักจะมีพัฒนาการที่ค่อนข้างช้ากว่าวัยให้เห็น เช่น พูดช้า เดินช้า ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน และ เวลาสอนอะไรไปก็ดูเหมือนจะเป็นคนเข้าใจอะไรยาก เรียนรู้ช้า ต้องสอนย้ำๆ ซ้ำๆ หลายๆรอบ จึงจะจำได้ บางคนก็เป็นคนที่เรียนรู้แบบ ได้หน้า แล้วลืมหลัง

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้นสำรวจว่าในแต่ละวิชา ลูกเข้าใจบทเรียนถึงเรื่องอะไร โดยตามปกติในหลักสูตรจะมีลำดับขั้นของการเรียนรู้อยู่ค่ะ เช่น การอ่าน จะต้องรู้จักพยัญชนะครบ44ตัว รู้จักเสียงของพยัญชนะแต่ละตัวก่อน เมื่อรู้แล้วว่าความสามารถของลุกอยู่ตรงไหน ก็เริ่มสอนจากตรงนั้น และใช้วิธีการสอน คำอธิบายที่ลูกสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น การใช้รูปภาพ นิทาน หรือ เพลง มาช่วยในการเรียนรู้ค่ะ

อ่านเรื่อง “ลูกเรียนหนังสือไม่ได้ทำอย่างไรดี?” คลิกหน้า 2

จุดสังเกตในการใช้ชีวิตปกติทั่วไป ลูกดูเป็นเด็กฉลาด เรียนรู้และเข้าใจอะไรได้เร็ว แต่เมื่อถึงเวลาเรียนหนังสือ ลูกจะมีความสับสนอย่างมากในการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือ การคำนวน ทั้งๆที่ได้ตั้งใจเต็มที่แล้ว โดยบางคนเป็นเพียงบางวิชา บางคนหลายวิชา (ที่พบบ่อย คือ ภาษาไทย และ คณิตศาสตร์) ในกลุ่มนี้เด็กบางคนจะมีความสับสนซ้ายขวา สับสนทิศทางร่วมด้วยค่ะ

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้นนอกจากจะต้องอาศัยการฝึกอ่านเขียน หรือ ฝึกคิดเลขเป็นพิเศษแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องลองมองหาและส่งเสริมทักษะอื่นๆที่ลูกทำได้ดีนอกเหนือจากการเรียน เช่น การเล่นดนตรี กีฬา หรือ ความสามารถทางศิลปะ เพราะเด็กๆกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะขาดความมั่นใจในตัวเองค่ะ

จุดสังเกต ลูกจะมีปัญหาอารมณ์แสดงให้เห็น เช่น ไม่ค่อยสดชื่นแบบที่เคยเป็น หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย แยกตัว ไม่ค่อยเล่นกับเพื่อน นอนหลับยาก ฝันร้าย ซึ่งปัญหาอารมณ์นี้ส่งผลให้เด็กไม่อยากเรียน หรือ ไม่มีสมาธิที่จะเรียนเช่นกันค่ะ

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ลองมองหาสิ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกมีปัญหาด้านอารมณ์ดังกล่าว เช่น ถูกเพื่อนรังแก อิจฉาน้อง หรือ แม้แต่การทะเลาะเบาะแว้งกันของคุณพ่อคุณแม่ หากคุณสามารถแก้ไขเองได้ ก็ขอให้ทำทันทีเลยค่ะ

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทาง ที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ลองมองหาสาเหตุและช่วยเหลือลูกๆได้ในเบื้องต้น แต่หากหาเจอแล้ว ช่วยเหลือไปบ้างแล้ว ลูกก็ยังเรียนหนังสือไม่ได้อยู่เหมือนเดิม อย่าได้ลังเลที่จะพาลูกไปพบแพทย์นะคะ ได้ทั้ง จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และ หมอพัฒนาการเด็กเลยค่ะ

เพราะหากตรวจแล้วลูกไม่มีปัญหาอย่างที่เรากังวล คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้สบายใจ แต่หากมีปัญหาที่ต้องรักษาหรือต้องช่วยเหลืออย่างจริงจัง ลูกก็จะได้ไม่เสียโอกาสในการเรียนรู้และช่วงเวลาแห่งความสุขในวัยเด็กของเขาไปค่ะ

 

พญ. พรพิมล นาคพงศ์พันธุ์
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
เจ้าของเพจ “เลี้ยงลูกให้เป็นคนปกติ”

ภาพ shutterstock