เด็กแต่ละคนมี พัฒนาการช้า หรือเร็วแตกต่างกัน หากลูกเรามีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนๆ ไปบ้างก็ยังไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ ไม่นานเขาก็จะมีพัฒนาการตามเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันได้ แต่หากลูกน้อย 1 เดือน – 4 ขวบมีอาการต่อไปนี้ ถือว่าล่าช้าและควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาทางช่วยให้เด็กๆ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
สัญญาณ พัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 1-3 เดือน
- ไม่ตอบสนองต่อเสียงดัง
- อายุ 2-3 เดือน ไม่มองตามวัตถุที่เคลื่อนที่
- อาย 2 เดือน ไม่ยิ้มเมื่อได้ยินเสียงคุณแม่
- อาย 3 เดือน ไม่หยิบจับหรือถือสิ่งของ
- อาย 3 เดือน ไม่ยิ้มให้ผู้คน
- อาย 3 เดือน ไม่สามารถชันคอได้
- อาย 3-4 เดือน ไม่เอื้อมหยิบของเล่น
- ตาเขเกือบตลอดเวลา (อาการตาเขเป็นครั้งคราวเป็นอาการปกติของเด็กในวัยนี้)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สัญญาณพัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 4-7 เดือน
- อาย 4 เดือน ไม่นำสิ่งของเข้าปาก
- อาย 4 เดือน ไม่หันศีรษะไปตามเสียงที่ได้ยิน
- อายุ 5 เดือน ไม่หัวเราะ หรือทำเสียงในลำคอ
- อายุ 5 เดือน ไม่ลงน้ำหนักที่ขา เมื่อวางเท้าลงบนพื้น
- อายุ 6 เดือน ไม่พลิกคว่ำพลิกหงาย
- อายุ 6 เดือน นั่งโดยมีคนช่วยยังไม่ได้ ศีรษะจะหงายไปด้านหลัง
- อายุ 6 เดือน ยังไม่เอื้อมคว้าสิ่งของ
- ไม่มองตามวัตถุด้วยตาทั้งสองข้าง
- น้ำตาไหล มีขี้ตา และตาไวต่อแสง
- ไม่ค่อยขยับร่างกาย ตัวอ่อนปวกเปียก
- ไม่แสดงความรักต่อผู้เลี้ยงดู
- ไม่ชอบถูกรายล้อมด้วยผู้คน
- ยังคงตาเขข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง
อ่านต่อ สัญญาณพัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 8-24 เดือน คลิกหน้า 2
สัญญาณพัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 8-12 เดือน
- อายุ 8 เดือน ไม่สนใจเล่นจ๊ะเอ๋
- อายุ 8 เดือน ไม่พูดอ้อแอ้ เช่น ปาปา มามา
- อายุ 10 เดือน ไม่สามารถนั่งอย่างมั่นคง
- อายุ 10-12 เดือน ไม่มองหาสิ่งของที่ซ่อนอยู่
- ไม่ยอมคลาน หรือคลานโดยลากข้างใดข้างหนึ่ง
- ยืนโดยมีคนช่วยจับไม่ได้
- ไม่สามารถเรียนรู้การใช้ท่าทาง เช่น บ๊ายบาย หรือส่ายหัว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สัญญาณพัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 12-24 เดือน
- อายุ 18 เดือน ยังไม่เดิน
- เดินเขย่ง เดินไม่เต็มเท้า
- อายุ 18 เดือน พูดได้น้อยกว่า 15 คำ
- อายุ 24 เดือน พูดเป็นประโยคที่ยาว 2 คำยังไม่ได้
- อายุ 15 เดือน ไม่รู้จักหน้าที่ของสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน เช่น แปรง โทรศัพท์ ช้อน ส้อม
- อายุ 24 เดือน ไม่สามารถเลียนแบบท่าทางหรือคำพูดได้
- อายุ 24 เดือน ไม่สามารถทำตามคำสั่งขั้นตอนเดียวง่ายๆ ได้
อ่านต่อ สัญญาณพัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 2-4 ขวบ คลิกหน้า 3
สัญญาณพัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 24-36 เดือน
- หกล้มบ่อยและขึ้นบันไดไม่เป็น
- น้ำลายไหลตลอดเวลา หรือมีปัญหาเรื่องการพูด
- ต่อบล็อกได้ไม่เกิน 4 ชั้น
- หยิบจับของชิ้นเล็กๆ ไม่ได้
- ไม่สามารถสื่อสารด้วยวลีสั้นๆ ได้
- เล่นสวมบทบาทต่างๆ ตามจินตนาการไม่เป็น
- ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ
- ไม่สนใจเด็กคนอื่น
- ไม่สามารถแยกจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สัญญาณพัฒนาการช้า ลูกน้อยวัย 3-4 ขวบ
- อายุ 3 ขวบ ยังขีดเขียนหรือวาดรูปวงกลมไม่ได้
- กระโดดอยู่กับที่ไม่ได้
- ขี่จักรยานสามล้อไม่ได้
- จับดินสอสีเทียนด้วยท่าที่ถูกต้องยังไม่ได้
- ไม่สามารถพูดประโยคที่ยาวเกิน 3 คำได้
- สับสนระหว่างคำเรียกแทนตัวเอง เช่น “ฉัน/ผม/หนู” กับคำเรียกแทนผู้อื่น เช่น “เธอ/เขา”
- ไม่มีการตอบสนองต่อกิจกรรมการเล่นกับผู้อื่น
- ไม่เล่นกับเด็กคนอื่น
- ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่ครอบครัว
- เวลาโกรธหรือโมโหจะควบคุมตัวเองไม่ได้
- ไม่ยอมทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ เข้านอน หรือเข้าห้องน้ำ
ถ้าหากลูกน้อยมีพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการปรับให้พฤติกรรมของลูกเหมาะสมตามวัยค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก
พัฒนาการช้า เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องสังเกตลูก
4 สิ่งควรรู้หากคุณกลัวลูกพัฒนาการช้า