AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วิธีดูแลใจเด็กๆ ในช่วงวิกฤติโควิด-19

วิธีดูแลใจเด็กๆ

ตอนนี้ผลกระทบจากโควิด-19 อาจจะทำให้คุณพ่อ คุณแม่เกิดความเครียด รวมไปถึงลูกน้อย เพราะต้องถูกกักบริเวณ ไม่ให้ออกไปไหน เนื่องจากต้องป้องกันการติดต่อของเชื้อโรค ทำให้เด็กๆ วิตกกังวลต่อสถานการณ์นี้ตามไปด้วย แม่น้องเล็ก จึงมี วิธีดูแลใจเด็กๆ มาฝากกันค่ะ

ผลกระทบต่อจิตใจ กับวิธีดูแลใจเด็กๆ

ในระหว่างการระบาดของ COVID-19 คุณพ่อ คุณแม่ลองสังเกตอาการของลูกน้อย ถ้าลูกเกิดความกังวลมากจนเกินไป เช่น มีอาการนอนไม่หลับ แสดงอาการเศร้า แยกตัว หงุดหงิด และวิตกกังวลบ่อยๆ ควรพาลูกน้อยไปพบผู้เชี่ยวชาญ หลังเหตุการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายลงแล้ว แต่ตอนนี้เราต้องพึ่งพาตัวเองเสียก่อน เพื่อความปลอดภัย ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจของลูกน้อยด้วยค่ะ

วิธีดูแลใจเด็กๆ ในช่วงโควิด-19 ระบาด

  1. สังเกต และรับฟัง

สังเกตเด็กๆ ว่ามีอาการหงุดหงิด งอแง กลัว เศร้าหรือไม่ เปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้ระบายความรู้สึก พูดคุยเรื่องความรู้สึกของลูก ผ่านการเล่น การวาดภาพ เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย

  1. ดูแลอย่างใกล้ชิด

คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ดูแล ควรอยู่ใกล้ชิดกับเด็กๆ แต่ถ้าถูกกักตัว ควรติดต่อหากันอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางโทรศัพท์ วิดีโอคอล หรือโซเชียลมีเดีย มีเวลาคุณภาพกับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ

  1. ทำกิจกรรมร่วมกัน

ควรให้เด็กๆ ได้ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ เช่น เล่นของเล่น เล่นกีฬา ดูหนัง ร้องเพลง ให้ลูกน้อยมีส่วนร่วมในงานบ้าน และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ได้แก่ การทำอาหาร การทำความสะอาดบ้าน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับ คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ดูแล

อ่าน “วิธีดูแลใจเด็กๆ ในช่วงโควิด-19” (ต่อ) คลิกหน้า 2

  1. จัดการอารมณ์ของตนเอง

คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ดูแล ต้องมีวิธีจัดการอารมณ์ของตนเองที่เหมาะสม รวมทั้งพูดคุยกับเด็กๆ อย่างจริงใจ เหมาะสมกับวัย เพราะลูกน้อยจะเรียนรู้อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณพ่อ คุณแม่ได้ ซึ่งจะเป็นแบบอย่างในการจัดการความรู้สึกของลูกน้อยอีกด้วย

  1. สื่อสารให้เข้าใจโรค

สอนให้ลูกน้อยรู้จักโรคติดเชื้อโควิด-19 และสอนวิธีการป้องกันตัวเอง สอนให้ลูกเสพข่าวที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ และสอนให้ลูกมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยสื่อสารด้วยภาษาที่เหมาะสมกับวัย เช่น สอนลูกล้างมือบ่อยๆ สอนวิธีสวมหน้ากากอนามัย ไม่เอามือมาจับหน้า เลียนิ้วมือ ขยี้จมูก ขยี้ตา เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสุขภาพจิต

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!

รวม 11 โรค กับวิธีสังเกต ลูกมีปัญหาสุขภาพจิต

เมื่อแม่จิตตก! 9 วิธีคลายเครียด ดูแลสุขภาพใจไม่ให้ Panic ช่วงโควิด-19

แอปติดตามโควิด หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงปลอดภัยทั้งครอบครัว