ผู้ใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ในกรณีที่เราเลี้ยงลูกเอง คุณพ่อและคุณแม่จะจัดการพื้นที่ปลอดภัยให้กับลูกได้เป็นอย่างดี แต่ในกรณีที่ญาติๆ หรือคนอื่นๆ พาลูกของเราไปเล่นนอกบ้าน อาจจะต้องย้ำเตือนเรื่องพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กกันบ้างแล้ว มาดูกันค่ะว่าเด็กแต่ละวัยนั้นสร้างความเสี่ยงใดได้บ้าง
0-3 ปี วัยไร้เดียงสา เริ่มฝึกใช้อวัยวะต่างๆ และยังเคลื่อนไหวได้ดี ควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่
3-6 ปี วัยสนใจเรียนรู้ ชอบหยิบ ดม ชิม ฯลฯ โดยไม่รู้ว่าอันตราย ยังควรอยู่ในสายตาผู้ใหญ่
6-9 ปี วัยซุกซน อยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งแวดล้อม พลังเหลือล้น ยังไม่สามารถแยกแยะจินตนาการกับความจริง ผู้ใหญ่ควรกำหนดให้เล่นเพียงบริเวณใกล้ๆ และหมั่นออกไปตรวจสอบบ่อยๆ
อ่านเรื่อง “ชวนผู้ปกครองเข้าใจ Safety Zone ของเด็กทุกช่วงวัย” คลิกหน้า 2
9-12 ปี วัยเด็กเริ่มโตและดูแลตัวเองได้มากขึ้น แข็งแรงขึ้น แยกแยะจินตนาการออกได้ แต่ยังไม่สามารถจำแนกอันตรายที่จะเกิดกับตัวเองได้ ระวังการเล่นจุดไฟ ประทดั ว่ายน้ำ และภัยจากบุคคล
12-15 ปี วัยรุ่นตอนต้น พ่อแม่ให้อิสระเริ่มห่างจากผู้ใหญ่ มีความเสี่ยงเรื่องเพศ เพราะฮอร์โมนเพศทำงาน ผู้ใหญ่ควสร้างความไว้วางใจให้เด็กกล้าพูด กล้าบอกว่าไปไหนเพื่อจะได้ติดตามได้
15-18 ปี เป็นวัยที่ดูแลตัวเองได้ แต่หากจะไปไหนตอนกลางคืนก็ต้องอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนเพศทำงานเต็มที่ ความเสี่ยงเรื่องเพศมีพอๆ กับวัยผู้ใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก