การแก้ปัญหา
- แจ้งโรงเรียนว่าลูกถูกรังแก ขอความช่วยเหลือจากครู ให้ยุติการรังแก ไม่ควรลังเลใจที่จะแจ้งครู
- ศึกษานโยบายความรับผิดชอบโรงเรียน ป้องกันการเกิดปัญหา เด็กทุกคนควรได้รับความสุภาพ
- ร่วมมือกับโรงเรียนแก้ไขปัญหา ถ้าลูกบอกว่ากำลังถูกรังแก ควรบันทึกเหตุการณ์ จดชื่อ วันที่
- หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษหรือตำหนิกัน ถามครูว่าได้สังเกตเห็นเหตุการณ์อะไรบ้าง
- นัดพบคุณครูเพื่อติดตามความคืบหน้า หากไม่มีอะไรดีขึ้นหลังจากที่ได้รายงานการรังแกให้ครูรู้
- สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก พยายามกระตุ้นให้ลูกได้ใช้เวลาเล่นกับเพื่อนที่หลากหลาย
- สร้างความมั่นใจให้ตัวลูก เพื่อลูกจะได้เผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
- ฝึกแก้ปัญหา และรับรู้อารมณ์เพื่อนๆ ที่ต่างกัน หรืออาจลูกพาไปร่วมกิจกรรมอื่นๆ นอกบ้านบ้าง
ป้องกันลูกถูกรังแก
- พูดคุยกับลูกถึงเรื่องที่โรงเรียน บางครั้งลูกอาจกลัว อายหรือเสียหน้าเมื่อถูกเด็กรังแก จึงไม่กล้าบอกเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนอื่นรู้ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรคุยกับเขาก่อนที่เรื่องจะบานปลายไปมากกว่านี้
- ฝึกความมั่นใจในตัวเอง ฝึกให้ลูกกล้าพูด หรือลองแก้ปัญหาเบื้องต้นเองหากเป็นความขัดแย้งเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อลูกถูกรังแก ควรให้เขากล้าที่จะเปิดเผยถึงเรื่องที่เกิดขึ้น เข้าไปช่วยเหลือ
- หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง การรังแกมักจะเกิดขึ้นในที่ที่ลับตาผู้คน หรือไม่อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่
- ทำความรู้จักกับเพื่อนของลูก เด็กๆ มักจะให้ความสำคัญกับเพื่อนและเปิดเผยกับเพื่อนมากกว่า
- เชื่อใจลูก การเชื่อใจลูกอย่างมีเหตุผลถือเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรมีให้กับลูก ทำให้ลูกเปิดใจ
- ให้เด็กกล้าตัดสินใจเมื่อถูกรังแก เด็กที่ถูกรังแก ก็มักจะโดนรังแกอยู่เป็นประจำ ฝึกให้เด็กกล้า
- สอนลูกให้รู้จักระวังตัวเอง เด็กส่วนใหญ่ไม่อาจแก้ปัญหาการโดนรังแกได้ด้วยตัวเอง
- อย่าสัญญากับลูก การแก้ปัญหาการถูกรังแก ควรได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนด้วย
- สอนให้เชื่อมั่นในตัวเอง การที่เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง จะทำให้เขากล้าแสดงออก
- ฝึกให้มีความใจเย็น เด็กที่มีนิสัยเกเรมักจะแกล้ง รังแกเด็กที่แสดงอาการกลัว หรืออ่อนแออยู่
- สอนให้กล้ามีปากมีเสียง วิธีนี้ไม่ใช่ให้เป็นการฝึกเด็กมีนิสัยที่ก้าวร้าว สอนให้รู้จักปกป้องตัวเอง
- ให้ขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น บอกลูกให้เดินไปขอคำปรึกษาในยามที่เกิดปัญหา
- สอนลูกให้รู้จักป้องกันตนเองด้วยความมั่นใจ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุด ป้องกันไม่ให้โดนรังแก