ลูกถูกเพื่อนรังแก พ่อแม่จะรับมืออย่างไร?
ลูกถูกเพื่อนรังแก

ลูกถูกเพื่อนรังแก พ่อแม่จะรับมืออย่างไร?

event
ลูกถูกเพื่อนรังแก
ลูกถูกเพื่อนรังแก

พ่อแม่หลายคนคงเกิดคำถามค้างคาใจ ว่าจะทำอย่างไรดีเมื่อ ลูกถูกเพื่อนรังแก จะให้สู้หรือหนีย้ายโรงเรียน หลายคนให้ความคิดเห็นว่าคุยหรือสอบถามรายละเอียดที่เกิดขึ้น ห้ามตำหนิหรือโทษลูกที่ถูกรังแก แสดงความเห็นใจลูก คุยกับครูที่โรงเรียนเพื่อแก้ไข ย้ายโรงเรียนหนี และอื่นๆ

ปัญหาเมื่อลูกถูกรังแก

การถูกรังแก มีทั้งการถูกทำร้าย มีร่องรอยกลับมาบ้าน ถูกข่มขู่โดยพ่อแม่ไม่รู้ ปัญหาเหล่านี้ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียน มีผลต่อการเรียนของลูก ทำให้ลูกต่อต้าน หรือกลัวสังคม

ถ้าพ่อแม่รู้ว่าลูกถูกรังแก แล้วแสดงอาการโมโหออกมา ผลเสียก็จะตามมา ลูกอาจจะเอาเรื่องถูกรังแกมาสร้างสถานการณ์ให้พ่อแม่สนใจมากขึ้น ยิ่งพ่อแม่ไปจัดการกับเพื่อนโดยไม่ถามสาเหตุที่แท้จริง อาจเกิดปัญหาลุกลาม

ถ้าพ่อแม่ไม่จัดการกับความรู้สึกของลูกเมื่อถูกรังแก มองว่าเป็นเรื่องทะเลาะกันของเด็ก ผลที่ตามมาคือ ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีที่พึ่ง ไม่มีใครรับรู้ความรู้สึกเจ็บทั้งกายและใจ เมื่อถูกรังแกจะหาวิธีต่อสู้ หรือหลีกหนี กลายเป็นเด็กเข้ากับสังคมไม่ได้ ต่อต้านการคบเพื่อน เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่มีเพื่อน ไม่พัฒนาการทางสังคมตามวัย การตั้งสติเมื่อรู้ว่าลูกถูกรังแกจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ลูกถูกเพื่อนรังแก

สาเหตุการถูกรังแก

  • เด็กชอบรังแกเพื่อนเพราะสนุกสนานและขาดทักษะในเรื่องความเห็นอกเห็นใจ รับรู้ความรู้สึกผู้อื่น
  • เด็กชอบรังแกเพื่อนเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ซัมซับพฤติกรรมรุนแรงมาเป็นนิสัยเคยชิน
  • เด็กที่ไม่ได้รับการแก้ปัญหาเมื่อถูกรังแก ไม่ได้รับการปกป้อง จึงต้องป้องกันตนเองด้วยการรังแก
  • เด็กรังแกเพื่อนเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากบุคคลรอบข้างไม่ว่าจะเป็นครู หรือพ่อแม่
  • เด็กบางคนเมื่อรังแกผู้อื่น รู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้น รู้สึกเข้มแข็ง มีพลังอำนาจ เป็นที่ยอมรับ
  • เด็กบางคนช่างฟ้องแม้ถูกรังแกนิดหน่อย เพื่อยืมมือคุณครูเพื่อลงโทษเพื่อนคนอื่นๆ
  • เด็กขาดทักษะการจัดการปัญหาเมื่อถูกรังแก และแก้ปัญหาโดยการร้องเสียงดังแม้ถูกแหย่เล็กน้อย
  • การนำคนที่รังแกมาตี และเอาใจเด็กที่ร้องโดยไม่หาสาเหตุ ทำให้เด็กสร้างสถานการณ์ให้ถูกรังแก
  • เด็กบางคนไม่ตั้งใจแกล้งแต่เพราะรำคาญ เช่น รำคาญเสียงงอแง การปะทะที่ไม่ต้องใจ เดินเบียด
  • เด็กเกิดการอิจฉากันจึงสนองความรู้สึกทางอารมณ์ ทดแทนความรู้สึกของตนเองโดยการทำร้าย
  • เด็กถูกวางการแสดงพฤติกรรมทางบวกมากเกินไป ทำให้เด็กเก็บกดและแสดงความเกเรในทางอื่น

อ่านต่อ “การแก้ปัญหา และป้องกันลูกถูกรังแก” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up