AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

6 พื้นที่เสี่ยงถูกลักพาตัว และ 5 ไม่ ป้องกันการลักพาตัว

6 พื้นที่เสี่ยงถูกลักพาตัว

ปัจจุบันสถิติเด็กถูก “ลักพาตัว” สูงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานข้อมูลเด็กหายของมูลนิธิกระจกเงาพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม 59 มีการแจ้งเด็กหายช่วงอายุ 1 – 15 ปี แล้ว 82 ราย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีสาเหตุคือ หนีออกจากบ้าน ถูกล่อลวง พลัดหลง และถูกลักพาตัว แม้แต่ในต่างประเทศ ก็มีเหตุการณ์ที่น่ากลัว และเกิดขึ้นกับเด็กด้วย ดังเช่น ข่าวด้านล่างนี้

จากข่าวสด –  ประหารแล้ว! ฆาตกรโรคจิต ฆ่าเชือดคอดื่มเลือดเด็กชาย

ฆาตกรโรคจิต ลักพาตัวเด็กชายวัย 12 ปี แล้วฆ่าปาดคอดื่มเลือดสดๆ เป็นคดีสะเทือนขวัญที่เคยเกิดขึ้นอย่างเหี้ยมโหด

ฆาตกรโรคจิต ลักพาตัวเด็กชายวัย 12 ปี

สถานที่ที่เด็กหายมากที่สุด คือหน้าโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ไกลหูไกลตาพ่อแม่ เพราะฉะนั้น การป้องกันลูกจากการถูกลักพาตัวจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ คุณพ่อ คุณแม่ควรสอนลูกน้อยให้รู้จักระวังตัว โดยการสร้างเกราะป้องกันตัวเองจากโจรลักเด็ก ที่มักจะใช้สิ่งของมาหลอกล่อ คุณพ่อ คุณแม่ต้องสอนลูกอยู่บ่อยๆ ว่าไม่ให้คุย ไม่รับของ และไม่ไปไหนกับคนแปลกหน้า และจำหลักการ 5 ไม่ไว้ให้ขึ้นใจ

6 พื้นที่เสี่ยงถูกลักพาตัว

สถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด คือสถานที่ที่อันตรายที่สุด เพราะการก่อเหตุลักพาตัว มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น และเป็นบริเวณที่พ่อแม่มักนิ่งนอนใจ เพราะคิดว่าคุ้นชิน และปลอดภัยสำหรับลูกหลาน ได้แก่

1.บ้าน ทั้งบริเวณหน้าบ้าน และภายในบ้านของเราเอง

2.วัด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีงานวัด

3.โรงพยาบาล

4.สวนสาธารณะ

5.ห้างสรรพสินค้า

6.บริเวณใกล้ที่ทำงานของคุณพ่อ คุณแม่เอง

อ่านต่อ “5 ไม่ ป้องกันการลักพาตัว” คลิกหน้า 2

5 ไม่ ป้องกันการลักพาตัว

1.ไม่พา ลูกน้อยไปยังที่ที่มีคนพลุกพล่านเกินไป โดยไม่จำเป็น

2.ไม่ปล่อย ให้ลูกน้อยไปวิ่งเล่นตามลำพัง แม้ว่าจะใกล้บ้านก็ตาม

3.ไม่ให้ คนอื่นมารับลูกน้อยที่โรงเรียน นอกจากจะโทรศัพท์บอกคุณครูเอาไว้แล้วทุกครั้งที่มีคนมารับแทน

4.ไม่ทิ้ง ลูกน้อยไว้กับญาติผู้สูงอายุ ที่อาจดูแลเด็กเล็กๆ วัยกำลังซนไม่ไหว

5.ไม่ยอม ให้ลูกรับของจากคนแปลกหน้า คอยหมั่นสอนลูกน้อยบ่อยๆ ในเรื่องนี้

10 ข้อควรรู้ก่อนลูกถูกลักพาตัว
การดูแลและป้องกันลูกถูกลักพาตัว

อันตรายมักเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่รู้ตัว และถ้าเกิดขึ้นกับลูกของเรา คนเป็นพ่อ เป็นแม่คงใจสลาย เพราะลูกน้อยยังเล็ก ไม่มีประสบการณ์ชีวิต ฉะนั้นอย่าละสายตาจากลูกน้อย แม้เสี้ยววินาทีเดียว เพราะคุณอาจสูญเสียลูกไปตลอดชีวิตก็ได้

เครดิต: Liekr, clipmass.com, โรงพยาบาลสมิติเวช, มูลนิธิกระจกเงา