ทำเอาทริปต่างจังหวัดกร่อยลงเยอะเชียว จะมีวิธีป้องกันอย่างไรดี
1. เลือกเวลาเดินทาง ถ้าทำได้ เริ่มออกสตาร์ทตอนที่เป็นเวลานอนกลางวันของลูก
2. เลือกที่นั่งให้เหมาะ หากว่าคุณเดินทางด้วยรถใหญ่อย่างรถตู้หรือรถทัวร์ พยายามเลือกที่นั่งตอนหน้าหรือตอนกลางๆ เพราะที่นั่งตอนท้ายเป็นจุดที่โดนแรงเหวี่ยง ทำให้มึนหัวคลื่นไส้ได้ง่าย พยายามเลือกฝั่งที่นั่งไม่โดนแดด (ลองนึกถึงเส้นทาง + เวลาเดินทางว่าพระอาทิตย์จะอยู่ส่วนไหนของรถ) ความร้อนจะยิ่งทำให้รู้สึกไม่สบายตัวมากขึ้น
3. เบี่ยงเบนความสนใจ พกของเล่น ซีดีนิทานหรือซีดีเพลงที่ลูกชอบเอาไว้ในรถการร้องเพลงดังๆ ช่วยให้ลืมคลื่นไส้ได้ชะงัด หากไม่มีตัวช่วย คุณพ่อคุณแม่อาจชวนลูกๆ พูดคุยไปเรื่อยๆ แต่อย่าเปิดการ์ตูนให้ดูตอนรถกำลังแล่นเลยเชียว ยิ่งเพ่งหน้าจอก็ยิ่งเวียนหัวนะ
4. มองนอกหน้าต่าง ทิวทัศน์ด้านนอกที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทำให้สมองของเด็กๆ ปรับว่าตอนนี้ร่างกายกำลังเคลื่อนไหว แต่ถ้ากลัวลูกจะเบื่อ อาจเปลี่ยนมาเล่นเกมค้นหารถสีต่างๆที่อยู่เลนตรงข้าม หรือเกมเก็บป้ายจราจร (ใครเห็นป้ายจราจรเยอะที่สุดเป็นผู้ชนะ)
5. กินอาหารเบาๆ ก่อนออกเดินทาง เพื่อให้มีอะไรอยู่ในกระเพาะบ้าง แต่ไม่ควรกินจนอิ่มตื้อ อย่าลืมติดเครื่องดื่มที่ทำให้สดชื่น (ไม่ควรเป็นน้ำอัดลมที่ยิ่งเพิ่มกรดในกระเพาะ)รวมทั้งขนมหรือผลไม้แห้งรสเค็มๆ เปรี้ยวๆ ไว้ในรถ
6. หากเดินทางระยะไกล ควรหยุดแวะพักเป็นช่วงๆ เพื่อให้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กได้ยืดเส้นยืดสาย
7. ยาแก้เมารถ หากลูกเมารถเป็นประจำจนกลายเป็นปัญหาเวลาเดินทาง ลองปรึกษากุมารแพทย์ว่ายาแก้เมารถชนิดไหนที่เด็กสามารถรับประทานได้ และมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง หากคุณหมออนุญาต คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกกินยาแก้เมารถเพื่อป้องกันอาการก่อนออกเดินทาง (การรับประทานยาหลังจากที่รู้สึกไม่สบายแล้วอาจไม่ได้ผล)
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง