นักวิชาการเตือนพ่อแม่! ให้ลูกกินขนมหรือเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน อาจส่งผลทำให้ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ได้!
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “การที่เด็กรับประทานขนมหรือดื่มน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี ส่งผลกับพฤติกรรมขงเด็กเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก คาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท หากบริโภคติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องของความจำ กลายเป็นเด็กสมาธิสั้น และมีสติปัญญาที่ถดถอยได้”
นอกจากนี้ มาริน่า คุชเนอร์ ผู้ก่อตั้งองค์กร Caffeine Awareness Association ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร อธิบายว่า “เด็ก ๆ ไม่ควรได้รับคาเฟอีนก็เพราะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น ทำให้เด็กหงุดหงิด ใจร้อน ส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้หากได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เด็กเกิดอาการคลื่นไส้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ นอนไม่หลับ และมีอาการกระวนกระวายคล้ายสมาธิสั้นได้”
ลูกไม่ดื่มชา กาแฟ แล้วจะได้รับคาเฟอีนจากไหน คลิก!
เครดิต: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะกำลังสงสัยว่า “ลูกฉันไม่ได้ดื่มชาหรือกาแฟ แล้วจะไปได้รับสารเหล่านี้จากที่ไหนกัน?” ทีมงาน Amarin Baby and Kids จึงได้รวบรวมเอาแหล่งที่มาของอาหาร ขนมหรือเครื่องดื่มที่นอกเหนือจากชา และกาแฟมาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้าง และใกล้ตัวมากขนาดไหนนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
-
ช็อกโกแลต ทราบหรือไม่คะว่า ช็อกโกแลต 1 แท่งที่มีขนาดบรรจุ 162 กรัมโดยประมาณนั้น จะประกอบไปด้วยคาเฟอีนราว 45-59 มิลลิกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของผงโกโก้ โดยกรมวิชาเกษตรสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยว่าอาหารที่ให้คาเฟอีนจริง ๆ นั้นคือโกโก้ ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งในช็อกโกแลตนั่นเอง ฉะนั้น ยิ่งช็อกโกแลตทำจากโกโก้แท้ และเข้มข้นมากเท่าไร นั่นหมายถึง ปริมาณคาเฟอีนก็จะสูงขึ้นตามมากเท่านั้น
-
ไอศกรีม เหลือเชื่อเลยใช่ไหมละคะ ไอศกรีมก็มีช็อกโกแลตนะคะโดยเฉพาะไอศกรีมที่มีส่วนผสมของโกโก้ (ช็อกโกแลต) และไอศกรีมที่มีส่วนผสมของกาแฟ โดยปริมาณคาเฟอีนในไอศกรีมในถ้วยขนาดบรรจุ 4 ออนซ์หรือประมาณ 113.4 กรัมจะอยู่ราว ๆ 10-45 มิลลิกรัม บอกได้เลยว่าแม้ไอศกรีมจะหวานเย็นชื่นใจแต่อย่าเผลอกินจนเพลินเลยเชียว
ทั้งสองอย่างที่กล่าวมานั้น คือสิ่งที่ผู้ปกครองอย่างเราไม่คาดคิดกันมาก่อนเลยใช่ไหมละคะ แต่นอกจากชา กาแฟ ช็อกโกแลตและไอศกรีมแล้ว ยังมีลูกอม น้ำอัดลม เมล็ดทานตะวัน เครื่องดื่มชูกำลัง และยาแก้ปวดอีกด้วยนะคะ
ลูกจะทานไม่ได้เลยเชียวหรือ คลิก! หาคำตอบได้ที่นี่ค่ะ >>
เครดิต: Health
คาเฟอีนส่งผลให้ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ได้อย่างไร?
สำหรับสถานการณ์การบริโภคคาเฟอีนในเด็กไทย จากข้อมูลการสำรวจสภาวะพฤติกรรมสุขภาพเยาวชนอายุ 6-15 ปีของกองสุขศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนยังคงดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำทุกวัน 10.5 เปอร์เซ็น ดื่ม 5-6 วันต่อสัปดาห์ 28.4 เปอร์เซ็น ดื่ม 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.1 เปอร์เซ็น นอกจากนี้ยังหันมารับประทาน ช็อกโกแลต เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม โดยคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ามีคาเฟอีนผสมอยู่ ส่งผลให้มีปัญหาความจำ และสติปัญญาถดถอย บางรายสมาธิสั้นไม่สามารถจดจำข้อมูล และเรื่องราวที่เกิดขึ้นฉับพลันได้เป็นเวลานาน เด็กมักจะเหม่อลอย ไม่สนใจเรียน หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้สารคาเฟอีนเข้าไปทำลายจิตประสาท และความจำบางส่วนได้
อ่านต่อ: โรคสมาธิสั้นในเด็ก แก้ได้!
หลีกเลี่ยงอย่างไร?
คุณพ่อคุณแม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีการประนีประนอมค่ะ ไม่จำเป็นต้องหักดิบลูกนะคะ เพราะมันคงเป็นไปได้ยาก ก็แหม! เด็ก ๆ นี่คะ ทำอย่างไรได้ … ไม่ต้องกังวลหรือเครียดจนเกินไปนะคะ จริง ๆ แล้วลูกของเราทานได้ค่ะ แต่ไม่ควรทานในปริมาณที่มากจนเกินไป ทานให้พอหายอยากก็พอ และเวลาที่ลูกเลือกขนม เครื่องดื่ม หรือไอศกรีมนั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ด้วยการนำเสนอรสอื่นแทน ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีมรสมะพร้าว รสวนิลา หรือรสส้ม เป็นต้น
ส่วนช็อกโกแลตนั้น ลูกสามารถทานได้นะคะ แต่ก็อย่าเยอะจนเกินไป หากไม่สามารถเลี่ยงได้จริง ๆ ละก็ พยายามให้ลูกทานช็อกโกแลตนม (Milk Chocolate) แทนนะคะ
เครดิต: True Life
อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
- แชร์ประสบการณ์ พาลูกตรวจเช็ก “สมาธิสั้น” พร้อมวิธีแก้
- 10 เทคนิคเพิ่มสมาธิให้ลูก ต้องเริ่มอย่างไรถึงได้ผล?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่