เมื่อลูกน้อยเริ่มเข้าสู่วัยเรียน คุณพ่อ คุณแม่หลายบ้าน อาจเกิดความกังวลว่าลูกของเราจะถูกรังแก หรือลูกของเราจะไปรังแกเพื่อนๆ การที่ เด็กเล็กทำร้ายกัน ตั้งแต่อยู่เนิร์สเซอรี่ และในวัยอนุบาล ซึ่งไม่ใช่ช่วงวัยประถม หรือมัธยมอย่างที่คุณพ่อ คุณแม่เข้าใจ อาจดูโหดร้ายอยู่ไม่น้อย
เด็กเล็กทำร้ายกัน เพราะอะไร?
การที่เด็กเล็กทำร้ายกันนั้น เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กๆ ที่แกล้งกัน เพราะเขาเป็นเด็กเกเร หรือเป็นเด็กที่มีปัญหาเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะ เด็กอายุน้อยว่า 3 ขวบ ยังไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกที่ว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ทำให้ไม่รู้วิธีการควบคุมการกระทำของตัวเอง เช่น การตี การผลัก การตบ หรือการดึงผม ทำให้เด็กเกิดการทำร้ายคนอื่นโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขณะที่เด็กอายุมากกว่า 3 ขวบ เริ่มเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีแล้ว แต่ยังมีการทำร้ายร่างกาย หรือแกล้งกันอยู่ อาจเป็นเพราะมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งจึงทำให้เป็นเช่นนั้น
การที่เด็กอายุมากกว่า 3 ขวบ ทำร้ายกันนั้น อาจเกิดจากหลายเหตุผล เช่น มีการแย่งของเล่น หรือกิจกรรมบางอย่าง ที่ตัวเองอยากได้ หรือแกล้งเพื่อน เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณครู หรือเพื่อน รวมทั้ง เด็กอาจจะยังขาดทักษะในการแก้ไขข้อขัดแย้ง ทำให้เมื่อเผชิญหน้า เช่น เกิดความต้องการของชิ้นเดียวกัน หรืออยากครอบครองของที่มีอยู่ทั้งหมดคนเดียว แต่ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร ทักษะนี้เป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ และฝึกฝน จึงจำเป็นต้องมีคุณพ่อ คุณแม่คอยช่วยเหลือ และฝึกฝนให้ลูกน้อย
ถ้าลูกถูกเพื่อนรังแก หรือลูกรังแกเพื่อน คุณพ่อ คุณแม่จะจัดการอย่างไร?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิธีจัดการเมื่อลูกถูกรังแก” คลิกหน้า 2
วิธีจัดการเมื่อลูกถูกรังแก
1.พูดคุย และสื่อสารกับเด็ก
รับฟังเรื่องที่เขาอยากเล่า ด้วยท่าทีที่สงบ และไม่ด่วนตัดสินใจว่าใครเป็นคนทำผิด ฟังเรื่องราวของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ฟังความข้างเดียว
2.พูดคุยกับคุณครู หรือพี่เลี้ยงเด็ก
คุณพ่อ คุณแม่ลองสังเกตความผิดปกติของความสัมพันธ์ของลูกน้อย และเพื่อนๆ ว่าลูกของเราถูกรังแกหรือไม่ แล้วเล่าเรื่องราวที่ได้ยินจากลูกน้อยให้คุณครูฟัง ซึ่งอาจจะมีคนละมุมมองกับคุณครู หรือเพื่อนๆ
3.ร่วมมือกับคุณครูช่วยกันวางแผน แล้วแก้ไขปัญหา
ถ้าพบว่าลูกน้อยถูกรังแกอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อ คุณแม่ และคุณครู หรือพี่เลี้ยง ควรร่วมมือกันหาวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา เช่น ถ้าลูกน้อยถูกเพื่อนผลักจนเกิดแผล เพื่อนของลูกต้องเป็นคนรับผิดชอบพาลูกน้อยไปทำแผล รวมถึงการหาวิธีเพื่อช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ถ้าไม่อยากให้เพื่อนแย่งของเล่น ควรบอกเพื่อนว่าอย่างไรได้บ้าง โดยจะต้องได้รับการฝึกฝนทั้ง 2 ฝ่าย
4.ช่วยลูกน้อยให้มีเพื่อน
การพัฒนามิตรภาพระหว่างกัน เลือกเพื่อนที่ลูกชอบเล่นด้วยบ่อยๆ แล้วชวนมาเล่นด้วยกันที่บ้าน หรือหาโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน จะช่วยให้ลูกน้อยมีเพื่อนที่สนิท และคอยช่วยปกป้องเมื่อถูกรังแก เพราะบ่อยครั้งที่เด็กๆ ที่ชอบเล่นอยู่คนเดียวมักจะถูกรังแก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิธีจัดการเมื่อลูกชอบรังแกเพื่อน” คลิกหน้า 3
วิธีจัดการเมื่อลูกชอบรังแกเพื่อน
1.อย่าละเลยเมื่อลูกรังแกเพื่อน
เมื่อคุณพ่อ คุณแม่เห็นลูกของเรารังแกคนอื่น แล้วปล่อย ทำเป็นไม่สนใจ หรือไม่ตำหนิลูก ทั้งหมดนี้ไม่ช่วยในการแก้ไขปัญหา การละเลย ยิ่งจะทำให้ปัญหาลุกลาม เพราะเป็นสัญญาณบอกว่าการกระทำของลูกนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่การต่อว่า หรือตำหนิลูกด้วยความรุนแรง ก็ไม่ช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจได้เช่นกัน เพราะลูกจะยิ่งโกรธ และรังแกเพื่อนมากขึ้นกว่าเดิม
2.สืบหาสาเหตุ
รับฟังลูกน้อยอย่างสนใจ พร้อมทั้งตรวจสอบ คอยสังเกตชีวิตประจำวันของลูก ว่าลูกน้อยได้รับแบบอย่างความก้าวร้าวนั้นมาจากไหน เช่น จากผู้ใหญ่ จากเพื่อน หรือจากสื่อโทรทัศน์ หรือสื่อเทคโนโลยี และพยายามลดโอกาสที่ลูกน้อยจะได้เห็น ได้ดู แบบอย่างที่ไม่ดีเหล่านั้น
3.สอนให้ลูกน้อยเห็นใจคนอื่น
คุณพ่อ คุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เพราะเด็กที่ชอบรังแกคนอื่น มักไม่ค่อยมีความรู้สึกเห็นใจใคร ลองถามลูกว่า “ถ้าเพื่อนมาทำร้ายลูกแบบนี้บ้าง แล้วลูกจะรู้สึกอย่างไร?” หรือ “ถ้าเพื่อนมาล้อเลียนลูกแบบนี้บ้าง ลูกจะรู้สึกเช่นไร”
4.ถามลูกตรงๆ
เมื่อลูกรังแกคนอื่น ลองถามลูกด้วยประโยคสั้นๆ ง่ายๆ เช่น อะไรที่ทำให้ลูกแกล้งเพื่อน? ทำไมลูกถึงทำแบบนั้น? คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะได้คำตอบ เช่น กลัวเพื่อนเข้ามาแย่งของเล่น หลังจากที่คุณพ่อ คุณแม่ได้รับคำตอบจากลูกแล้ว ให้ลองชวนลูกน้อยมาหาวิธีแก้ไขร่วมกัน เช่น เข้าไปขอโทษเพื่อน หรือแก้ไขในสิ่งที่ทำลงไปแล้ว เช่น พาเพื่อนไปทำแผล และให้ลูกสัญญาว่าจะไม่ทำแบบนั้นอีก เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
พ่อไม่พอใจ คิดว่าลูกโดนแกล้ง ทำร้ายเด็กไม่ยั้ง
เด็กฆ่าตัวตาย เพราะถูกเพื่อนแกล้ง สังคมที่ต้องได้รับการเยียวยา
ลูกถูกเพื่อนรังแก พ่อแม่จะรับมืออย่างไร?
Save
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่