ลูกโดนแกล้ง ปัญหาของเด็กในรั้วโรงเรียน ที่พ่อแม่คาดไม่ถึงว่าจะร้ายแรงจนถึงขั้น “ฆ่าให้ตาย” หรือ “ทำลายชีวิตตัวเอง” หมอจิตวิทยาแนะ ตัดไฟแต่ต้นลม หมั่นสังเกตสัญญาณจากลูก ฝึกทักษะสังคม สอนวิธีเอาตัวรอด ช่วยให้ลูกสร้างเกราะป้องกันให้รอดจากเรื่องบูลลี่ (Bully) ได้สำเร็จ
จาก 2 เหตุการณ์น่าสลดใจของเด็กชายชั้นมัธยมใช้ปืนบุกยิงเพื่อนร่วมชั้นในโรงเรียนจนเสียชีวิต เพราะคับแค้นใจที่โดนกลั่นแกล้งและล้อเลียนเป็นประจำ และอีกหนึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นกับเด็กหญิงชั้นประถม พยายามผูกคอตัวเองในห้องน้ำของโรงเรียน เนื่องจากเคยถูกเพื่อนรุมแกล้ง และล้อเลียน ทำร้ายจิตใจอย่างรุนแรง แม้จะไม่เสียชีวิตแต่ต้องกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา ใครจะคิดว่าเรื่องเล่นสนุกของเด็ก จะส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต
ลูกโดนแกล้ง พ่อแม่ช่วยอย่างไรดี ให้ปลอดภัย ไม่ถูกแกล้งซ้ำ
เพราะหลายบ้านรู้สึกว่าเวลา ลูกโดนแกล้ง หรือล้อเลียนเป็นแค่เรื่องเล่นสนุกๆของเด็ก ผู้ใหญ่ไม่ควรเข้าไปยุ่ง และประเมินจากประสบการณ์ส่วนตัวของพ่อแม่เองว่าในวัยเด็กก็เคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มา “ใครๆก็โดนแกล้ง เดี๋ยวก็ผ่านไป” ทราบหรือไม่ว่า ความเข้าใจเช่นนี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่มองข้ามปัญหาที่ลูกต้องเจอ และเข้าไปช่วยเหลือช้าเกินไป
6 อย่างที่ ลูกโดนแกล้ง พบบ่อยในโรงเรียน
กรมสุขภาพจิตระบุว่า การแกล้งกันในโรงเรียน “ไม่ใช่เรื่องเล็ก” เป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงที่ส่งกระทบต่อร่างกายและจิตใจในระยะยาว รูปแบบการแกล้งที่มักพบบ่อยในโรงเรียนมีดังนี้
- ใช้กำลังทำร้ายร่างกาย
มักพบบ่อยและสังเกตได้ง่ายที่สุด เด็กที่โดนแกล้งมักตัวเล็ก ผอม หรือมีท่าทางอ่อนแอกว่าอีกฝ่าย ซึ่งจะใช้กำลังควบคุม ข่มขู่ด้วยการต่อยตี ตบ หรือผลักกัน
- ใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ
ถึงจะไม่มีบาดแผลให้เห็น แต่คำล้อเลียนจุดอ่อน หรือปมด้อยสร้างแผลลึกในจิตใจ ที่สำคัญคือ พ่อแม่และคุณครูจะสังเกตเห็นได้ยาก ส่วนใหญ่มักโดนกระทำจากกลุ่มเพื่อน หรือรุ่นพี่พูดต่อกันแบบปากต่อปาก เรื่องที่โดนล้อเลียนมีทั้ง รูปร่างหน้าตา สีผิว เพศ ฐานะครอบครัว สถาบันการศึกษา และความสามารถ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องทำร้ายจิตใจทั้งสิ้น
- ใช้อำนาจแยกไม่ให้เข้าพวก
มักเกิดบ่อยในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น (ประถมปลาย-มัธยมต้น) โดยจะกีดกันไม่ให้เข้ากลุ่ม ปล่อยข่าวลือเสียหาย ทำให้เด็กที่ถูกแกล้งไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนและสังคมในโรงเรียน เรื่องนี้มีผลกระทบต่อจิตใจของวัยรุ่นมาก และนำไปสู่การตอบโต้ที่รุนแรงได้
4.ใช้โซเชียลทำลายชีวิต
เกิดขึ้นได้ง่ายและต่อเนื่อง เพราะหลบลี้จากการเผชิญหน้าได้ ขณะที่หาก ลูกโดนแกล้ง ด้วยวิธีนี้อาจได้รับผลที่โหดร้ายและไม่สิ้นสุดง่ายๆ เพราะการโพสต์ลงโซเชียล เช่น รูปภาพ หรือข้อควายเสียหาย จะถูกกระจายในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และยากจะกำจัดให้หมดได้
นอกจากนี้พบว่า เด็กๆ รุ่นใหม่ที่ถูกแวดล้อมด้วยสื่อความรุนแรงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ ภาพยนตร์ และโซเชียลที่เข้าถึงได้ง่าย ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว แรงมาแรงกลับ มองความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ สนุกกับการได้แกล้งเพื่อน และขาดความเอื้ออาทร แม้แต่กับคนใกล้ชิด ทั้งหมดนี้จึงยิ่งกระตุ้นให้เวลาที่ ลูกโดนแกล้ง รุนแรงขึ้น