โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง ในปัจจุบันนี้พบว่าเด็กเยาวชนที่กำลังจะเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ เริ่มไม่เข้าใจกับผู้คนรอบข้าง ไม่รู้จักการวางตัว และการตอบสนองต่อผู้คน มองตัวเองเป็นที่ตั้งสำคัญ ไม่ยิ้ม ไม่ทักทาย ชอบอยู่กับตัวเอง ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโรคที่เรียกว่ามารยาททางสังคมบกพร่อง ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ
โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง คืออะไร?
เชื่อว่ายังมีพ่อแม่อีกหลายๆ ครอบครัว ที่ยังไม่รู้จักกับโรคนี้ และอาจไม่ทราบว่าลูกๆ ที่บ้านก็กำลังเป็นโรคมารยาททางสังคมบกพร่องกันอยู่ได้ค่ะ !! การจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน การเรียน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องอยู่ในคนหมู่มาก ต้องอาศัยทักษะทางสังคม หรือความฉลาดทางสังคม (Social Quotient) เป็นความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้คนและสังคมรอบข้างได้เป็นอย่างดี
Good to know… “สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี้ ได้ติดตามสถิติของคนที่มีไอคิวดี ที่มีการฝึกอบรมทางด้านสมอง รวมทั้งมีทักษะความสามารถในการทำงานดี พบว่าคุณสมบัติดังกล่าวทำให้คนประสบความสำเร็จเพียง 15% แต่อีก 85% มาจากปัจจัยด้านบุคลิกภาพ และการปฏิบัติต่อผู้อื่น หรือที่เรียกว่า การพัฒนาทักษะความฉลาดทางสังคม1”
แล้วอะไรคือโรคมารยาททางสังคมบกพร่อง ? หากมองให้ดีการที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งมาจากพ่อแม่ที่คอยอบรมเลี้ยงดูลูกมาเป็นอย่างดีตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ซึ่งการใกล้ชิดของพ่อแม่ลูก จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการคิด ตอบสนองกับทุกเรื่อง และกับทุกคนที่นอกเหนือจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัว แต่ทางกลับกันในปัจจุบันพ่อแม่มักไม่มีเวลาที่จะอยู่ใกล้ชิดกับลูกมากเท่าที่ควร การที่พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูกๆ มากเท่าที่ควรจะเป็นนั้น อาจด้วยความจำเป็นที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านกันทั้งสองคน และเกิดจากสภาพความห่างเหินแปลกแยกระหว่างคนในสังคมที่ไม่รู้จักแม้กระทั่งเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันโดยไม่เคยแม้แต่จะยิ้มทักทาย พูดคุยกัน ต่างคนต่างอยู่ และมีน้ำใจให้กันน้อย ซึ่งผลพวงของปัจจัยเหล่านี้เป็นอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ เป็นโรคมารยาทสังคมบกพร่องกันมาก เราไปดูกันค่ะว่ากลุ่มอาการของโรคนี้ และวิธีการแก้ไข จะสามารถทำได้อย่างไร เพื่อให้ได้เด็กๆ ที่น่ารักกลับมาเหมือนเดิมกันค่ะ
อ่านต่อ >> “มารู้จักกับอาการโรคมารยาททางสังคมบกพร่อง” หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการของโรคมารยาททางสังคมบกพร่อง2
ในขั้นแรกของโรค
จะมีอาการนิ่งเฉย ไม่ตอบสนองต่อการมีปฏิสัมพันธ์ปกติจากคนรอบข้าง เช่น การทักทาย การขอบคุณ หรือความช่วยเหลือจากภายนอก แต่ระบบประสาท (drag) ของผู้ป่วยจะมีความไวเป็นพิเศษหากเจอสิ่งเร้าใจในทางลบ หรือสิ่งกระตุ้นที่ตนเองไม่พอใจ โดยจะมีอาการตอบสนองอย่างรุนแรงทันทีที่ไม่ถูกใจบางสิ่ง เรียกสั้นๆ ว่า “เหวี่ยง”
ในขั้นกลางของโรค
จะไม่สามารถทำการแสดงออกถึงมารยาทพื้นฐาน เช่น การขอบคุณ การขอโทษ การรับการทักทาย การยิ้ม การตอบคำถามทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือการให้ความร่วมมือกับงานของส่วนรวมได้ และไม่สามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจ หรือมีน้ำใจต่อผู้อื่นได้ หากปารศจากผลประโยชน์ตอบแทน
ในขั้นสุดท้ายของโรค
จะมีอาการต่อต้านสังคมอย่างเห็นได้ชัด เหตุ+ผล จะหายไป โดยสัญชาตญาณของความเห็นแก่ตัวจะเข้ามาแทนที่ อาการภายนอกเห็นได้จากหน้าตาที่บูดบึ้ง โกรธเคืองตลอดเวลาในทุกสถานกาณ์ บางรายมีท่าเดินที่ดูแปลกผิดปกติ อันเกิดจากบุคลิกภาพที่เสื่อมไปจากการไม่แคร์ภาพลักษณ์ของตน
คนที่ป่วยด้วยโรคนี้ โดยเฉพาะกับเด็ก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจส่งผลให้คนในสังคมรังเกียจ ไม่มีใครอยากคบ อยากพูดคุยด้วย ไม่มีเพื่อน และอาจถูกมองว่าเป็นขยะทางสังคมได้ในอนาคต!!
อ่านต่อ >> “มารยาททางสังคมบกพร่อง รักษาได้อย่างไร?” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ควรให้การรักษาอาการมารยาททางสังคมบกพร่องอย่างไร?
- หัดยิ้มให้คนรอบข้างด้วยความเป็นมิตร
- หัดพูดคำว่า “ขอบคุณครับ/ค่ะ” “ขอบคุณครับ/ค่ะ” และ “ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ” อย่างจริงใจให้เป็นนิสัย
- หัดเอาใจเขามาใส่ใจเรา นึกถึงคนอื่นให้มากกว่านึกถึงแต่เรื่องของตัวเอง
- หัดเป็นผู้ให้และรู้จักให้อภัย ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิดกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
ในความเป็นจริงแล้วโรคมารยาททางสังคมบกพร่อง สามารถแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดกับเด็กๆ ได้ ด้วยการได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ การได้รับการอบรมสั่งสอนให้แสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง สอนให้ลูกได้เข้าใจกฎกติกามารยาททางสังคม สอนให้รู้จักมีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจคนอื่น ไม่มองแต่ตัวเองเป็นสำคัญ การที่พ่อแม่ได้ใกล้ชิดกับลูก เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกได้เห็น และได้ซึมซับแต่สิ่งที่ดีจากพ่อแม่ ก็จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคมารยาททางสังคมบกพร่องลงได้ …ด้วยความห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
สอนลูกเรื่องมารยาท ด้วยหนังสือนอกเวลา
ที่บ้านของเรา คือต้นแบบมารยาทบนโต๊ะอาหารของลูก
7 เรื่องพื้นฐานที่ควรสอนลูกให้ติดเป็นนิสัย! ตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1thairath / 2mthai / mcp / kriengsak