เรื่องที่แม่ต้องรู้ ลูกอ้วก แบบนี้เมื่อไร อย่ารอช้า!! รีบนำตัวลูกส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
ลูกอ้วก หรือลูกอาเจียนคืออาการปกติที่เด็ก ๆ ทุกคนหรือแม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเราก็เป็นได้ แต่หากอ้วกหรืออาเจียนมากเกินไป ย่อมไม่ส่งผลดีแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมด้วย บอกคำเดียวเลยค่ะว่า มีเมื่อไรอย่ารอช้า หนทางเดียวที่จะช่วยลูกให้พ้นขีดอันตรายได้คือ การนำตัวลูกส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ซึ่งอาการที่ว่านี้ จะมีอะไรบ้างนั้น ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้เตรียมข้อมูลเอาไว้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านได้รับทราบกันแล้วค่ะ พร้อมวิธีการดูแลที่ถูกต้อง
คุณพ่อคุณแม่คะ ทราบหรือไม่คะว่า การที่ ลูกอ้วก หรืออาเจียนนั้น เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งบางอย่างก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้ลูกเสียชีวิตได้เลยละค่ะ ถามว่าทำไม สาเหตุเพราะอาเจียนนั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการนำของโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง เบาหวาน หรือความดันสูงในสมอง เป็นต้น
สมองของลูกสั่งให้ ลูกอ้วก ได้จริง ๆ หรือ
- ศูนย์อาเจียน – เป็นตัวทำหน้าที่ควบคุมและสั่งร่างกายให้เกิดการอาเจียน โดยเมื่อไรก็ตามที่ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากภายนอก เช่น จากทางเดินอาหาร และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวภายในหูชั้นใน ซึ่งเกี่ยวกับอาการเมารถเมาเรือ
- ศูนย์ซีทีแซด (CTZ) จะได้รับการกระตุ้นจากศูนย์อาเจียน หลังจากนั้นจะส่งสัญญาณประสาทออกจากศูนย์ไปยังกะบังลม ทำให้กำบังลมบีบตัว ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้เกิดอาการเกร็ง และไปยังกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ทำให้คลายตัว ทำให้เศษอาหารนั้นถูกผลักดันออกจากปาก และเกิดการเจียนในที่สุด
สาเหตุที่ทำให้ลูกอ้วก คืออะไร?
ลูกอ้วกแบบนี้ รีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกอาเจียนและมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย อย่ารอช้าค่ะ รีบพาไปพบแพทย์ทันที
• ลูกมีอาการคอแข็งเกร็ง พร้อมกับมีไข้สูง อาจเป็นอาการหนึ่งของสมองได้รับการติดเชื้อ ไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฯลฯ หรืออาจเกิดจากการมีก้อนเนื้องอกในสมอง หรือเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ หรือเส้นโลหิตแตกในสมอง ก็เป็นได้
• ท้องบวมและนุ่ม
• ลูกหายใจติดขัด หรือหายใจไม่ออก
• ภาวะร่างกายขาดน้ำ วิธีการสังเกตคือ ตาลึก เป็นไข้หนาวสั่น ผิวหนังแห้ง ชีพจรเต้นเร็ว โซเซ เวียนศีรษะ หรือสติเลื่อนลอย เป็นต้น
• ปวดท้อง โดยเฉพาะปวดท้องไล่จากบริเวณสะดือลงไปถึงท้องส่วนล่างทางด้านขวา อาจเป็นสัญญาณของไส้ติ่งอักเสบ
• อาเจียนเป็นน้ำดี (ของเหลวสีเขียว) หรือมีเลือดสีน้ำตาลเข้มปน หากเป็นกรณีนี้ ควรเก็บตัวอย่างอาเจียนไปด้วย เพราะแพทย์อาจจำเป็นต้องใช้ในการวินิจฉัย
• อาเจียนมากกว่า 1 ครั้ง หลังจากศีรษะถูกกระแทก
สำหรับในกรณีที่ลูกเป็นเด็กเล็ก หรือมีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อไรก็ตามที่มีการอาเจียนหรือท้องเสียค่อนข้างมาก ควรพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเกิดอันตรายจากการขาดน้ำหรือการติดเชื้อรุนแรงได้ง่ายค่ะ
วิธีการดูแลลูก
ในกรณีที่ลูกอ้วกหรืออาเจียนนั้น ให้คุณพ่อคุณแม่คอยดูแลลูกด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ
- ดูแลลูกอย่าให้ร่างกายขาดน้ำค่ะ คอยให้ลูกจิบน้ำเกรือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับการอาเจียน คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ลูกจิบทีละนิด และบ่อย ๆ นะคะ ไม่ใช่ทานทีเดียวหมดค่ะ
- ให้ลูกรับประทานอาหารที่อ่อน ย่อยง่าย ไม่มีรสจัด
- รับประทานยาแก้อาเจียน หรือยาที่ทำให้อาเจียนลดน้อยลงเมื่อมีอาการหรือตามที่แพทย์สั่ง
- หากลูกอาเจียนมาก ซึม กระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว ห้ามให้รับประทานอะไรโดยเด็ดขาด ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- เฝ้าดูแลอาการของลูกอย่างใกล้ชิด หากมีอะไรน่าสงสัยให้รีบพาตัวส่งโรงพยาบาลทันที
ขอบคุณที่มา: Bangkok Health Research Center
บทความโดย: กองบรรณาธิการ Amarin Baby and Kids
อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่