AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

หมอเตือน! ลูกซน อย่านิ่งนอนใจ โรคสมาธิสั้น อาจถามหา!

เครดิต: Prezi

โรคสมาธิสั้น คืออะไร? ทำไมถึงอย่านิ่งนอนใจ และโรคดังกล่าวจะเกี่ยวกับอะไรกับการซนของเด็ก ลูกซน จะเป็นเด็กสมาธิสั้นจริงหรือ? ที่นี่มีคำตอบค่ะ

หมอเตือน! ลูกซน อย่านิ่งนอนใจ โรคสมาธิสั้น อาจถามหา!

ความซนกับเด็ก ๆ มักเป็นของคู่กัน แต่ถ้า ลูกซนมากไปชนิดที่เรียกได้ว่าผิดปกติ เอาไม่อยู่ จนคุณพ่อคุณแม่รู้สึกเครียด แบบนั้น ความเสี่ยงที่ลูกอาจจะเป็น โรคสมาธิสั้น ก็มีความเป็นไปได้ค่ะ

โรคสมาธิสั้นใช่ว่าเพิ่งจะเกิดขึ้น แต่กลับถูกค้นพบว่าโรคนี้มีมานานกว่าร้อยปีแล้ว แต่เมื่อก่อนยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากนัก ผิดกับปัจจุบันที่เครื่องมือสื่อสารทั่วถึง ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า จึงสามารถกำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยได้แน่นอนและชัดเจนมากขึ้น ทำให้พบว่ามีเด็กที่เข้าข่ายการเป็นโรคสมาธิสั้นมากขึ้นจนกลายเป็นการแพร่ระบาดอย่างวงกว้างในสังคม

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่บางท่านที่พบว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นก็มักจะเกิดไม่สบายใจและกังวลใจว่า ลูกของเราจะเป็นที่รังเกียจของคนในสังคมหรือไม่ วันนี้ ผศ.นพ.ชาญวิทย์  พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นภาควิชาจิตเวชศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะมาอธิบายถึงโรคสมาธิสั้นกันค่ะ

ทำความรู้จักกับโรคสมาธิสั้นเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

โรคสมาธิสั้น คืออะไร?

คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นและพบได้ในเด็กที่มีอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 1 -7 ปี อันเกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบกับอารมณ์ พฤติกรรม การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น โดยอาการที่พบนั้นก็ได้แก่

– อาการขาดสมาธิ
– อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม
– อาการซน อยู่ไม่นิ่ง

พบว่ามีเด็กที่ป่วยโรคนี้บางราย ไม่ซนเลย แต่เพียงแค่ขาดสมาธิ ซึ่งถือเป็นปัญหาหลัก และอาการดังกล่าว ก็จะพบได้มากทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายค่ะ และก็พบได้บ่อยในทุกประเทศทั่วโล สำหรับในประเทศไทยเองนั้น พบว่ามีเด็กร้อยละ 5 ของเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียนนั้นป่วยเป็นโรคนี้ ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนทั้งห้องมีจำนวน 50 คน จะมีเด็กที่เป็นโรคดังกล่าวอยู่ประมาณ 2 – 3 คนนั่นเอง

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็น?

วิธีสังเกตอาการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี

  1. พบว่าลูกมีอาการของเด็กขาดสมาธิ ได้แก่
    • ไม่สามารถตามสิ่งที่พ่อแม่ และครูสั่งจนเสร็จได้
    • ไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
    • ไม่ตั้งใจฟัง
    • เก็บรายละเอียดไม่ได้
    • ไม่มีสมาธิในการเรียน และการเล่น
    • ผิดพลาดบ่อย ๆ
    • ไม่มีระเบียบ
    • พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ความคิด หรือสมาธิ
    • วอกแวกง่าย
    • ทำของหายอยู่บ่อย ๆ ขี้ลืม
  2. อาการซน เช่น
    • ยุกยิกไม่อยู่สุข นั่งไม่ติดที่
    • ลุกเดินบ่อยๆ เมื่ออยู่ในบ้านหรือห้องเรียน
    • ชอบวิ่ง และปีนป่ายสิ่งต่างๆ
    • พูดมาก พูดไม่หยุด
    • เล่นเสียงดัง
    • ตื่นตัวตลอดเวลา
    • ตื่นเต้นง่าย
    • ชอบตอบคำถามก่อนที่พ่อแม่พูดจบ
    • รอคอยไม่เป็น
    • ชอบขัดจังหวะ หรือแทรกเวลาคนอื่นพูด
  3. อาการหุนหันพลันแล่น โดยเด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน เวลาทำอะไรมักจะไม่คิดก่อน และขาดความระมัดระวัง เป็นต้น

วิธีการรักษานั้น ก็สามารถทำได้โดยการให้ลูกทานยาเพิ่มสมาธิ ฝึกเทคนิคการปรับพฤติกรรม และช่วยเหลือในเรื่องการเรียน หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น ให้รีบพาไปปรึกษาเพื่อรับการรักษาด้วยยา และขอคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ลูกน้อยจะดีที่สุดค่ะ

เครดิต: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่