นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงไม่ควรจับเด็กๆ วัยก่อนเรียน 3 คนมาอยู่ด้วยกัน นั่นก็เพราะเลข 3 มักจะประกอบด้วย 2 + 1 (หรือก็คือส่วนเกิน)
คุณแม่คริสต้าเข้าใจเรื่องนี้ดี เพราะเพิ่งเจอกับตัวมาหมาดๆ เมื่อเธอชวนเพื่อนๆ ของซู ลูกสาววัย 4 ขวบ มาเล่นที่บ้านในบ่ายวันเสาร์ “ทุกครั้งที่ฉันหันไปดู จะต้องมีเด็กคนหนึ่งถูกทิ้งให้เล่นคนเดียว และพอฉันดึงเด็กคนนั้นเข้ากลุ่ม เด็กอีกคนก็จะโดดเดี่ยว ฉันแก้ปัญหานี้ไม่ได้เลย” คุณแม่จากเมืองโฮมวู้ด รัฐอิลลินอยส์บ่น
ปัญหา “เราสามคน” นี้มักเกิดกับเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย เพราะเด็กผู้หญิงชอบทำกิจกรรมที่ต้องสื่อสารแบบ “ตัวต่อตัว” มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเล่นขายของหรือสมมุติบทบาทพ่อ – แม่ – ลูก (ถึงจะเล่นกัน 3 คน แต่ส่วนใหญ่ “ลูก” จะไม่มีบทพูดอะไรเลย นอกจากนอนทำเสียงอ้อแอ้)
คุณหมอแอดเดอร์แลด รอบบ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวช ศูนย์การแพทย์เด็กแห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี. ให้ความเห็นว่า “ความจริงพวกเด็กผู้ชายก็ไม่ค่อยอยาก ‘แบ่งปัน’ เหมือนกัน แต่เราไม่ค่อยสังเกตเห็นนิสัยข้อนี้ เพราะพวกเขาเอาเวลาไปวิ่งไล่ตามลูกบอลมากกว่าจะมานั่งสังสรรค์”
แก้ปัญหานี้อย่างไร : เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มเข้ากลุ่มแบบสามคนได้ดีขึ้นเมื่อเข้าชั้นประถม แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น คุณพ่อคุณแม่ควร…
• หลีกเลี่ยงสถานการณ์ “เลข 3 อาถรรพ์” ด้วยการเลี่ยงที่จะชวนเพื่อนลูกมาพร้อมๆ กัน 2 คน หรือจับกลุ่มแบบเลขคี่ที่ทำให้มีเด็กหนึ่งคนไม่เข้าคู่
• ถ้าเลี่ยงไม่ได้ พยายามชวนเด็กๆ ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว เช่น เล่นเกมงูไต่บันได เกมเศรษฐี เกมการ์ด ทำงานศิลปะ ฯลฯ
• เตรียมตัวเข้าไปช่วยเหลือ เมื่อมีใครสักคนถูกทิ้งให้เล่นคนเดียว หรือมีแววว่าจะเป็นปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง รีบเข้าไปไกล่เกลี่ย หรือทำตัวเป็น “สมาชิกคนที่สี่” แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนทำไม ทำไม ทำไมล่ะ
ผลการศึกษามหาวิทยาลัยมิชิแกนพบว่า…
“เด็กวัยเรียนถามคำถามปลายเปิด เช่น ‘ทำไม…’ หรือ ‘ยังไง…’ เฉลี่ยชั่วโมงละ 76 ครั้ง” ถ้าคุณพ่อคุณแม่จะงงจนตอบไม่ถูกก็ไม่แปลกหรอกนะนี่
ด.ญ.รักรภัส กล้าณรงค์ ด.ญ.ทิพย์วรินทร อภิคมบุญวรุตม์ และ ด.ญ.พิชชากร จิตตระกูล
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
ภาพโดย: