AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เปลี่ยน ” จากติดสินบนลูก ” เป็น ” ทำข้อตกลง ” กันเถอะ

Credit Photo : Shutterstock

ติดสินบนลูก เป็นเหมือนการให้กำลังใจลูกด้วยรางวัลหลอกล่อทางอ้อม เพื่อให้ลูกทำกิจกรรม หรือสนใจในสิ่งที่พ่อแม่อยากให้ลูกทำ ฯลฯ  แต่รู้ไหมว่าผลเสียที่เกิดขึ้นกับลูกนั้นได้มาไม่คุ้มเสียค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำแนะนำในการช่วยให้พ่อแม่ไม่ต้องติดสินบนลูก เวลาที่อยากจะส่งเสริมให้เด็กๆ ทำอะไรที่เป็นผลดีต่อตัวพวกเขากันค่ะ

 

ติดสินบนลูก เป็นวิธีที่ดีจริงหรือ?

เชื่อว่ายังมีพ่อแม่หลายๆ ครอบครัวที่ใช้วิธี ติดสินบนลูก เวลาที่ลูกมีข้อต่อรองว่าจะทำนั่น ทำนี่ก็ได้ แต่พ่อแม่ต้องให้ของ เล่น ต้องพาไปเที่ยว ฯลฯ คือมีข้อแม้ของแลกเปลี่ยนตลอดกว่าจะยอมทำ หรือยอมไปโรงเรียน ซึ่งพ่อแม่ก็ใจอ่อนเพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วเพื่อให้ลูกเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย เชื่อและทำตามในเรื่องที่พ่อแม่วางแนวทางไว้ให้ลูก

แต่การที่พ่อแม่มีของมาแลกเปลี่ยนติดสินบนลูกทุกครั้ง หรือเกือบจะทุกเรื่อง นั่นไม่ใช่วิธีที่ดีต่อตัวเด็กทั้งในระยะสั้น และระยะยาวเลยค่ะ  เพราะเด็กจะมีข้อต่อรองกับพ่อแม่ทุกครั้ง

ตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็เช่น

แม่ : น้องเกมครับ ช่วยถือขนมกล่องนี้เดินไปให้บ้านคุณยายที

ลูก : ถือขนมไปส่งบ้านยายได้ครับ แต่แม่ต้องให้ค่าเดิน 20 บาท

แม่ : เกมครับช่วยแม่ล้างจานหน่อยลูก

ลูก : แม่ต้องให้ 20 บาทก่อน แล้วถึงจะล้างจานครับ

นี่คือตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงๆ กับที่บ้านที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของผู้เขียนเอง จนแซวขำๆ กันว่า “ไอลูก 20 บาท” คือไม่ว่าจะให้ทำอะไรจะต้องขอเงิน 20 บาทไว้เป็นประกันว่าถ้าทำให้แล้วจะต้องได้เงินนะ!

จนมานั่งคิดแก้ปัญหานี้ร่วมกันทั้งบ้านว่าจะทำยังไงให้น้องเกม เป็นเด็กที่อยากทำอะไรให้โดยที่ไม่ขอสิ่งแลกเปลี่ยน จนมาถึงบางอ้อว่า น้องเกมอายุยังน้อยเพิ่งจะ 5 ขวบเอง เราน่าจะสร้างความภูมิใจให้เขาได้ ไม่ใช่แค่พ่อแม่หรือคนในครอบครัวตัดปัญหาความรำคาญลูกแล้วให้ในสิ่งที่ลูกขอเป็นการแลกเปลี่ยนกัน  นี่คือหนึ่งในสิ่งที่ครอบครัวของน้องเกมใช้เพื่อปรับนิสัย และพฤติกรรม ซึ่งก็ได้ผลดีมากด้วยค่ะ นั่นก็คือ…

ดาวเด็กดี

เราเปลี่ยนจากการให้เงินน้องเกม มาเป็นการสะสมดาวเด็กดีแทนค่ะ โชคดีที่พ่อแม่ของน้องเกมเป็นคุณครูสอนศิลปะ  เด็ก เลยทำกิจกรรมนี้ออกมาได้ดึงดูดลูกมาก โดยทำทุกอย่างเหมือนปกติเพียงแต่เปลี่ยนจากการให้เงินมาเป็นการให้ลูก  สะสม ดาวแทน ซึ่งดาวเด็กดีเราให้น้องเกมสะสมเป็นเดือน แล้วก็เอามาดูกันว่าเดือนนี้กับเดือนที่แล้วเขาได้ดาวของการ  ทำความดี ไปกี่ดวง จากนั่นก็เป็นหน้าที่พ่อแม่ที่จะพูดให้เขารู้สึกภาคภูมิใจในเรื่องที่เขาทำมาตลอดทั้งเดือน จำได้ว่าใน  ช่วงแรกๆ ไม่ ง่ายที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม นิสัยของน้องเกม แต่การมุ่งมั่น และความตั้งใจจริงของพ่อแม่และคนใน  ครอบครัว เป็นสิ่ง สำคัญมากจนุดท้ายก็สามารถเปลี่ยนลูกได้

ทุกวันนี้น้องเกมไม่เคยร้องขอสิ่งตอบแทนที่เป็นเงิน หรือของเล่นอะไรเลย แต่เราก็ไม่ได้ใจร้ายกับเขาซะทีเดียวนะคะ   เพราะทุกปิดเทอมก็จะพาเขาไปเที่ยวเปิดหูเปิดตาให้ประสบการณ์ชีวิตการเรียนรู้ที่แปลกใหม่กับเขาตลอดค่ะ

 

บทความแนะนำ คลิก >> กดดันเรื่องการเรียน ได้ผลเสียมากกว่าผลดี

ให้คำชมลูก คือรางวัลใหญ่

ลองเปลี่ยนจากการให้สินบนลูกตามสิ่งที่ลูกเรียกร้อง หรือตามที่พ่อแม่ชอบเป็นฝ่ายหยิบยื่นข้อแลกเปลี่ยนที่เป็นรางวัลจับ ต้องได้ให้ลูกเองก่อน มาเป็นการให้คำชมลูกทุกครั้งที่

การชมลูกก็คือการให้กำลังใจ ซึ่งถือว่าดีต่อตัวเด็กมากๆ ทุกครั้งที่ชมลูก ให้เพิ่มด้วยการกอด จับมือ จับไหล่ เฉยคางลูกเข้าไปด้วย การสัมผัสลูกช่วยเพิ่มความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยให้กับตัวลูกได้ดีอีกด้วยค่ะ

อ่านต่อ เปลี่ยนการติดสินบนมาเป็นข้อตกลงให้ลูก หน้า 2 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีง่ายๆ ใน การเปลี่ยนจากการหลอกล่อด้วยสินบนเป็นการต่อรองที่ดีมีอะไรบ้าง

เมื่อเปิดหาความหมายของคำว่า “ดื้อ” ในพจนานุกรม ตัวอย่าง “ดื้อ” ของเด็กวัยเรียนก็ช่วยให้กระจ่างตามระเบียบ จากการวิจัยของผศ.ดร.เด็บบี้ ไลเบิล จากสาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยลีไฮ ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 3-5 ขวบมักโต้เถียงกับพ่อแม่ 20 ถึง 25 ครั้งในหนึ่งชั่วโมง จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ใหญ่อย่างเราจะใช้วิธีติดสินบนเพื่อให้เด็กๆ หยุดดื้อ (ชั่วครู่ก็ยังดี) และยอมทำตามที่คุณต้องการ เช่น “ถ้าลูกนั่งนิ่งๆ แม่จะให้กินคุกกี้”

ดร.ไลเบิลอธิบายเพิ่มเติมว่า อันที่จริงแล้วการต่อรองเป็นวิธีที่ดีที่พ่อแม่ทำได้ แต่พ่อแม่ก็มักจะเผลอล้ำเส้นไปเป็นการติดสินบนได้ง่ายๆ ความแตกต่างระหว่างสองอย่างนี้คือ การติดสินบนมักจะเป็นเรื่องใหญ่และทำให้เด็กเกิดความคาดหวังสูงกว่าปกติ อย่างเช่น การได้กินไอศกรีมซันเดย์แลกกับการจัดเก็บของเล่น (แทนที่จะเป็นคุ้กกี้พี่หมีแค่สองสามชิ้น) การติดสินบนมักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน ซึ่งตรงข้ามกันกับการต่อรองที่ยังคงตั้งอยู่บนกิจวัตรประจำที่ครอบครัวทำเพียงแต่เพิ่มหรือลดระยะเวลาทำสิ่งต่างๆ หรือปริมาณสิ่งของที่ได้

บทความแนะนำ คลิก >> 10 วิธีรับมือลูกดื้อตามแบบฉบับคุณแม่ยุคใหม่!

การติดสินบนบ่อยๆ จะนำมาสู่ปัญหาใหญ่ 2 ข้อ ข้อแรก ลูกจะมีแต่ของรางวัลเป็นแรงกระตุ้นเพียงอย่างเดียวในการทำสิ่งดี ทำสิ่งที่ควรทำและไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยไม่รู้จักการทำดีเพื่อให้พ่อแม่มีความสุขหรือแม้แต่ทำดีเพื่อตัวเอง ข้อสองลูกจะคาดหวังได้สิ่งของเป็นรางวัลตอบแทนทุกการกระทำของเขา

รู้อย่างนี้แล้ว คุณจะไม่อยากเปลี่ยนการติดสินบนเป็นต่อรองหรือ การเปลี่ยนก็มีหลักง่ายๆ คือ

แล้วถ้าถามว่าพ่อแม่จะให้รางวัลกับลูกบ้างได้ไหม ตอบเลยว่าได้ค่ะ แต่ต้องไม่เป็นการให้รางวัลลูกแบบพร่ำเพรื่อกันนะคะ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นก็จะกลายเป็นไปกระตุ้นให้ลูกเกิดความเคยตัว ว่าทุกครั้งถ้าเขาจะทำอะไรให้พ่อแม่ หรือคนอื่นๆ เขาจะต้องได้ของตอบแทน ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องดีกับตัวเด็กอย่างมากเลยละค่ะ

อ่านต่อ ผลลัพธ์จากการให้รางวัลลูก หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ผลลัพธ์ของการให้รางวัล และการลงโทษ ต่อตัวเด็ก!

 การให้รางวัลหรือการลงโทษเด็ก มีงานวิจัยที่บอกถึงผลลัพธ์ของการให้รางวัลและการลงโทษเหมือนกันในด้านจิตใจ คือไม่ได้ทำให้เด็กรู้ถึงคุณค่าของตัวเองในผลลัพธ์ของการกระทำนั้นๆ… คุณอังคณา มาศรังสรรค์ กระบวนกรผู้เชี่ยวชาญ ด้านความสัมผัสในครอบครัว ได้อธิบายถึงผลลัพธ์จากการที่พ่อแม่ติดสินบนลูก ดังนี้ค่ะ

 

การสร้างความภาคภูมิใจให้กับเด็ก ที่ได้ผลดีที่สุดไม่ได้อยู่ที่เงินรางวัล หรือสิ่งของตอบแทนใดๆ เลยค่ะ แต่อยู่ที่ความรัก ความเข้าใจลูกจริงๆ จากพ่อแม่ และที่สำคัญพ่อแม่จะต้องไปเป็นฝ่ายเริ่มต้นหยิบยื่นการให้สินบนกับลูก เพราะเมื่อได้เริ่มแล้วลูกจะติดใจ และจะแก้ไขได้ยากค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

จิตแพทย์แนะ! ขอบเขตการลงโทษเด็ก ป้องกันเด็กบอบช้ำหลังถูกลงโทษ
แม่ดุลูก ถูกวิธี เห็นผลดีแน่นอน!


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
นิตยสาร Amarin Baby & Kids
รายการโฮมรูม