AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตัดปัญหาตัวป่วนกวนโทรศัพท์

เรื่องกวนแม่ตอนโทรศัพท์เป็นอาการที่ลูกแต่ละช่วงวัยตั้งแต่ลูกทารก วัยเตาะแตะจนถึงแม้วัยเรียน ต่างก็มีไม่น้อยหน้ากันวิธีการรับมือก็ขึ้นอยู่กับอายุและความสนใจของลูกที่แตกต่างกันตามวัย

 
• ควรขัดหรือไม่ขัดจังหวะโทรศัพท์ของแม่ตอนไหน เอลิซาเบท เพนท์เลย์ นักวิชาการด้านครอบครัวและนักเขียนหนังสือขายดีชื่อ “No-Cry Solution” อธิบายว่า “การที่ลูกเข้ามากวนแบบนั้น เขาไม่ได้ตั้งใจจะก่อกวนหรือแสดงกิริยาหยาบคาย เพียงแต่ลูกสนใจแต่ความต้องการของตัวเอง โดยไม่เข้าใจว่าพ่อแม่ก็มีความต้องการของพ่อแม่ด้วยเหมือนกัน” คุณสามารถพูดคุยให้ลูกเข้าใจได้ว่าเรื่องไหนสำคัญพอที่จะมาขัดจังหวะตอนแม่คุยโทรศัพท์ได้ เช่น “น้องหกล้ม”และเรื่องไหนยังไม่จำเป็นต้องบอกตอนแม่พูดโทรศัพท์ เช่น “ตอนนี้ลูกเบื่อ”

 
วิธีบอกลูกวัยนี้จะใช้การสมมุติสถานการณ์หรือเล่นเป็นเกมก็ได้ และคงต้องบอกคุณพ่อคุณแม่ว่า ลูกอาจจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ทันทีใน 1 – 2 ครั้งแรก ขอแค่อย่าเพิ่งหมดความอดทนที่จะบอกลูกซ้ำๆ เขาจะเข้าใจได้ในที่สุด

 
• ต้องขอโทษก่อน เมื่อจะขัดจังหวะการพูดคุยของใคร ถ้าหากลูกทำตามที่สอนได้ต้องชมเชยลูกกลับด้วย แต่ถ้าสิ่งที่ลูกต้องการยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เขาควรรอคุณแค่ส่งสายตาให้ลูกและบอกให้รู้ว่า“อีกเดี๋ยวแม่ไป ตอนนี้ขอแม่คุยทรศัพท์ก่อนจ้ะ” อย่าปล่อยให้การกระทำที่ไม่เหมาะสมของลูกผ่านไป จำไว้ว่าคุณต้องเป็นแบบอย่างให้ลูกได้เสมอ

 
• ใช้สัญลักษณ์ บอกลูกว่าถ้าต้องการอะไรระหว่างที่แม่กำลังพูดโทรศัพท์ ให้เขาเข้ามาบีบแขนเบาๆ แม่จะบีบมือลูกกลับเพื่อตอบรับว่า แม่จะรีบไปทันทีที่คุยเสร็จข้อสังเกต : ครั้งแรกๆ ที่ใช้วิธีนี้ ควรตอบสนองให้เร็ว ลูกจะได้รู้สึกดีจากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการรอคอยให้มากขึ้น

 
• สอนให้ลูกรู้จักรอ ถ้าหากว่าบอกแล้วแต่ลูกก็ยังไม่ยอมจากไป ให้จ้องตาลูกและพูดด้วยน้ำเสียงปกติ “รอนะลูก อีกเดี๋ยวเดียวจ้ะ” จากนั้นหันกลับไปที่โทรศัพท์หรือคนที่คุณกำลังคุยด้วย ถ้าเป็นไปได้อาจจะเดินห่างออกมานิดหนึ่ง และเมื่อคุยเสร็จให้หันไปบอกกับลูกด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม “แม่คุยเสร็จแล้วจ้ะ ขอบคุณที่รอนะ” (แม้ว่าลูกจะทำหน้าบูดก็เถอะ) จากนั้นก็มาเข้าเรื่องที่ลูกต้องการให้แม่สนใจหรือช่วยเหลือได้เลย“ผมเห็นหลานๆ ร้องเพลงไทยที่ฮิตๆ ได้ทั้งที่ยังอ่านหนังสือไม่ออกเลยด้วยซ้ำไป แสดงว่าสมองของเด็กมีวิธีการจำแบบที่เราคาดไม่ถึง ­ฉะนั้นผมเลยเลือกเพลงที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างแจ๊สหรือคลาสสิกให้ลูกฟังด้วย เพราะผมคิดว่าสมองเขาน่าจะได้คิดหรือได้ทำงานมากกว่าเพลงที่เมโลดี้ง่ายๆ ทั่วไปครับ”

 

 

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง