คุณเองไม่ว่างเสียด้วย จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กวัยนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะถูกปล่อยไว้ลำพังในงานเลี้ยงของเด็กๆ ที่เต็มไปด้วยผู้ใหญ่ และเพื่อนที่ทั้งคุ้นและไม่คุ้นเคย ก่อนจะตัดสินใจอย่างไร ลองสังเกตพฤติกรรมของลูกดูก่อนดังต่อไปนี้
เขาดูจะชอบออกจากบ้านหรือไม่
ถ้าหากเขาเป็นเด็กประเภทติดบ้านไปไหนก็กวนจะกลับ คุณควรไปกับลูกด้วยดีกว่า การปล่อยเขาไว้ต่างที่โดยมีคนอื่นๆมากหน้าหลายตา จะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัย
สามารถปรับตัวเข้ากับคนในครอบครัวอื่นได้ไหม
เด็กบางคนจะรู้สึกตื่นเต้นขึ้นมา หากรู้ว่าเพื่อนนั้นมีพี่น้องหรือสัตว์เลี้ยงด้วยการบอกว่าไปแล้วจะเจออะไร (สนุกๆ) บ้างเช่น หนูรู้ไหม น้องแพรเขามีพี่ชายชื่อพี่พอช แล้วก็มีหมาปุยๆ ตั้งสองตัว จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าในงานน่าสนุกออก
ไปส่งแล้วจะยอมให้แม่กลับไหม
ถ้าลูกยังงอแงยังคงร้องตามเวลาบ๋ายบายกันแล้ว ต้องใช้วิธีการพูดเข้าช่วย เมื่อรู้ ล่วงหน้าว่าจะมีปาร์ตี้ที่ลูกอาจต้อง ฉายเดี่ยวพยายามคุยให้ฟังว่า งานปาร์ตี้นั้นมีอะไรสนุกๆ บ้าง และเมื่อไปถึงงาน ถ้าลูกยังติดคุณแจ มีท่าทีปฏิเสธจะแยกตัวอยู่อย่างนั้นก็อย่าฝืน คุณควรอยู่กับเขาที่นั่น หรือไม่ก็พากลับ แล้วครั้งต่อๆ ไปค่อยลองใหม่
ปกติรับมือกับเรื่องชวนทะเลาะอย่างไร
เมื่อคุณไม่ได้อยู่ยับยั้งลูก และก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคนอื่นจะใช้วิธีการใดในการแยกเด็กออกจากกันเมื่อทะเลาะ ถึงขั้นลงไม้ลงมือกัน ทางออกที่ดีที่สุดคือสังเกตว่า ปกติลูกคุมอารมณ์ตนเองพอได้ไหมพยายามให้เขาเรียนรู้ที่จะประนีประนอมกับเพื่อน โดยที่คุณไม่เข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยบ้าง
บอกกับคนอื่นได้ไหมว่าต้องการอะไร
จะปล่อยลูกได้อย่างแฮ็ปปี้ ที่สำคัญอีกประการคือ เด็กต้องไม่เป็นคนกลัว หรือไม่ไว้ใจที่จะบอกกับผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่พ่อแม่ในเรื่องอย่างเช่น หนูปวดฉี่ หรือ หนูหิวน้ำ การสร้างสถานการณ์สมมติเล่นกับลูกที่บ้าน เพื่อฝึกให้เขาพูดสิ่งที่ต้องการเมื่อถึงเวลา จะช่วยให้ลูกออกงานกลางวันอย่างมั่นใจทั้งแม่ลูกได้
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง