มีผลวิจัยที่ศึกษา พบว่าเด็กนักเรียน ที่เริ่มเข้าโรงเรียนใหม่ ๆ ของแวดวงการศึกษาในสหรัฐฯ ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา พบว่า การเริ่มเข้าเรียนใหม่ ๆ ถือเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของเด็กนักเรียนเหล่านั้นที่เดียว
ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะดีหรือว่าเสียก็ได้ ทั้งนี้ก็ด้วยบรรดาเด็กนักเรียนที่เริ่มเข้ามาเรียนใหม่นั้น ล้วนมีความหลากหลายแตกต่างกัน ทั้งด้านกายภาพและจิตภาพ ดังนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มพาเจ้าตัวน้อยเข้าเรียน สิ่งแรกที่ควรทำนั่นคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องแจ้งคุณครู หรือทางโรงเรียน ให้ทราบว่าลูกของเรานั้นเป็นอย่างไร (มีความชอบ ความกลัว รวมถึงปัญหาส่วนตัวอะไรบ้าง) ซึ่งผู้ศึกษาวิจัยได้ประมวลจนได้ 10 เรื่องที่ควรต้องรู้ ดังนี้
10 เรื่องควรรู้ ที่พ่อแม่ต้องบอกกับคุณครูของลูก
1. วิชาที่ลูกๆ ชื่นชอบ
และวิชาที่ลูกๆ ไม่ถนัด ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณครูช่วยแก้ไขให้ลูกๆ ของตน สามารถเรียนวิชาที่ไม่ถนัดนี้ ได้โดยที่เด็กจะมีความรู้สึกต่อต้าน หรือเครียด หรือหนักอกหนักใจต่อวิชานั้นๆ มากจนเกินไป
2. โรคประจำตัว
ทั้งนี้ เพื่อให้คุณครู หรือทางโรงเรียน เตรียมรับมือได้ทันท่วงที หากอาการของบุตรหลานของท่ากำเริบขึ้นมากะทันหัน
3. อาหาร
ต้องบอกคุณครูด้วยเหมือนกันว่า ลูกๆ แพ้อาหารชนิดใด ทั้งนี้หมายถึง อาหารที่ชื่นชอบด้วยเช่นกัน
4. กิจกรรมหลังเลิกเรียน
เพื่อให้คุณครูได้จัดให้บุตรหลานของท่านได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ถือว่าเป็นนันทนาการ หรือสันทนาการหลังเลิกเรียน ไม่ใช่จัดให้บุตรหลานของท่าน ไปทำกิจกรรมที่ไม่ชอบ ก็ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความเครียด หรือไม่มีความสุขในการทำกิจกรรมนั้นได้
5. ศาสนา
ผู้ปกครองควรแจ้งให้คุณครูทราบว่า บุตรหลานของท่านนับถือศาสนาอะไร เพื่อที่จะให้คุณครูปฏิบัติต่อบุตรหลานของท่านได้อย่างถูกต้อง ไม่ทำลายจิตใจกัน
อ่านต่อ >> “10 เรื่องควรรู้ ที่พ่อแม่ต้องบอกกับคุณครูของลูก”
คลิกหน้า 2
6. ปัญหาครอบครัว
เรื่องปัญหาภายในครอบครัวนี้ เช่น พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือแยกกันอยู่ ทำให้กระทบไปถึงจิตใจ และอาจจะส่งผลไปถึงการเรียนของบุตรหลานของท่านด้วย ดังนั้น ต้องแจ้งเรื่องที่ว่านี้ให้คุณครูได้รับทราบ
7. สิ่งที่ลูกๆ กลัวและเกลียด
เช่น เด็กๆ บางคน อาจจะกลัวความมืด เพราะกลัวผีหลอก หรือกลัวที่รกชัฏเพราะกลัวงู เป็นต้น ผู้ปกครองต้องแจ้งให้คุณครูทราบ เผื่อว่าทางโรงเรียนจัดกิจกรรมนอกโรงเรียน คุณครูก็จะได้ไม่ใช้ให้บุตรหลานของท่าน ไปประกอบกิจกรรมในสถานที่ดังกล่าว
8. งานอดิเรก
เช่น ความสามารถทางดนตรี กีฬา เป็นต้น เรื่องแบบนี้ผู้ปกครองต้องแจ้งให้คุณครูทราบด้วย ว่างานอดิเรกที่ลูกชอบทำมีอะไร จะได้ไม่ทำให้เด็กเคร่งเครียดเกินไป กับสิ่งที่ตัวเองชอบ
9. ความสามารถพิเศษ
อาจจะทำคู่ไปกับงานอดิเรก เพราะบางครั้ง ทำเพื่อให้เด็กมีกิจกรรมที่ตัวเองชอบ เพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมนั้น ในเวลาที่สมควรอย่างถูกต้องและเหมาะสม
10. อารมณ์
คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ที่พาลูกไปโรงเรียนต้องแจ้งให้คุณครูให้ทราบก่อนด้วยว่า อารมณ์ของลูกหรือหลานของตนนั้น เป็นอย่างไร เช่น ใจร้อน เยือกเย็น สุขุม เป็นต้น เพื่อใครครูรู้จักเด็กและตั้งรับอารมรณ์ของเด็กๆได้อย่างเหมาะสม
อ่านต่อ >> “10 เรื่องสำคัญ ที่คุณครูอยากบอกกับพ่อแม่” คลิกหน้า 3
หลังจากที่ทราบกันไปแล้วว่า เมื่อพาลูกเข้าโรงเรียนมีสิ่งใดบ้างที่พ่อแม่ควรบอกแจ้งกับคุณครูของลูก จากนั้นเรามาดูกันต่อค่ะ แล้วมีเรื่องใดบ้างที่พ่อแม่ต้องรู้เกี่ยวกับลูกเมื่ออยู่ในโรงเรียน ซึ่ง 10 เรื่องน่ารู้เหล่านี้ ที่ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูไม่ควรมองข้าม …อย่าลืมว่าการรู้เท่าทันพัฒนาการของลูกทุกวัน จะทำให้พ่อแม่ลูกเข้าใจ และมีปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวดีขึ้น
ใน 1 วัน ลูกของคุณจะต้องใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนนานถึง 8 ชั่วโมง แต่อย่าละเลยและคิดว่าคุณครูจะสามารถสอนทุกสิ่งทุกอย่างกับลูกเราได้ เพราะเด็ก ๆ จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้ากับเพื่อน ๆ หรือสังคมได้หรือไม่นั้น การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ในหลายครอบครัวที่พบว่าเด็กมีปัญหา เอาแต่ใจตัวเองบ้าง เกเรบ้าง หรือบางทีมีอาการเก็บกด มักเกิดจากการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ร่วมด้วย ฉะนั้น พ่อแม่ควรมาร่วมมือจับเข่าคุยกันกับคุณครู โดยฟังความในใจจากท่านที่อยากบอกเกี่ยวกับลูกของคุณในโรงเรียนกันดีกว่า…
10 เรื่องสำคัญ ที่คุณครูอยากบอกกับพ่อแม่
1. หมั่นฝึกฝนทักษะให้เด็ก
พ่อแม่หลาย ๆ คนมักจะคิดง่าย ๆ ว่าหน้าที่การสอนทักษะต่าง ๆ ทั้งการอ่าน การฟัง การพูด และการเขียน เป็นหน้าที่ของครูทั้งหมด แต่ที่จริงแล้วการสอนทักษะต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน เพราะเด็ก ๆ ควรได้ฝึกทักษะอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่บ้านและโรงเรียน
2. จับทางการเรียนรู้ของเด็กให้ถูกต้อง
พ่อแม่ไม่ควรบังคับให้ลูก ๆ ทำตามความต้องการของตัวเอง เพราะเด็กแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน เช่น เด็กบางคนอาจจะถนัดการคำนวณ แต่เด็กบางคนอาจถนัดเรื่องของศิลปะก็ได้ ดังนั้นพ่อแม่ก็ควรพูดคุยกับลูกเพื่อหาความถนัดของเด็ก ให้เจอและหาทางสนับสนุนความถนัดในด้านนั้น ๆ ให้กับเด็ก วิธีนี้ก็จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว และมีความสุขมากกว่าการเรียนที่โดนบังคับ
3. ให้โอกาสคุณครูได้พูดคุยกับพ่อแม่บ้าง
พ่อแม่ควรหาเวลาเข้าไปพุดคุยกับครู เพื่อแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ๆ บ้าง ว่าเด็กมีจุดอ่อนจุดแข็งตรงไหน และควรเสริมทักษะด้านใดเพิ่มเติมบ้าง เพื่อช่วยดูแลประคับประคองให้เด็กเติบโตอย่างมีศักยภาพและมีพัฒนาการที่สมวัย
อ่านต่อ >> “เรื่องสำคัญ ที่คุณครูอยากบอกกับพ่อแม่ ข้อ 4-10”
คลิกหน้า 4
4. หาเวลาไปดูแลลูกที่โรงเรียน
พ่อแม่หลาย ๆ คนอาจรู้สึกไม่พอใจ หรือไม่เข้าใจ การกระทำของคุณครู ว่าทำไมต้องตี ต้องดุ ฉะนั้นวิธีแก้ไขปัญหาความไม่พอใจ และไม่เข้าใจได้ดีที่สุดคือ พ่อแม่ควรหาเวลาไปดูแลเด็กที่โรงเรียนด้วยตัวเองบ้าง เพราะวิธีนี้จะทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันมากขึ้น แต่ถ้าพ่อแม่ไม่หาโอกาสไปดูแลลูกที่โรงเรียน มัวแต่ปิดหูปิดตาเข้าข้างเด็กอยู่แบบนี้ แล้วคุณครูจะอบรมสั่งสอนให้เด็กเป็นคนดีได้อย่างไร
5. ลงโทษเด็ก ๆ บ้างตามความเหมาะสม
พ่อแม่บางคนนั้นไม่กล้าลงโทษเด็ก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเด็กทำผิด เด็กก็จะคิดว่าที่เขาทำนั้นถูกแล้ว จนติดเป็นนิสัย สุดท้ายก็ไม่สามารถแก้ไขนิสัยนั้นได้ ดังนั้นก่อนที่เขาจะติดนิสัยแย่ ๆ ไปจนโต พ่อแม่ก็ควรตักเตือนและลงโทษบ้างเมื่อเด็กทำผิด ตามความเหมาะสม
6. โรงเรียนไม่ใช่คำตอบเสมอไป
บางครั้งการเข้าเรียนโรงเรียน หรือมหาวิยาลัยที่มีชื่อเสียงก็ไม่ได้รับรองว่าเด็กจะประสบความสำเร็จเสมอไป ฉะนั้นควรให้เด็กมีโอกาสเลือกเรียนด้วยตัวเองดีกว่า โดยประเมินจากความถนัดและความสนใจของเด็ก
7. ควรแจ้งครูทันทีหากมีอะไรเปลี่ยนแปลง
ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว หรือพฤติกรรมของเด็กที่เปลี่ยนไป เพราะพ่อแม่เป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด ฉะนั้นหากเกิดปัญหาอะไร ที่ต้องการการแก้ไข หรือดูแลเป็นพิเศษ ควรแจ้งให้ครูทราบทันที ก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย จนยากที่จะแก้ไข
อ่านต่อ >> “เรื่องสำคัญ ที่คุณครูอยากบอกกับพ่อแม่ ข้อ 8-10”
คลิกหน้า 5
8. ควรฟังสิ่งที่คุณครูบอกบ้าง
นอกจากสิ่งที่คุณฝากฝังให้ดูแลแล้ว คุณครูก็มีเรื่องที่อยากให้คุณพ่อ คุณแม่ช่วยดูแล ตอนอยู่บ้านด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากด้านวิชาการแล้ว ด้านอื่น ๆ ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งพฤติกรรม การแสดงออก และอาหารการกิน
9. อย่าดูพฤติกรรมที่บ้านของเด็กเพียงอย่างเดียว
ควรดูพฤติกรรมตอนอยู่ที่โรงเรียนของเด็กด้วย เด็ก ๆ เขาก็ต้องมีสังคม ต้องการเพื่อน ๆ เช่นกัน ดังนั้นพฤติกรรมบางอย่างอาจแสดงออกมาเฉพาะตอนอยู่ที่โรงเรียน เพราะเขาอาจจะทำเพื่อเอาใจเพื่อน ๆ หรือต้องการเข้ากลุ่มก็ได้ เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง หรือพฤติกรรมที่เป็นอันตราย ก็ควรฟังครู และช่วยกันดูแลเด็กด้วย
10. ครูมีประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กมากกว่าพ่อแม่
ประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมกับเด็ก ๆ ของครู ย่อมต้องมีมากกว่าคุณพ่อคุณแม่อยู่แล้ว ฉะนั้นครูจึงรู้ดีว่าจะใช้วิธีการใดเพื่อเข้าหาเด็ก และจัดการเด็กได้ดีที่สุด ฉะนั้นพ่อแม่ควรให้ความเคารพในการกระทำของครูด้วย ถ้ามีเรื่องข้องใจ สงสัย ก็ถามครูตรง ๆ ไปเลย
ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกๆ ของเราเป็นเด็กที่มีอีคิวดี ไอคิวเลิศแล้วละก็ คุณพ่อคุณแม่ต้องบอกเรื่องราวข้อมูลของลูกเพื่อให้ทางโรงเรียนได้รับรู้ และรับมือกับการอบรมสั่งสอนลูกของเราอย่างถูกต้องเหมาะสม ในทางกลับกันคุณพ่อคุณแม่เองก็ควรเปิดใจรับฟังในสิ่งที่คุณครูพยายามจะด้วยนะคะ
เพราะสถาบันหลักในการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูเด็ก ก็หนีไม่พ้น “ครอบครัว” เพียงแค่เสียสละเวลามาดูแลลูกของคุณสักนิดก็ยังดี ก่อนที่ปัญหาเรื่องเล็ก ๆ จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ค่ะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก Amarin Baby & Kids ^^
ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.kapook.com , mothercorner.com