จากกรณีเหตุทำร้ายร่างกายและจิตใจเด็กชั้นอนุบาลในโรงเรียนเอกชนชื่อดัง ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับพ่อแม่ทั่วประเทศ ทำให้หลายบ้านที่กำลัง เลือกโรงเรียนให้ลูก หันกลับมาทบทวนกันใหม่ว่า “โรงเรียนดัง โรงเรียนแพง ดีจริงหรือไม่” ทีมแม่abk ขอนำเสนอคำแนะนำจากคุณหมอในการเลือกโรงเรียนอย่างเหมาะสม และสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันในระดับหนึ่งว่า เมื่อลูกไปโรงเรียนแล้วจะไม่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายซ้ำรอยอีก
“เด็กคือผ้าหลากสี เกิดมาต่างกัน และไม่มีความจำเป็นต้องเหมือนกัน” การ เลือกโรงเรียนให้ลูก สมัยนี้จึงไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป นี่ทำให้พ่อแม่รู้สึกกังวลมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะโรงเรียนที่ดีคือพื้นฐานที่ดีของลูกในอนาคต แต่ “โรงเรียนที่ดี” ควรเป็นอย่างไร และมีหลักพิจารณาอย่างไรกันแน่
ทุกวันนี้มีโรงเรียนหลายหลักสูตร หลากสไตล์ให้คุณพ่อคุณแม่เลือกสรรมากมาย ทั้งโรงเรียนรัฐชื่อดัง โรงเรียนเอกชนหลักสูตรสองภาษา บวกกับข้อมูลทางวิชาการสารพัดจากสื่อต่างๆที่ยื่นเงื่อนไขของการเป็น “พ่อแม่ที่ดี” และ “เลี้ยงลูกให้ดี” ส่งผลให้พ่อแม่หลายคนเกิดความสับสน ไม่รู้จะเริ่มต้น เลือกโรงเรียนให้ลูก อย่างไรดี โดยเฉพาะวัยอนุบาล ที่ลูกจะไปโรงเรียนครั้งแรก
หมอเด็กอยากบอก เลือกโรงเรียนให้ลูก ต้องเน้นมองจาก “ตัวลูก” ก่อนเลือก “โรงเรียนเด่น”
นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติและการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล อดีตหัวหน้าคลินิกวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติราชินี ได้ให้สัมภาษณ์กับทางเว็บไซต์ Amarin Baby And Kids ถึงแนวทางการ เลือกโรงเรียนให้ลูก ที่เหมาะสมไว้ว่า
“หัวใจสำคัญของการพาลูกไปโรงเรียน หรือเลือกโรงเรียน ให้หันกลับมาดูที่ “ตัวลูก” เป็นหลัก และควรพิจารณาลูกเป็นคนๆไป เพราะถ้าบ้านไหนมีลูกมากกว่าหนึ่งคน ก็ไม่ได้หมายความพี่น้องจะมีนิสัยเหมือนกัน ชอบหรือไม่ชอบอย่างเดียวกัน พี่น้องฝาแฝดก็ยังไม่เหมือนกัน เด็กแต่ละคนมีความเฉพาะที่พ่อแม่ต้องคอยสังเกตและใช้เป็นหลักในการเลี้ยงลูก รวมถึงวิธี เลือกโรงเรียนให้ลูก ”
การ เลือกโรงเรียนให้ลูก ให้สอดคล้องกับพัฒนาและจิตวิทยาเด็ก ซึ่งเป็นรากฐานที่ดีต่อการเรียนรู้ในอนาคต และไม่เป็นการขัดขวางการพัฒนาด้านต่างๆของเด็ก ควรเริ่มตั้งแต่ชั้นก่อนปฐมวัย หรือเนสเซอรี่ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ตัวเด็ก กับ โรงเรียน นพ.สุริยเดลได้ให้หลักคิดที่แบ่งย่อยออกเป็น 10 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. ลูกอายุ 3 ขวบหรือยัง
วัยที่เหมาะกับการไปโรงเรียนคือ 3 ขวบ แต่ถ้าลูกยังอายุน้อยกว่านั้น หัวใจสำคัญของเขาคือพ่อแม่ แม้ลูกจะท่องก.ไก่-ฮ.นกฮูกได้ A-Z ได้คล่องแคล่ว พูดเก่ง ร่าเริงแจ่มใส แต่ธรรมชาติของเด็กวัยนี้มักกลัวการพลัดพรากจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือคนที่เลี้ยงมาตั้งแต่ยังเล็ก
จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นภาพเด็กวัยก่อนสามขวบร้องไห้อยู่เป็นเทอม เมื่อไปโรงเรียน เพราะเด็กไม่เข้าใจเหตุผลของการไปโรงเรียน เขาแค่รู้สึกไม่ปลอดภัย และเกิดความสงสัยว่าทำไมพ่อแม่ต้องเอาเขามาทิ้งกับคนแปลกหน้า เกิดคำถามว่าพ่อแม่ยังรักเขาไหม สิ่งเหล่านี้อาจสะท้อนผ่านพฤติกรรมต่อต้านต่างๆ เช่น ดื้อจัด กรี๊ดร้องเสียงดัง ร้องดิ้น ทำร้ายพ่อแม่หรือตัวเอง เพียงเพราะต้องการพิสูจน์ว่าพ่อแม่ยังรัก ยังสนใจลูกอยู่หรือไม่
ฉะนั้น ขอให้พ่อแม่ปักธงไว้ในใจเลยว่า เด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบยังไม่พร้อมจะไปโรงเรียน แต่สำหรับบ้านไหนที่มีความจำเป็นต้องกลับไปทำงานและให้ลูกไปโรงเรียนก่อนวัยจริงๆ คงต้องพิจารณาจากหลักอื่นร่วมด้วย
2.ลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่าย หรือดูแลเป็นพิเศษ
“สังคมไทยมักบอกว่าเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวที่ผู้จะใหญ่แต่งแต้มสีอะไร เขาก็จะเป็นแบบนั้น หมอเองก็เชื่อว่าเด็กทุกคนมีจิตใจบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว แต่เด็กคือผ้ามีสีพื้นต่างกัน บางคนเป็นสีชมพู สีฟ้า สีเหลืองต่างเฉดไป ถึงจะวาดลายเดียวกัน แต่บนสีพื้นต่างกัน ลวดลายก็ไม่มีทางเหมือนกัน นี่คือธรรมชาติของเด็กที่พ่อแม่ปรับความเข้าใจสิ่งนี้ก่อน” อ.สุริยเดลเสริม
การสังเกตพื้นฐานอารมณ์ของลูกมีส่วนสำคัญที่บอกได้ว่า ลูกพร้อมไปโรงเรียนหรือยังไง และควร เลือกโรงเรียนให้ลูก แบบไหนดี ถ้าลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่าย ปรับตัวง่าย แม้เขาอาจกลัวการพรากจากพ่อแม่และร้องไห้บางช่วงแรๆ แต่ไม่นานก็ปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ได้ การพาลูกไปโรงเรียนจึงไม่ใช่เรื่องยาก
สำหรับบ้านที่มีพี่น้อง พ่อแม่ไม่ควรใช้เกณฑ์เดียวกันในการกำหนดวัยที่ลูกไปโรงเรียน ถ้าคนพี่เข้าเรียนตอนสองขวบได้ ไม่ได้หมายความว่าคนน้องจะทำแบบเดียวกัน หากคนน้องเป็นอารมณ์อ่อนไหวง่าย เวลาเปลี่ยนที่หรือเจอคนแปลกหน้าจะงอแงมาก ในทางกลับกันลูกอาจเป็นเด็กพลังเยอะ มีความคล่องแคล่วว่องไว นั่งเฉยไม่ได้ ถ้าเลือกโรงเรียนที่ต้องนั่งเรียน ก็อาจได้รับข้อมูลว่า “ลูกสมาธิสั้น” ทั้งที่ความจริงคือ พื้นฐานอารมณ์ของลูกกับแนวการสอนของโรงเรียนไม่เหมาะกัน เป็นต้น
อ่านต่อ ลูกต้องเก่งแค่ไหนก่อนไปโรงเรียน หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่