AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ภาวะปกติ VS ไม่ปกติของ สะดือเด็กแรกเกิด

เวลาอาบนํ้า จะให้นํ้าเข้าสะดือได้หรือไม่?

สายสะดือเป็นส่วนที่ติดต่อระหว่างตัวเด็กกับรกของแม่ หลังคลอดแพทย์จะผูกและตัดสายสะดือให้ทารกแรกเกิดทุกคน สายสะดือซึ่งเหลือเพียงขั้วนี้จะแห้งและหลุดไปภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ต้องดูแลโดยทำความสะอาดรอบๆ สะดือเด็กแรกเกิด ทุกวันจนกว่าสายสะดือจะแห้งและหลุดไป หากทำความสะอาดไม่ดีก็อาจติดเชื้อจากปัสสาวะหรือสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น แป้งฝุ่นหรือยาบางอย่างที่ใช้โรยหรือทาสะดือ ทำให้บวมแดง แฉะ มีหนอง

เวลาอาบนํ้า จะให้นํ้าเข้าสะดือได้หรือไม่?

ข้อนี้เป็นคำถามที่คุณแม่เป็นกังวลกันมาก กลัวสะดือลูกถูกน้้ำ แล้วสะดือจะเน่า คำตอบคือ ได้ค่ะ และเมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วควรใช้สำลีเช็ดให้แห้งด้วยแอลกอฮอล์ 70% โดยเช็ดทั้งขั้วสะดือและปลายสะดือ ส่วนใหญ่คุณแม่มักจะกลัวไม่กล้าแตะต้อง กลัวลูกจะเจ็บ แต่การเช็ดสะดือลูกน้อย ไม่ได้ทำให้ลูกเจ็บหรือปวดท้องแต่อย่างใด ตรงกันข้ามถ้าหมักหมมเอาไว้กลับอาจจะทำให้เกิดอักเสบขึ้นได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีทำความสะอาดสะดือเด็กแรกเกิด

ในทารกแรกเกิด การติดเชื้อที่สายสะดือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดภาวะเลือดเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสะดือทารกแรกเกิดให้ถูกวิธี ดังนี้

บทความแนะนำ  6 ข้อ ห้ามทำกับสะดือทารกแรกเกิด

อ่านต่อ ภาวะที่มักเกิดกับสะดือของ ทารกแรกเกิด คลิกหน้า 2

ภาวะที่มักเกิดกับสะดือของ ทารกแรกเกิด

เด็กบางคนเมื่อสะดือหลุดและแห้งไประยะหนึ่งแล้ว กลับแฉะขึ้นมาอีก และเมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมาระยะเวลาที่สะดือเด็กจะแห้งก็มี เด็กบางคนจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ ซึ่งไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร  ใช้แอลกอฮอล์เช็ดบ่อยๆ ก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ

การที่สะดือแห้งช้าหลังจากที่สะดือหลุดแล้ว ไม่ได้หมายความว่า เป็นเพราะคุณแม่รักษาความสะอาดไม่พอ ถึงจะรักษาความสะอาดอยู่เสมอ สะดือก็อาจมีก้อนเนื้อและแห้งช้าได้ แต่คุณแม่ควรระวังอย่าให้แป้งฝุ่นเข้าสะดือเวลาทาตัวให้เด็ก เพราะจะทำให้เกิดก้อนเนื้อนี้ได้ง่ายขึ้น

การรักษาก้อนเนื้อในสะดือนี้ ควรทิ้งให้หายไปเองตามธรรมชาติจะดีที่สุด เพราะถ้าไปหาหมอ หมอก็จะรักษาให้ตามประเพณีปฏิบัติ คือ ใช้น้ำยาซิลเวอร์ไนเตรท จี้ ซึ่งถึงไม่ทำอย่างนี้ ก้อนเนื้อนั้นก็จะหายไปเองได้ และยิ่งกว่านั้น อันตรายที่จะเกิดขึ้นก็คือ คุณต้องพาเด็กอ่อนอายุไม่ถึงครึ่งเดือนไปหาหมอทุกวันเพื่อทำการรักษาโดยไม่จำเป็น และระหว่างที่นั่งคอยในห้องคอยคนไข้ซึ่งมีเชื้อโรคสารพัดชนิดอยู่ ลูกของคุณอาจได้รับเชื้อโรคชนิดหนึ่งชนิดใดได้

เด็กบางรายอาจมีเลือดไหลซึมออกจากสะดือในระยะแรกหลังคลอด อาจเกิดจากผูกสายสะดือไม่แน่น ต้องเช็คดูว่าผูกสายสะดือแน่นพอหรือไม่ ควรไปพบแพทย์เพื่อผูกใหม่ให้แน่น

อาการเลือดออกผิดปกติอาจเกิดจากการขาดวิตามินเคชั่วคราวอย่างรุนแรง อาการเลือดออกผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังพบว่า มีเลือดออกจากสายสะดือ จมูก ผิวหนัง และอวัยวะภายในบางอย่าง พบได้ในเด็กแรกเกิดอายุ 2-3 วันแรก บางรายอาจเร็วคือ เมื่ออายุ 1 วัน หรือบางรายอาจจะช้าถึงอายุ 14 วัน หากสงสัยว่ามีเลือดออกผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ ภาวะที่มักเกิดกับสะดือของ ทารกแรกเกิด คลิกหน้า 3

เครดิตภาพ : http://elearning.sumdu.edu.ua/

หากสะดือลูกน้อยมีอาการเช่นนี้ แสดงว่ามีการอักเสบที่สะดือ ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะในเด็กแรกเกิดจะพบว่าสะดือเป็นทาง ที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายทางหนึ่ง และเนื่องจากเด็กเล็กๆ ไม่มีความต้านทานต่อเชื้อโรค ดังนั้นเชื้อจึงมักจะเข้าสู่เส้นเลือดและไปอักเสบตามอวัยวะต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

การที่เด็กมีสะดือโป่งออกมา โดยเฉพาะในเวลาร้องไห้หรือเบ่งอุจจาระจะโตมากขึ้น แลตึง จนเป็นที่หวาดเสียวแก่คุณพ่อคุณแม่คุณย่าคุณยายว่าจะแตกออกมาเหมือนลูกโป่ง ทั้งนี้ เป็นเพราะในช่วงเวลานั้นเป็นจังหวะที่มีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อหน้าท้องบริเวณนั้น ส่วนใหญ่อาการดังกล่าวจะหายไปเองเมื่อเด็กโตขึ้น (มักหายไปภายใน 2 ปี) โดยไม่ต้องทำอะไร

นอกจากในรายที่รูเปิดกว้างมาก ซี่งอาจจะไม่ปิดเองก็อาจพิจารณาทำผ่าตัดได้ในภายหลัง การที่สะดือจุ่นแล้วแตกออกมานั้นยังไม่เคยมีปรากฏ  การใช้แถบพลาสเตอร์หรือเอาสตางค์แดง หรือเหรียญบาทกดรัดไว้ไม่เป็นการช่วยแต่อย่างใด แต่จะกลับทำให้ผิวหนังบริเวณ นั้นชื้นแฉะและอักเสบได้ง่าย

การดูแลทำความสะอาดสะดือลูกน้อยแรกเกิดนับว่าเป็นภารกิจสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ต้องทำอย่างถูกวิธี เพื่อให้สะดือของเด็กแห้งและหลุดไปตามธรรมชาติ โดยไม่เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ บางภาวะที่เกิดกับสะดือลูกน้อยถือเป็นเรื่องปกติ แต่บางภาวะก็อาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็ก จึงควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็วค่ะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

วิธีทำความสะอาดลูกน้อย ตั้งแต่หัวจรดเท้า (มีคลิป)

ทำความสะอาดอวัยวะเพศของ “ลูกสาว”

ทำความสะอาดอวัยวะเพศของ “ลูกชาย”


ขอบคุณข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน, childanddevelopment.com, healthcarethai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids