5. ฝึกทักษะการสื่อสาร
ทั้งในเรื่องของ ภาษา การฟัง และความเข้าใจในการสื่อสาร พ่อแม่ต้องสอนให้เด็กรู้จักบอกความต้องการของตัวเองได้เพราะถ้าอยู่บ้านก็คงไม่จำเป็น แต่ที่โรงเรียนคงไม่ใช่อย่างนั้น โดยเริ่มต้นฝึกง่ายๆ ด้วยการให้ลูกสามารถพูดได้ว่า ต้องการหรือไม่ต้องการอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร เช่น ถ้ามีเพื่อนมาแย่งของเล่นของลูกแล้ว ลูกจะต้องพูดโต้ตอบเพื่อนอย่างไร
ต้องลองเริ่มฝึก ถ้าลูกสามารถบอกความต้องการของตนเองกับคนอื่นๆ ได้แล้ว เขาก็สามารถปรับตัวให้เข้าสถานที่ใหม่ ๆ อย่างโรงเรียนได้เร็วยิ่งขึ้น และยังลดพฤติกรรมก้าวร้าวต่างๆ ลงได้อีกด้วย เพราะไม่รู้จักเทคนิคการสื่อสาร เช่น เวลาที่เห็นเพื่อนเล่นของเล่น แทนที่จะพูดขอเล่นด้วยดีๆ กลับเข้าไปแย่งจากเพื่อนเอาดื้อๆ เลย ถ้ามีพฤติกรรมอย่างนี้บ่อยๆ วุ่นวายไม่จบไม่สิ้นแน่นอนค่ะ
6. ไม่เป็นเด็กเอาแต่ใจ
นิสัยเอาแต่ใจอาจใช้ได้แค่ในบ้าน แต่หากลูกต้องเข้าโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยฝึกสอน เรื่องการลดความเอาแต่ใจของลเจ้าตัวเล็กให้ได้ ซึ่งในเด็กเล็กอาจค่อนข้างทำได้ยาก คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นและให้โอกาสลูกมาก ๆ ต้องปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มง่ายๆ เช่น ปู่ย่าตายายที่มักโอ๋เด็ก คิดว่าหลานยังเล็ก ไม่เป็นไรปล่อยไปก่อน เดี๋ยวเข้าโรงเรียนแล้วค่อยมาฝึก ซึ่งการทำแบบนี้จะยิ่งทำให้นิสัยเอาแต่ใจติดเป็นความเคยชิน เมื่อโตขึ้นก็จะแก้ไขยากมากๆ ดังนั้นการเลี้ยงเด็กต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งบ้านจึงจะถูกต้องค่ะ
-----> บทความแนะนำน่าอ่าน : ให้ใครเลี้ยงลูกดี? พี่เลี้ยงหรือปู่ย่าตายาย
7. รู้จักมีความรับผิดชอบ
ก่อนเข้าโรงเรียนคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องสอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบหน้าที่บางอย่างในบ้าน เช่น ช่วยรดน้ำต้นไม้ ช่วยหยิบไม้หนีบผ้าตอนที่แม่ตากผ้า ช่วยถูพื้นเล็กๆ น้อยๆ ฯลฯ และหากคุณพ่อคุณแม่ทำงานอะไร ก็สามารถมอบหมายหน้าที่เล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกน้อยช่วยได้ เพราะเด็กแทบทุกคนอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมของพ่อแม่อยู่แล้ว แม้ในระยะเริ่มต้นที่ให้เด็กลองทำอาจจะทำให้งานได้ช้าหรือเสี่ยงสกปรก เสียเวลาไปบ้าง แต่ก็คุ้มค่าที่จะฝึกนิสัยความรับผิดชอบ เพราะเมื่ลูกโตขึ้นก็จะสามารถรับผิดชอบหน้าที่ช่วยตัวเองและช่วยครอบครัวได้
-----> บทความแนะนำน่าอ่าน : ชีวิตลูกต้อง (ฝึกให้) ลูกรับผิดชอบเองได้
ชวนเช็คลิสต์ เตรียมความพร้อมก่อนเปิดเทอม
ก่อนจะพาลูกเข้าโรงเรียน บางครอบครัวอาจเตรียมตัวล่วงหน้านานหลายเดือน (หรือเป็นปีก็มี!) เอาเป็นว่า พกเช็คลิสต์นี้ไว้ เตรียมไว้ก่อนไม่เสียหายนะคะ
√ สำรวจโรงเรียนให้ทั่ว ทั้งห้องเรียน ห้องน้ำ โรงอาหาร สนามเด็กเล่น เพื่อดูความปลอดภัย
√ ฝึกลูกตื่นนอนให้เป็นเวลา
√ สอนลูกเรื่องการเข้าห้องนํ้าสาธารณะ ขับถ่ายให้เป็นเวลา
√ สอนลูกให้รู้จักพูดคำสุภาพ ทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ โดยอาจจะเล่นบทบาทสมมุติกันบ่อยๆ
√ สอนลูกให้รู้จักป้องกันโรคโดยปิดปากทุกครั้งเมื่อไอหรือจาม ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
√ สอนเรื่องความปลอดภัย เช่น ไม่ตามคนแปลกหน้า ระวังรถราแถวโรงเรียน
√ ฝึกลูกให้ดูทีวีเป็นเวลา
√ สอนสัญญาณบอกลาเมื่อไปส่งตอนเช้า เช่น การกอด หอมแก้ม เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณต้องไปแล้ว
√ หาวิธีจัดการกับของที่ลูกติดมากๆ และอยากนำไปโรงเรียนด้วย อาจใช้วิธีถ่ายรูปให้ลูกพกติดตัวไป หรืออนุญาตเฉพาะของเล็กๆ
√ เลือกซื้อของอย่างชาญฉลาด โดยซื้อเพียงแค่ที่จำเป็นก่อน เช่น กล่องข้าว ปากกา สมุด ที่เหลือไว้ทีหลังก็ได้ (จะได้รอซื้อตอนลดราคาได้ด้วย) ทั้งนี้อ่านระเบียบของโรงเรียนให้ละเอียด เพราะอาจมีบางอย่างที่โรงเรียนไม่อนุญาตให้นำไปด้วย
√ สอนลูกจัดกระเป๋า เช่น ใส่ของหนักไว้ตรงกลาง ไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง สะพายด้วยไหล่ทั้งสองข้าง
√ ติดชื่อลูกที่ของทุกอย่าง
√จดรายชื่อให้คุณครูรู้ว่าผู้ที่จะมารับลูกได้มีใครบ้าง
√ โน้ตวันสำคัญที่ต้องไปโรงเรียน เตรียมตัวไว้ล่วงหน้า
√ เตรียมพื้นที่ที่สงบให้ลูกได้ทำการบ้าน
√ เตรียมของว่างมีประโยชน์ติดตู้เอาไว้ เช่น นม โยเกิร์ต ผลไม้
จริง ๆ แล้วการเตรียมความพร้อมเรื่องต่าง ๆ ให้ลูกไม่ใช่ว่าจะมาเตรียมกันตอนก่อนเข้าโรงเรียนเท่านั้น เพราะพัฒนาการของลูกไม่ใช่สิ่งที่จะมาเนรมิตได้ภายในข้ามคืน คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมมาตั้งแต่ขวบปีแรก เรียกว่าในช่วง 3 ขวบปีแรกก่อนที่จะเข้าเรียน ซึ่งในส่วนคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกยังไม่ถึงวัยเข้าโรงเรียน ก็ค่อยๆ เตรียมพัฒนาการของลูกเรื่องต่าง ๆ ไปตามวัย เมื่อถึงเวลาจะได้ไม่ต้องมาเร่งลูกหรือกังวลว่าลูกจะไม่พร้อม
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ติวลูกเข้า ป.1 มันควรแล้วหรือ?
- ควรเลือกโรงเรียนอนุบาลที่วันๆ เอาแต่เล่นกับเด็ก ทำไม?
- 365 วัน เตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนเข้าอนุบาล
- ควรรู้! 20 เรื่องสำคัญ ที่พ่อแม่ต้องบอกครู และคุณครูอยากบอกกับพ่อแม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : women.sanook.com