พ้นรัศมีสายตาของคุณไปเพียงลับมุมห้องก็ย่อมมีบ้างที่ลูกน้อยสะดุดล้ม ก้มหน้า ก้มหลัง โดยไม่มีเสียงร้องอะไร และเมื่อไม่มีเสียง แม่ย่อมรู้ดีด้วยสัญชาตญาณว่าลูกปลอดภัย
ลูกตั้งแต่วัยราว 1 ขวบขึ้นไปจะเรียนรู้จากท่าทีของคุณ ว่าเขาควรแสดงปฏิกิริยาอย่างไรต่อสถานการณ์ต่างๆ ดร.รอสส์ ทอมป์สัน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยากล่าว โดยเฉพาะสีหน้าของคุณพ่อคุณแม่นั่นละที่สำคัญ พ่อแม่บางคนรู้เทคนิคนี้ รู้ว่าถ้าหากเราทำยิ้มแย้มเป็นปกติหรือทำไม่รู้ไม่ชี้ ลูกก็จะอยู่ในอารมณ์เดียวกัน เว้นเสียแต่ว่าเขารู้สึกเจ็บหรือกลัวจริงๆ หากเป็นกรณีดังกล่าว ให้ปัดเป่าหรือเยียวยาอาการบาดเจ็บอย่างเหมาะสมด้วยอากัปกิริยาที่สงบนิ่งที่สุด
เมื่อโตขึ้นอีกนิด เจ้าตัวเล็กของคุณจะเริ่มเรียนรู้ว่า เขาเลือกวิธีการแสดงออกเพื่อเรียกความสนใจหรือความเห็นอกเห็นใจจากคุณได้ เช่น ด้วยการทำเหมือนเจ็บเกินเหตุ ซึ่งคุณอาจเข้าหาลูกได้ทั้งแบบเก๊กท่าขรึม (ไหนดูซิ ไม่นี่…ลูกไม่ได้เป็นอะไรเสียหน่อย) หรือแบบแอบแซวให้เขินเล่น (จริงเหรอออ…ไหนดูหน่อยนะ…ยายหนูนักร้อง (ไห้)ของแม่) ลูกจะมีอาการตกใจมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาของคุณค่ะ
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง