มารู้จักกันสักนิด วัยเตาะแตะมี พัฒนาการภาษา และการสื่อสารเพียงใด จะได้รู้ว่าควรส่งเสริมทักษะภาษาและการสื่อสารอย่างไรจึงเหมาะกับวัย
พัฒนาการภาษาและการสื่อสารลูกน้อยวัยเตาะแตะ ถือเป็นวัยเริ่มต้นการอ่าน เพราะแม้เขาจะอ่านไม่ได้ และยังพูดไม่เก่ง สื่อสารได้เป็นคำๆ แต่เขาสามารถจดจำใบหน้า และเสียงของคุณแม่ได้อย่างรวดเร็ว นี่คือโอกาสทองของการสร้างความผูกพันกับหนังสือและการอ่าน เพราะเมื่อไหร่ที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกน้อยวัยนี้ฟัง เขาจะเริ่มเข้ามาใกล้ชิด และนั่งฟังอย่างถูกมนต์สะกดทีเดียว มีเทคนิคการอ่านหลากหลายให้คุณนำไปปรับใช้กับเจ้าตัวเล็ก
วัยเตาะแตะ มี พัฒนาการภาษา และการสื่อสารอย่างไร
พัฒนาการภาษา เด็ก 1-2 ขวบ
- บอกจำนวนได้
- รู้คำศัพท์ราว 300-500 คำ
- จำหนังสือเล่มโปรดจากปกได้
- ทำท่าเหมือนอ่านหนังสือเป็น
- รู้ว่าถือหนังสืออย่าไร
- ชี้หรือบอกชื่อสิ่งของที่รู้จักจากภาพในหนังสือได้
- ชอบฟังเรื่องหลากหลาย
- เข้าใจประโยค
- สามารถพูดประโยคยาว 4-5 คำได้
พัฒนาการทางภาษา เด็ก 3 ขวบ
- บอกชื่อสีต่างๆ ได้ถูกต้อง
- พอเข้าใจเรื่องการนับจำนวนและอาจนับได้นิดหน่อย
- เข้าใจคำสั่งง่ายๆ
- จดจำเรื่องที่ฟังได้พอสมควร
- สามารถพูดประโยคยาว 5-6 คำได้
อ่านต่อ>> 10 เทคนิคส่งเสริมทักษะภาษาให้เหมาะกับวัย คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
10 เทคนิคส่งเสริมการอ่านให้เหมาะกับวัย
จากพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารของเด็กที่กล่าวไปข้างต้น หากคุณพ่อคุณแม่จะส่งเสริมให้ลูกน้อยวัยเตาะแตะสนใจการอ่าน ก็ทำได้ไม่ยากเลย ดังนี้
- ให้ลูกเลือกหรือชี้หนังสือที่เขาอยากอ่านเอง เพราะเขาจำเรื่องได้จากภาพปก
- นิทานสนุก ดึงดูดใจ มีลูกเล่นต่างๆ เรียกร้องความสนใจให้กับเด็กๆ ได้ ไม่ว่าจะนิทานสัมผัสได้ นิทานมีเสียงเช่นเสียงร้องของสัตว์ หรือ เสียงธรรมชาติ นิทานฟองน้ำ (เอาไว้อ่านตอนอาบน้ำ) หรือ นิทานมีกลิ่น โดยพยายามเลือกให้หลากหลายเข้าไว้ แล้วสลับกันอ่าน ทั้งหนังสือผ้า หนังสือป๊อป-อัพ หรือ หนังสือปกแข็ง ส่วนภาพต้องสีสันสดใส เขย่าแล้วมีเสียง หรือกดปุ่มต่าง ๆ
- น้ำเสียงที่เล่า เร้าใจหน่อย ไม่ถึงกับต้องตื่นเต้นใส่เอฟเฟคทุกบรรทัด แต่ควรมีจังหวะจะโคน มีระดับเสียงสูงต่ำบ้าง ขณะเล่าออกเสียงให้ดังฟังชัดด้วย
- ออกท่าออกทางบ้าง ช่วยให้ตัวละครในเรื่องที่เล่ามีชีวิต หรือจะมีพร็อพประกอบด้วยก็ยิ่งสนุก
- ตั้งคำถามง่าย ๆ เมื่ออ่านจนลูกพอจะจำจำเรื่องได้แล้ว คุณอาจตั้งคำถามง่ายๆ จากในภาพหรือนิทานที่กำลังอ่าน เช่น “วัวอยู่ไหน” หรือ “วัวร้องยังไง” ฯลฯ ชี้ภาพคน สัตว์ สิ่งของ และถามเขาสิ่งนั้นคืออะไร หรือแม่แต่ตัวอักษรบางตัว ลูกน้อยก็อาจจำได้ด้วย
อ่านต่อ>> เทคนิคส่งเสริมทักษะภาษาให้เหมาะกับวัย คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
- พาลูกนั่งตักและให้ลูกช่วยถือหนังสือ ขณะอ่านก็ให้ลูกพลิกหน้าหนังสือเอง จะถูกใจเตาะแตะมาก
- อย่าได้ปฏิเสธ ลูกอาจขอให้เล่านิทานเรื่องโปรดซ้ำๆๆ พร้อมทั้งความสามารถในการฟังเรื่องได้ยาวขึ้นตามวัย (คุณพ่อคุณแม่ควรฟิตร่างกายให้ดี เพราะมีเหนื่อยแน่)
- การจัดวางให้เด็กน้อยหยิบจับหนังสือได้ง่าย เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความคุ้นเคยกับการอ่านที่ไม่ควรพลาด เพราะจะช่วยเพิ่มความอยากอ่านให้วัยเตาะแตะยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่จัดหาที่ใส่ เช่น กล่องหรือลังกระดาษที่แข็งแรง หรือตะกร้าใส่เสื้อผ้า ที่เหมาะวางหนังสือแนวตั้งได้ เพื่อให้เลือกหยิบเล่มโปรดได้ง่าย
- สลับสับเปลี่ยนหนังสือ จากกล่องไปไว้ตะกร้า จากมุมข้างที่นอน มาใส่กล่อง เพื่อให้เด็กน้อยรู้สึกเหมือนได้เห็นหนังสือใหม่เรื่อยๆ (แค่แม่ใช้เทคนิคเล็กน้อย) และอาจเพิ่มหนังสือเล่มใหม่จริงๆ บ้างก็ดีนะ
- หยิบอ่าน หรือย้ายที่ได้ตามใจ เมื่อใดที่ลูกหยิบหรือจับหนังสือก็ปล่อยเขาทำได้อย่างอิสระ เป็นสัญญาณให้ลูกรู้ว่า บ้านนี้จะอ่านหรือเล่นหนังสือตอนไหนก็ได้ หรือจะขอให้เขาช่วยคุณหาที่เหมาะๆ เปลี่ยนที่วางตะกร้าหนังสือ เพื่อสร้างบรรยากาศใหม่ก็เข้าท่าดีเหมือนกัน
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids
บทความน่าสนใจอื่นๆ
อ่านแบบโฟนิกส์ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับเด็กยุคนี้!
“ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน” ความในใจของลูก ที่อยากให้พ่อแม่อ่าน!
อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุกคืน ดีอย่างไร? และทำได้อย่างไร?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่