ฟันชุดแรกที่เรียกว่าฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งถ้าดูแลฟันน้ำนมลูกให้ดีก็จะส่งผลถึงฟันชุดที่สอง นั่นคือฟันแท้ ที่จะเริ่มขึ้นหลังจากฟันน้ำนมหลุดตอนลูกอายุได้ 6-7 ปีเป็นต้นไป แต่ระหว่างนี้ถ้าดูแลฟันไม่ดี อาจเกิดผุขึ้นได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบที่พ่อแม่ถามกันเข้ามามากว่า ลูกฟันผุ ทำยังไงดี จะแก้ไขด้วยวิธีใดได้บ้าง?
ลูกฟันผุ ทำยังไงดี ?
เพิ่งพาลูกชายอายุ 3 ขวบไปหาหมอฟันมาค่ะ มีฟันผุ 2 ซี่แล้ว ควรจัดหรือระวังอาหารอะไรที่จะทำให้ลูกมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงคะ
ฟันผุเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในปากย่อยน้ำตาล (กลูโคสฟรักโทส ซูโครส) ที่เกาะติดกับเนื้อฟัน ทำให้เกิดสารที่เป็นกรดทำลายเคลือบฟัน ซึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงทำให้ฟันผุ ได้แก่
- โรคพันธุกรรมบางอย่าง หรือเป็นคนที่มีเนื้อฟันบางกว่าคนอื่น
- ได้รับสารอาหารไม่ครบขณะคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคขาดสารอาหาร
- ฟันอยู่ชิดกัน มีหลุมร่องฟันลึก
- การกินนมขวด การดูดนมหลับคาปาก
- ไม่ได้แปรงฟันให้สะอาด หรือไม่ได้ใช้ไหมขัดฟัน
- การกินขนมที่เหนียวติดฟัน มีแป้งและน้ำตาล น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม
- กินอาหารจุบจิบตลอดเวลา
การแปรงฟันอย่างเดียวอาจไม่พอ คุณแม่ควรต้องดูแลเรื่องอาหารการกินให้ลูกด้วย เพราะการกินอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดการเกิดลูกฟันผุได้ค่ะ
อ่านต่อ >> อาหารที่ดีต่อสุขภาพฟันของลูกน้อย หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาหารที่ช่วยทำให้สุขภาพฟันแข็งแรง คือ
อาหาร 5 หมู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อฟัน คือแคลเซียมฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินดี วิตามินซี ฟลูออไรด์ไซลิทอล เช่น ผักใบเขียว นมถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้งปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง งาดำ ผักสีเขียว ผลไม้
การป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิภาพ คือ
- ควรปลูกฝังนิสัยการกินอาหารอย่างถูกต้องให้แก่ลูก โดยการหลีกเลี่ยงอาหารหวานไม่กินจุบจิบ ไม่กินอาหารที่เหนียวติดฟัน
- รักษาช่องปากและฟันให้สะอาดอยู่เสมอ โดยการแปรงฟัน บ้วนปาก ใช้ไหมขัดฟัน ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ หรือยาเม็ดฟลูออไรด์
และที่สำคัญมากๆ ก็คือการพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อทำความสะอาดคราบฟันเคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน
อ่านต่อ >> ลูกฟันผุ แก้ไขได้ ถ้ารีบพาไปหาหมอฟันเด็ก หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ลูกฟันผุ อย่าปล่อยไว้ ให้รีบไปรักษากับหมอฟัน
ส่วนมากแล้วหมอฟันเด็กจะมีวิธีการรักษาฟันผุในเด็กเล็ก ที่ต้องพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัยก่อนลงมือรักษาฟันที่ผุ เพราะยิ่ง ถ้าเป็นฟันแท้ หากจะถอนทิ้งคงไม่ดีแน่ เอาเป็นว่าเพื่อให้พ่อแม่เข้าใจต่อขั้นตอน ก่อนลงมือรักษาฟันผุให้กับเด็กๆ เราไปทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้กันก่อนค่ะ
- ก่อนอื่นหมอจะตรวจดูลักษณะฟันที่ผุ และอาการปวด บวม รวมทั้งโรคประจำตัว การแพ้ยา สุขภาพร่างกาย
- ดูพฤติกรรมเด็ก ว่ายอมหรือไม่ยอม (มักขึ้นอยู่กับอายุเด็ก และพื้นฐานอารมณ์เด็ก)
- ดูว่าผู้ปกครองมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งพฤติกรรมผู้ปกครองมีตั้งแต่ ปกป้องลูกมากเกินไป จนถึง ไม่สนใจลูกเลย ซึ่งวิธีการที่ทันตแพทย์จะนำมาวางแผนการรักษาย่อมแตกต่างกันไป
- ดูที่ตัวทันตแพทย์เอง หมอมีความพร้อมที่จะทำฟันให้เด็กหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ ความพร้อมของเครื่องมือ และผู้ช่วย
การให้การรักษา เมื่อทันตแพทย์พิจารณาทั้ง 4 ประการแล้ว ก็จะบอกถึงการวางแผนการรักษา ซึ่งส่วนมากทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาให้ครบทั้งปาก โดยทำเป็นส่วนๆ เช่น ฟันหลังบน / ล่าง /ซ้าย/ขวา , ฟันหน้าบน/ล่าง เป็นต้น ซึ่งผู้ปกครองมีสิทธิ์ไม่ทำตามก็ได้ ซึ่งอยู่กับการพูดของทันตแพทย์ และพื้นฐานของผู้ปกครอง[1]
อ่านต่อ >> รู้ไหมว่า อาหารเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ หน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
รู้ไหมว่า อาหารเหล่านี้เสี่ยงทำลูกฟันผุได้นะ!
คุณพ่อคุณแม่มาลองเช็กกันสักนิดค่ะว่า อาหารหลากหลายที่เราให้ลูกทานกันเป็นประจำนั้น อาจเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้ลูกเกิดฟันผุก็ได้นะคะ และนี่คืออาหารที่เสี่ยงทำลูกฟันผุได้สูงมาก ซึ่งผู้เขียนไปอ่านพบข้อมูลนี้จาก ทันตแพทย์หญิงปวีณา คุณนาเมือง ทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมสำหรับเด็ก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก[2] ที่อยากจะมาแชร์ให้ทุกคนได้ทราบกัน และจะได้จัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพฟันลูกมากกว่านี้ค่ะ
อาหารที่เสี่ยงฟันผุสูง (เรียงลำดับจากอาหารที่เสี่ยงฟันผุสูงที่สุด)
ลูกอม, ยาอมลดกลิ่นปาก, ยาน้ำแก้ไอ
แครกเกอร์
คุกกี้ เค้ก พาย
แป้งต่างๆ : ข้าว ขนมปัง พาสต้า ซีเรียลรสหวาน
มาร์ชแมลโล
ผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกเกด
Pretzel ขนมมันฝรั่งกรอบ (ขนมถุงต่างๆ)
ไอศครีม เชอร์เบท พุดดิ้ง โยเกิร์ตรสผลไม้
ผลไม้กระป๋อง
น้ำหวานต่างๆ เช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำมะตูม นมเปรี้ยว
น้ำผลไม้
ผลไม้สด โดยเฉพาะ กล้วย
ผักที่ทำให้สุก[2]
ดูจากอาหารทั้งหมดนี้พ่อแม่คนไหนที่ชอบให้ลูกทานกันบ้างคะ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองบางครั้งก็ห้ามใจไม่ให้ทานได้ใช่ไหมละคะ จริงๆ แล้วพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะอาหารเป็นตัวการหลักที่สามารถส่งผลให้เกิดฟันผุขึ้นได้ ที่ไม่ใช่แต่กับเด็กๆ เท่านั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคนก็สามารถเกิดฟันผุขึ้นได้ ต่อให้ดูแลแปรงฟันดีแค่ไหน แต่ถ้ากินอาหารไม่มีประโยชน์ น้ำตาลเยอะ ฟันผุได้แน่นอนค่ะ
เพื่อให้ทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ทุกคนมีสุขภาพเหงือกและฟันที่แข็งแรง ขอให้แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน คือ เช้าหลังตื่นนอน และอีกหนึ่งครั้งก่อนนอน แต่ถ้าในระหว่างวันทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ดูแล้วไม่น่าเป็นมิตรกับฟัน ควรแปรงหลังทานอาหารมื้อนั้น แปรงให้สะอาดอย่าให้หลงเหลือเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟันกันนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก
เตือนลูกฟันผุ พัฒนาการล่าช้า-เตี้ยแคระแกร็น
ระวัง “เป่าอาหาร” เท่ากับส่งต่อแบคทีเรีย “ ลูกฟันผุ ” ไม่รู้ตัว
บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก
[1]www.gotoknow.org/posts/158861
[2]ทันตแพทย์หญิงปวีณา คุณนาเมือง ทันตแพทย์เฉพาะทางทันตกรรมสำหรับเด็ก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. thaimilkteeth.com