ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ แก้ปัญหายังไงดี?
ข้อมูลการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย จากกองโภชนาการ กรมอนามัย ระบุว่า
ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 3,000 กรัม และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีแรก โดยมีน้ำหนักตัวเป็น 2 เท่าเมื่ออายุ 5 เดือน และ 3 เท่าเมื่ออายุ 1 ปี จากนั้นน้ำหนักจะเพิ่มเพียงปีละ 2-3 กิโลกรัม
สำหรับความยาวของเด็กแรกเกิด โดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และเมื่ออายุ 1 ปี จะเพิ่มเป็น 1.5 เท่า หรือประมาณ 75 เซนติเมตร เมื่ออายุ 4 ปี จะเพิ่มเป็น 2 เท่าหรือประมาณ 100 เซนติเมตร
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพ พัฒนาการ และสติปัญญา เด็กที่รับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่ และในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้การเจริญเติบโต และพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
เคล็ดลับปรับน้ำหนักให้ตามเกณฑ์ (สำหรับเด็ก 1-5 ขวบ)
1.รับประทานอาหารให้ครบทุกกลุ่ม ได้แก่ ข้าวหรือแป้ง ผัก ผลไม้ เนี้อสัตว์ และนม
2.มีอาหารว่างระหว่างมื้อ เช่น นมจืด ผลไม้ โดยให้อาหารว่างก่อนเวลาอาหารหลักประมาณ 2 ชั่วโมง
3.รับประทานยาน้ำ หรือยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4.ใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหารทุกครั้ง
5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
6.ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น วิ่งเล่น กระโดดเชือก ว่ายน้ำ เล่นกีฬา เต้นกิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นต้น
นอกจากนี้คุณพ่อ คุณแม่ควรติดตามเกณฑ์การเจริญเติบโตของลูกทุกๆ 3 เดือน และจดบันทึกการรับประทานอาหาร เพื่อไม่ให้ ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออ้วนจนเกินไป หากพบว่าปฏิบัติตามเคล็ดลับนี้แล้วยังไม่เป็นผล แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญใกล้บ้านเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของลูกน้อย
อ่านเนื้อหาที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์กับวิธีการตรวจขนาดของลูกว่าตัวเล็กหรือใหญ่!
ของว่างทำง่าย “มินิพิซซ่า” อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก!
เผยสูตร! ชีสสติ๊ก อาหารว่างสุดอร่อย ช่วยเพิ่มน้ำหนักลูกรัก (มีคลิป)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่