โภชนาการที่ดี เป็นรากฐานที่สำคัญต่อสุขภาพที่ดีในอนาคต โดยเฉพาะช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในท้องของแม่ไปจนถึงช่วงวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่หลายคนมีความกังวลว่าลูกจะตัวเล็ก ตัวผอมบางเกินไป ซึ่งเมื่อ ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนใหญ่มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่เราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เกิดจากอะไร?
1. ความผิดปกติแต่กำเนิด
เช่น ติดเชื้อบางชนิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ได้แก่ หัดเยอรมัน เป็นต้น เป็นโรคที่มีโครโมโซมหรือยีนที่ควบคุมด้านการเจริญเติบโตผิดปกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ดูดนมไม่ดี กลืนอาหารลำบาก
2. ขาดฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต
อาจเป็นแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง เช่น เนื้องอกที่สมอง ทำให้ขาดโกรทฮอร์โมน ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ลูกต้องมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่า 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟแสดงการเจริญเติบโต หรือมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและส่วนสูงไปจากเส้นกราฟเดิมอย่างชัดเจน ลูกอาจมีอาการผิดปกติด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ตามัว พัฒนาการถดถอยหรือช้ากว่าปกติ
3. โรคเกลียดการกิน หรืออนอเร็กเซีย (Anorexia Nervosa)
พบได้น้อยมาก มักเป็นในเด็กโต หรือวัยรุ่นผู้หญิง
4. เด็กกำพร้าตามสถานสงเคราะห์
เนื่องจากป่วยบ่อยเพราะอยู่กันแออัด ขาดความรักความอบอุ่น ไม่มีความสุขเท่าที่ควร ทำให้การเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
5. เด็กยากจน
เด็กเร่ร่อนในค่ายอพยพ ประเทศยากจน เช่น เอธิโอเปีย พ่อแม่ไม่มีเงินซื้ออาหารให้รับประทาน
อ่าน “ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เพราะนมแม่ไม่พอหรือพันธุกรรม?” คลิกหน้า 2