คาวาซากิ ประสบการณ์โรคร้ายอาการรุนแรงในเด็กเล็ก - amarinbabyandkids
โรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ ประสบการณ์โรครุนแรงในเด็กเล็ก

event
โรคคาวาซากิ
โรคคาวาซากิ

วิธีการรักษาโรคคาวาซากิ

การให้ IVIG (Intravenous Immunoglobulin)

ทำให้ไข้ลงเร็วขึ้น อาการทางผิวหนังและเยื่อบุดีขึ้น และป้องกันความผิดปกติของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ข้อเสียคือราคาแพงมาก ให้ร่วมกับยาแอสไพรินนาน 6 – 8 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น (จนกว่าผลตรวจหัวใจจะเป็นปกติ) หมอเข้าใจว่ายาที่ลูกของคุณแม่ได้รับอยู่น่าจะเป็นยาแอสไพรินค่ะ

ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด

ในกรณีที่กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำและพลังงาน ให้พักผ่อนมากๆ และงดการออกกำลังกายเพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนัก

การให้วัคซีนชนิดมีชีวิต

เช่น MMR (หัด หัดเยอรมันคางทูม) และวัคซีนสุกใส ต้องเลื่อนการฉีดออกไป 11 เดือนหลังได้รับ IVIG

ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ในเด็กอายุ 6 เดือน -18 ปีที่ต้องกินยาแอสไพรินในระยะยาว เพราะถ้าเด็กติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ อาจเสี่ยงต่อการเกิด Reye’s Syndrome (สมองบวมและตับวาย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้)

ในรายที่มีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

จำเป็นต้องได้ยากลุ่มป้องกันการจับตัวของลิ่มเลือดอย่างต่อเนื่องหากเส้นเลือดโคโรนารีตีบ อาจต้องสวนหลอดเลือดเพื่อขยายเส้นเลือด หรือผ่าตัดเชื่อมต่อเส้นเลือด หรือหากมีการขาดเลือดรุนแรงจนกล้ามเนื้อหัวใจตายอาจต้องผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ

คาวาซากิ

 

ถึงแม้โรคคาวาซากิจะยังไม่มีวัคซีนฉีดเพื่อป้องกันการเกิดโรค แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถดูแลลูกจากการเจ็บป่วยได้ด้วยการให้สิ่งแวดล้อมที่ดี ได้ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบหมู่ ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรได้รับการฉีควัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขำำหนดว่าเด็กตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไปควรฉีควัคซีนอะไรบ้างตามช่วงอายุของเด็ก เพราะนี่คือการเพิ่มภูมิคุ้มโรคให้กับร่างกายของเด็กๆ ได้ดีมากค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ระวัง 7 โรคนี้ ลูกเป็นแล้ว สามารถเป็นซ้ำได้!
ไข้เลือดออก และไวรัสซิการะบาดช่วงหน้าฝน
กลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่ ที่ควรได้รับวัคซีนทุกปี

 


ขอขอบคุณเนื้อหาจาก
แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
Puppsom Nutchariya

 

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up