คุณหมอท่านหนึ่งโพสต์เตือนภัยในกลุ่ม HerKids รวมพลคนเห่อลูก ถึงโรคติดต่อชนิดหนึ่งซึ่งเป็น โรคติดต่อทางน้ำมูกน้ำลาย จนทำให้เด็กน้อยวัย 3 ขวบเสียชีวิต นั่นคือเชื้อ “Enterovirus” ชนิดรุนแรง เรามาทำความรู้จักและหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดกับลูกของเรากันค่ะ
Enterovirus คืออะไร?
เอนเทอโรไวรัส คือ ไวรัสที่อยู่ในลำไส้ของมนุษย์ จะแสดงอาการของโรคต่างกัน สามารถแพร่กระจายติดต่อถึงกันได้โดยตรงผ่านของเหลวต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่างๆ มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่หายได้เองไปจนถึงทำให้เสียชีวิต ทำให้เกิดโรค ได้แก่ กล้ามเนื้ออัมพาตแบบเฉียบพลัน, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, สมองอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, ไข้ออกผื่น, เริม,โรคมือ เท้า และปาก, เยื่อตาอักเสบ
อ่านต่อ “Enterovirus ทำให้มีอาการอย่างไร?” คลิกหน้า 2
Enterovirus ทำให้มีอาการอย่างไร?
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 – 5 วัน สำหรับทารกอาจได้รับจากน้ำนมมารดาที่มีการติดเชื้อ จะสามารถอยู่ในทางเดินอาหาร และปนอยู่ในอุจจาระของเด็กที่ป่วยได้นานหลายสัปดาห์ ก่อนที่ไวรัสจะถูกขับออกมา
1.อาการที่พบบ่อยที่สุด น่ากังวลที่สุด เมื่อเกิดในเด็กทารก จะมีไข้ขึ้นสูง และดูป่วยหนัก ทำให้ต้องตรวจเลือด และการตรวจอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ
2.อาการที่ทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด คอหอยอักเสบ แผลร้อนใน หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดบวม และ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออก
3.อาการที่ผิวหนัง ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โรคเล็บที่ทำให้เล็บหลุดบ่อยๆ และไข้ออกผื่นแบบต่างๆ
4.อาการที่สมอง ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส สมองอักเสบ) และ อัมพาตของแขนขา
5.อาการที่ทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ
7.อาการที่ตา ได้แก่ การอักเสบของเยื่อตาและมีเลือดออกใต้เยื่อตาอย่างฉับพลัน และผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ
8.อาหารที่หัวใจ ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นอาการที่เคยพบในเด็กวัย 2 ขวบ โดยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นโดยไม่มีไข้ ไม่มีผื่น และแผลในช่องปาก แรกๆ มีอาการไอ หายใจลำบาก ซึม ต่อมาความดันเลือดสูง เหนื่อยหอบ หายใจล้มเหลวต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เม็ดเลือดขาวมีปริมาณสูง หัวใจเต้นเร็ว ไม่พบเชื้อในอุจจาระและน้ำไขสันหลัง
9.อาการที่กล้ามเนื้อ ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบ
10.ในเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดา มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นพิษ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน , ตับอักเสบ, การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และ ปอดบวม
อ่านต่อ “Enterovirus ติดต่อ และป้องกันอย่างไร?” คลิกหน้า 3
Enterovirus ติดต่ออย่างไร?
เอนเทอโรไวรัส มักจะติดต่อจากมือที่ปนเปื้อน อุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก หรือน้ำในตุ่มพอง หรือแผลของผู้ป่วย หรือเกิดจากการไอ จามรดกัน มักพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อน – ฤดูฝน (พฤษภาคม – มิถุนายน) มักเป็นกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี มักเกิดบ่อยในกลุ่มเด็ก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล และพบสูงสุดในเด็กต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และแออัด
- ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชน เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ลดการสัมผัสกับผู้คน ล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำร่วมกับคนอื่น
- ถ้าพบคนที่ติดเชื้อ และเกิดอาการรุนแรง ห้ามคนที่ติดเชื้อเข้าใกล้ทารกแรกเกิด หญิงท้องแก่ใกล้คลอด
- เมื่อทารกเกิดอาการติดเชื้อ ควรแยกทารกให้อยู่ห่างจากบุคคลอื่น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
เชื้อ Enterovirus เป็นเชื้อที่มีการติดต่อกันเป็นอย่างมากในเด็กเล็ก โดยเฉพาะ Enterovirus 71 ที่เป็นสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งพบบ่อยในเด็กเล็กๆ ตามสถานรับเลี้ยงเด็ก และแหล่งชุมชนต่างๆ คุณพ่อ คุณแม่ต้องช่วยกันป้องกัน และดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่เกิดจากเชื้อโรคนี้ค่ะ
เครดิต: เฟสบุ๊ค ติวเตอร์ ผ้า มือ สอง, วิกิพีเดีย, ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค, น.พ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข