AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ยารักษาโรคซาง ปลอดภัยดีแล้วจริงหรือ?

มีคุณแม่หลายคน เชื่อกันว่า อาการที่ลูกน้อยเป็นเด็กขี้ร้อน มักมีเหงื่อออกท่วมจนเปียก เป็นอาการของโรคซาง และคุณพ่อ คุณแม่หลายคน อาจจะซื้อ ยารักษาโรคซาง มารับประทาน แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า ยาเหล่านั้นมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด และไม่มีผลข้างเคียงกับลูก?

ยารักษาโรคซาง ไม่ปลอดภัยจริงหรือ?

คุณแม่คนหนึ่ง ได้แชร์ข้อมูลความรู้ที่ค่อนข้างน่าตกใจ เมื่อมีคุณแม่หลายท่าน โพสต์เกี่ยวกับเรื่องลูกน้อย ที่เป็นเด็กขี้ร้อน และน้องมักมีเหงื่อออก จนศีรษะเปียก เมื่อกดเข้าไปอ่านความคิดเห็นของแม่ๆ แล้วพบว่า คุณแม่บางกลุ่มแสดงความคิดเห็นว่าอาจจะเป็นซาง และบางคนให้ลูกน้อยรับประทานยาแก้ซาง เมื่อคุณแม่ค้นหาข้อมูลดู ซึ่งสังเกตจากฉลาก และบรรจุภัณฑ์แล้ว พบว่าดูไม่น่าเชื่อถือ เพราะยาทุกชนิดจะต้องมีการแจ้งเลขทะเบียนยา ซึ่งยาชนิดนี้มีเลขทะเบียนยาขึ้นต้นด้วยตัว G ซึ่งหมายถึงยาแผนโบราณ คุณแม่บางคนอาจจะไม่กังวล และป้อนยาให้ลูกน้อย ซึ่งเป็นที่น่าตกใจว่า เมื่อคุณแม่นำเลขทะเบียนยาไปหาข้อมูล กลับไม่พบ จึงสงสัยว่าอาจจะเป็นเลขทะเบียนยาปลอม และกังวลเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากยังมีขายกันตามร้านขายยา คุณแม่จึงอยากจะฝากให้คิดทบทวนให้ดี ก่อนให้ลูกน้อยรับประทานยา เพราะอาจจะทำให้เกิดผลเสียในระยะยาวแก่ลูกน้อยได้

วิธีตรวจสอบทะเบียนยาแผนโบราณ

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยจะเป็นอันตรายจากการใช้ยาแผนโบราณหรือไม่ คุณพ่อ คุณแม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/drgdrug/DSerch.asp เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย โดยการใส่ข้อมูลที่ระบุไว้บนฉลากยาได้ค่ะ

เราไปอ่านข้อเท็จจริง และทำความรู้จักกับโรคซางกันค่ะ ว่าอันตรายกับลูกน้อยมากแค่ไหน และรักษาอย่างไรถึงจะปลอดภัย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “โรคซางคืออะไร?” คลิกหน้า 2

โรคซางคืออะไร?

มีคุณแม่คนหนึ่งที่บ้านเป็นร้านขายยาในชนบท ทุกๆ วัน จะมีแม่บ้าน พ่อบ้าน มาที่ร้านประจำไม่เคยขาด เพื่อที่จะซื้อยาแก้ซางให้ลูกน้อย คุณแม่จะถามเสมอว่า เด็กกี่ขวบ? มีอาการอย่างไร? ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นเด็กอายุประมาณ 1-3 ขวบ หรือ 6 เดือนก็มี พ่อบ้าน แม่บ้านเหล่านั้น เล่าว่า เวลานอนตอนกลางคืน ลูกมีอาการเหงื่อออกตามศีรษะ และเท้า ทั้งๆ ที่อากาศเย็น และลูกน้อยไม่ค่อยรับประทาน บางคนก็พาลูกไปฉีดยา ซึ่งเป็นยาที่ไปรับฉีดตามบ้าน จนเด็กน้อยตัวอ่อนปวกเปียก

เมื่อคุณแม่แจ้งว่าเด็กไม่ได้เป็นอะไร ไม่ต้องรับประทานยา หรือฉีดยา สงสารเด็ก พ่อบ้าน แม่บ้านเหล่านั้น ก็ดื้อ จะซื้อยาท่าเดียว คุณแม่จึงอยากจะขอคำแนะนำจากคุณหมอ ว่าจะแนะนำได้อย่างไรให้พวกเขาเหล่านั้นเชื่อ ว่าแค่ให้ยาถ่ายพยาธิ และให้รับประทานวิตามิน ซึ่งพ่อแม่บางคนกลับไม่ยอมรับวิตามิน แต่จะหาซื้อยาแก้ซางอย่างเดียว

นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ได้ให้ข้อมูลว่า ซาง มีความหมายว่า โรคในเด็ก ซึ่งมาจากหลากหลายสาเหตุ  ไม่ว่าเด็กจะมีอาการอย่างไรก็จะเรียกว่า ซาง เช่น เป็นไข้ ตัวร้อน ต่อมทอนซินอักเสบ ท้องเสีย พุงโร ก้นปอด เหล่านี้เรียกว่า ซาง ทั้งหมด ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ คืออาการขาดอาหาร หรือพุงโร ก้นปอด จากการมีพยาธิในลำไส้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องฉีดยา หรือรักษาให้เจ็บตัว เพียงใช้ยาถ่ายพยาธิ ยาวิตามินต่างๆ และให้ลูกน้อยรับประทานอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ นม และไข่ หรืออาหารประเภทโปรตีนให้มากขึ้น ก็จะช่วยไม่ให้เด็กขาดสารอาหาร

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การป้องกัน และรักษาโรคซาง” คลิกหน้า 3

การป้องกัน และรักษาโรคซาง

ความจริงแล้วโรคซางไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เป็นอาการของการขาดสารอาหารของเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ให้รับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ทำให้เด็กเบื่ออาหาร รับประทานน้อย และมีรูปร่างผอม จนบางครั้งกลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้า ซึ่งวิธีการป้องกันและรักษาทำได้ ดังนี้

1.ให้ลูกน้อยรับประทานนมแม่จนครบ 6 เดือน

น้ำนมของคุณแม่ เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับลูกน้อย รวมถึงเป็นภูมิคุ้มกันชั้นดี ซึ่งพบได้ว่าเด็กที่รับประทานนมแม่จนครบ 6 เดือนจะมีร่างกายแข็งแรงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับประทาน และมีภูมิคุ้มกันสูงกว่า ดังนั้น คุณแม่ควรให้ลูกน้อยรับประทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ถ้าจะให้ดีควรต่อเนื่องไปจนถึง 2 ขวบ

2.ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริม

เมื่อลูกน้อยมีอายุครบ 6 เดือนขึ้นไป ถ้าลูกน้อยไม่ค่อยรับประทานนมแม่ หรือรับประทานได้น้อย คุณพ่อ คุณแม่ ควรฝึกให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริมตามหลักโภชนาการ โดยเน้นผัก และผลไม้ให้มากๆ เพื่อให้ลูกน้อยร่างกายแข็งแรง และมีระบบขับถ่ายที่ดี

3.ฝึกนิสัยการกินให้ลูกน้อย

คุณพ่อ คุณแม่ ควรฝึกนิสัยการกินที่ดีให้ลูกน้อย โดยให้รับประทานอาหารตามเวลา และนั่งรับประทานให้เรียบร้อย ไม่ให้ลูกน้อยเล่นระหว่างมื้ออาหาร เพราะลูกจะห่วงเล่นมากกว่า และไม่ควรให้ลูกน้อยรับประทานนม หรือขนม ก่อนรับประทานอาหารมื้อหลัก เพราะลูกน้อยจะรับประทานอาหารได้น้อยลง

เครดิต: Chanikarn Yim, หมอชาวบ้าน, สนุกดอทคอม

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ลูกเหงื่อออกเยอะมาก ผิดปกติหรือไม่?

ลูกเบบี๋มีเหงื่อมากที่ศีรษะ ผิดปกติไหม

ลูกลิ้นเป็นฝ้า รักษาด้วยผ้าอ้อมเปียกฉี่ ดีจริงหรือ?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save

Save

Save

Save

Save

Save

Save

Save

Save