AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

3 โทษของ คาร์โบไฮเดรต หากกินมากเกินไป

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จำพวกแป้ง คุณแม่ไม่ควรให้ลูกกิน เมนูต้องห้ามŽ พวกนั้นเพราะเป็นอาหารที่มีน้ำตาล เกลือ หรือผงชูรสเป็นส่วนประกอบที่สูงมาก และบางอย่างยังมีสี กาเฟอีน และสารปรุงแต่ง ซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ซนมากผิดปกติ หงุดหงิดอาละวาด ไม่ยอมนอน และฝันร้าย

1. ปัญหาด้านการนอน

ถ้าสังเกตว่าพฤติกรรมของลูกเปลี่ยนแปลงไปหลังกลับจากงานปาร์ตี้ซึ่งอุดมไปด้วยขนมเหล่านี้ หรือมีพฤติกรรมที่ยากต่อการควบคุม หรือมีปัญหาเรื่องการนอนเมื่อกินอาหารเหล่านี้เป็นประจำทุกวัน คุณแม่ลองให้เขาหยุดกินและหาของว่างที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพให้กินแทน เช่น ทำขนมเค้กโดยใช้รสหวานจากผลไม้แทนน้ำตาล ทำไอศกรีมเชอร์เบ็ทจากผลไม้ แล้วดูว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่

2. ฟันผุ

น้ำตาล เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลเดี่ยว ไม่ใช่สิ่งจำเป็นของชีวิต ไม่กินก็ไม่เป็นไร ในขณะที่ถ้ากินมากจะเป็นอันตราย เพราะเป็นสารให้พลังงานที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย คือไม่มีวิตามินหรือแร่ธาตุที่มีประโยชน์เลย และทำให้ฟันผุ เพราะเป็นแหล่งอาหารของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่อยู่ในช่องปากนอกจากนี้

3. เกิดโรคอ้วน

กระบวนการใช้พลังงานจากน้ำตาลยังต้องอาศัยการทำงานของตับอ่อน ซึ่งหากทำงานมากจนล้า ในระยะยาว อาจทำให้เป็นโรคเบาหวานและสะสมเป็นไขมันจนทำให้อ้วน
หากต้องการพลังงานควรกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้องและขนมปังโฮลวีท ซึ่งมีวิตามินและเส้นใยที่เป็นประโยชน์ คุณแม่จึงควรปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีให้ลูก และเป็นตัวอย่างที่ดี โดยไม่จัดหาเมนูต้องห้ามติดบ้านไว้ตลอดเวลา สอนให้ลูกไม่ติดของหวาน (เช่น กินนมรสจืด ไม่ใช่รสหวานหรือนมเปรี้ยว) ไม่ปรุงรสในอาหารของทารก เพราะหากลิ้นเคยชินกับรสชาติแล้ว อีกหน่อยจะกินเค็มและหวานมากขึ้นเรื่อยๆ

 

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านทารกแรกเกิด