ความดื้อความซนถือเป็นความคลาสสิคของเด็กวัยเตาะแตะทุกคน เชื่อสิว่าแม้แต่ตัวคุณเอง ตอนเด็กๆ ก็ต้องเคยสร้างวีรกรรมให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวไว้เหมือนกัน ต้องหากลเม็ดเด็ดพราย ระงับอารมณ์โกรธ กันทุกทีไป
เรื่องซนเรื่องดื้อของเด็กถือเป็นเรื่องธรรมดาก็จริง แต่ถ้าผู้ปกครองไม่เข้าใจ และลงไม้ลงมือทำร้ายลูก ย่อมไม่เป็นผลดีกับเขาแน่นอน คุณแม่ท่านหนึ่งตั้งคำถามอย่างน่าสนใจว่า “เด็กที่โดนดุและโดนตวาดบ่อยๆ เขาจะเป็นอย่างไรต่อไป”
(อ่านเพิ่มเติม เมื่อแม่ตีลูกเล็กด้วยอารมณ์จนกว่าลูกจะขอโทษ)
อ่านต่อ “4 เทคนิค ระงับความโกรธ สำหรับทั้งครอบครัว” คลิกหน้า 2
ถ้าปล่อยให้ความดื้อทำให้ทุกคนต้องอารมณ์เสียใส่กันบ่อยๆ คงไม่ดีแน่จริงไหมคะ
4 เทคนิค ระงับอารมณ์โกรธ สำหรับครอบครัว
2 เทคนิค ระงับโกรธสำหรับลูก
1. กอดลดอารมณ์ร้อน
การกอดลูกเป็นการบำบัดอารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าลูกกำลังโกรธหรือหงุดหงิดมาก และคุณพ่อคุณแม่อารมณ์สงบและพร้อม ลองสัมผัสลูกอย่างนุ่มนวล เช่น โอบไหล่ ลูบหลัง หรือจับแก้มทั้ง 2 ข้าง จะช่วยหันเหความสนใจของลูกออกจากอารมณ์โกรธ และสำหรับเด็กบางคน การกอดอย่างอ่อนโยนในขณะที่เขากำลังโกรธ เป็นเรื่องที่เขาไม่คาดคิด อาจช่วยลดอารมณ์ที่กำลังแรงของลูกน้อยได้ค่ะ (แม้ว่าการกอดหรือสัมผัส จะใช้ไม่ได้ในทุกกรณี แต่หากคุณลองสังเกตลูก และเลือกวิธีที่ช่วยให้ลูกสงบลงบ้าง ย่อมดีกว่าปล่อยลูกให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเวลาอารมณ์ไม่ดีจนกลายเป็นนิสัย)
(อ่านเพิ่มเติม แค่ “กอด” สุขภาพใจ+กาย ก็แข็งแรง)
เด็กบางคนไม่ชอบให้กอด ดังนั้นถ้าลูกปฏิเสธอ้อมกอดของคุณพ่อคุณแม่ในยามที่เขาโกรธอยู่ จึงไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ต้องการคุณ แต่เขาอาจเป็นเด็กประเภทที่สงบได้ด้วยคำปลอบโยน หรือคำพูดที่บอกให้รู้ว่าเข้าใจความรู้สึกเขาจากพ่อแม่มากกว่า และหากคุณนึกไม่ออกว่าจะพูดอะไร เพียงแค่นั่งเป็นเพื่อน ให้อยู่ในระยะสายตาของลูก รอจนกว่าเขาจะสงบ ก็เป็นวิธีที่ช่วยได้ ไม่ควรเดินหนีไปเฉยๆ
อ่านต่อ “เทคนิคระงับความโกรธของพ่อแม่” คลิกหน้า 3
2 เทคนิค ระงับโกรธสำหรับพ่อแม่
1. เข้าใจความโกรธที่เกิดขึ้น
การต้องสงบสติอารมณ์แล้วมาทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของลูกในตอนเหตุเกิดทันทีทันใดนั้นทำยากก็จริง แต่การเข้าใจพัฒนาการตามธรรมชาติของวัยลูกจะช่วยคุณพ่อคุณแม่ได้มาก เมื่อคุณหายโกรธแล้ว ควรขอความรู้จากคนที่มีลูกมาแล้ว เช่น เพื่อนบ้าน เพื่อน ญาติพี่น้อง แต่กรณีที่คุณรู้ตัวว่าต้องลงมือลงไม้ทำร้ายลูกแน่ รีบเปลี่ยนให้คนที่วางใจได้มาอยู่กับลูกสักระยะหนึ่ง เพื่อให้คุณไปใช้เวลาตั้งสติก่อนก็จะดีกว่า
(อ่านเพิ่มเติม เมื่อคุณ “โมโหลูก” และพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กใกล้บ้านได้ที่ไหนบ้าง?)
เมื่อลูกทำพฤติกรรมดีๆ ที่พ่อแม่อยากเห็น ควรรีบชมเขาทันที และเมื่อเขาทำพฤติกรรม ไม่น่ารัก ไม่น่าปลื้ม พ่อแม่ก็ไม่สนใจ ทำอย่างนี้สม่ำเสมอ สุดท้ายแล้วลูกวัยเตาะแตะจอมดื้อของคุณจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร ไม่ทำอะไร ในเวลาไหน ถ้าเขาอยากได้อะไร เขาควรบอกหรือทำอะไร และเขาอยากรู้สึกดีที่ได้ยินคำชื่นชม เขาควรทำตัวอย่างไร อ่านต่อ “ซิงเกิ้ลมัม อย่าลืมหาที่ปรึกษา” คลิกหน้า 4
ซิงเกิ้ลมัม ไม่โดดเดี่ยว
ปัจจุบันมีซิงเกิ้ลมัมเพิ่มมากขึ้น เวลาเกิดปัญหาอาจไม่รู้จะหันหน้าปรึกษาใคร ปวดหัวจากการทำงานมามากพอแล้วพอเจอฤทธิ์ความดื้อของลูกเล็กก็อดใช้คำพูดรุนแรง หรือตีลูกไม่ได้ ไม่ควรปล่อยปัญหานี้ให้เรื้อรัง ทุกวันนี้มีคลับคุณแม่มากมายที่มีประสบการณ์ต่างๆ กันรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกัน ซึ่งไม่ได้รวมกันในโซเชียลเน็ตเวิร์คเท่านั้น แต่มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมกันด้วยหรือการจัดอบรม ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกในสังคมยุคใหม่
เรื่อง: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids
ภาพ: Shutterstock