4. คอนแท็กเลนส์ ยังไม่เหมาะกับเด็ก
ยังไม่ควรให้เด็กใส่คอนแท็กเลนส์ เพราะต้องมีการดูแลทำความสะอาดและเด็กไม่สามารถดูแลเองได้ จะเกิดปัญหาติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้
ปัจจุบันมีคอนแทกเลนส์ตัดแสงไหม?
ปัจจุบันคอนแทกเลนส์ตัดแสงยูวีอยู่แล้ว แต่ไม่มีคอนแท็กเลนส์รุ่นไหนที่ออกมาพิเศษเพื่อแท็บเล็ตโดยเฉพาะ
5. ตาเขชั่วคราว ..พบเร็ว รักษาให้เร็ว
ถ้าพบว่าลูกมีอาการตาเหล่ ตาเข ตาส่อน อย่าปล่อยให้เป็นนาน ต้องรีบมารักษา ยังพอมีวิธีรักษาทันค่ะ อาจจะหายได้เอง หรือให้ใส่แว่นปรับสายตา ตาเขชั่วคราวเกิดจากอ่านหนังสือใกล้ๆ ใช้สายตาเขม่นมากเกินไป ตาเขบางประเภทไม่เกี่ยวกับการใช้หน้าจอดังนั้นต้องมาตรวจกับคุณหมอก่อนว่ามีภาวะที่ตาเขากล้ามเนื้อบีบตัวมากกว่าปรกติหรือเปล่า ตาเขบางชนิดทำให้เกิดตาขี้เกียจได้อีกด้วย
6. ตาขี้เกียจ..ตาไม่พัฒนาไปตามวัย
ตาขี้เกียจคือโครงสร้างอวัยวะภายในของดวงตาไม่พัฒนา เกิดจากการมองเห็นได้ไม่ดีในตอนเด็กๆ ทำให้สมองไม่พัฒนาตาม สุดท้ายแล้วดวงตาไม่มีพัฒนาไปตามอายุของเด็ก อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นตาข้างที่มัว มองไม่เห็น ถ้าพบตอนเด็กยังพอแก้ไขได้ค่ะ แม้จะไม่เอ็ฟเฟ็กต์กับพัฒนาการไอคิวหรืออีคิวของเด็ก แต่มีผลต่อบุคลิกภาพเพราะตาข้างที่ขี้เกียจจะเป็นตาเหล่ ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกเป็นตาขี้เกียจ ควรรีบพาไปพบจักษุแพทย์ ไม่ควรรอ การรักษาตั้งแต่เด็กจะได้ผลของการรักษาที่ดีกว่ารอโตแล้ว หรือในบางคนกว่าจะไปพบคุณหมอก็โตเกินที่จะทำการรักษาได้แล้ว
7. Computor Vision Syndrome ..กลุ่มอาการคล้ายติดเกมส์
เด็กที่ติดแท็บเล็ต หรือติดมือถือ จะมีอาการคล้ายกับติดคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เพิ่มเติมจากอาการตาแห้งและอื่นๆ คือจะรู้สึกขาดไม่ได้ ที่พบแน่ๆ ทำให้สายตาสั้นมากขึ้น สายตาจะเปลี่ยนบ่อยๆ ทำให้มึนหัว นอกเหนือไปจากนั้นอาจมีอาการปวดคอ ปวดหลัง เสียบุคคลิกภาพอีกด้วยค่ะ
ผู้ปกครองบางคนกลัวว่าถ้าไม่ให้ลูกเล่นแท็บเล็ตโตขึ้นอาจจะตามไม่ทันเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร online หากถามหมอว่าแนะนำให้ใช้ไหม แนะนำให้ใช้อย่างพอประมาณ ไม่ควรให้เล่นเป็นระยะเวลายาว ใช้อยู่ในวิจารณญาณของผู้ใหญ่เพราะมีผลต่อพัฒนาการส่วนหนึ่งด้วย ถ้าใช้ 30 นาที พักสายตา 15 นาทีเป็นอย่างน้อย ผู้ใหญ่อย่างเราเองก็เช่นเดียวกันค่ะ ควรดูแลถนอมดวงตาให้ดี เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่ต้องใช้งานไปตลอดชีวิต ไม่มีอะไหล่เปลี่ยน เรามาถนอมดวงตาไว้ใช้ระยะยาวๆ ดีกว่านะคะ
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก
ที่มาจาก : อ.พญ. แพร์ พงศาเจริญนนท์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอตาและวุ้นตาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จากนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง ฉบับเดือนธันวาคม 2558)