คุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกเล็กไม่ควรปล่อย หรือละสายตาจากลูกเป็นอันขาด เพราะอาจจะเกิดเหตุการณ์อันตรายกับลูกน้อยได้ โดยเฉพาะการปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียวที่ชั้นบนของบ้าน อาคาร อาจทำให้ ลูกคอติดลูกกรง ได้ง่ายๆ เหมือนเด็กๆ เหล่านี้ สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำคือการตั้งสติ
เชี่ยว หวัง เด็กหญิงวัย 3 ขวบคนหนึ่งในประเทศจีน คลานไปเล่นแถวริมหน้าต่าง คุณพ่อ คุณแม่ออกไปทำธุระ ทิ้งให้หนูน้อยอยู่บ้านคนเดียว ด้วยอารมณ์ของเด็ก หนูน้อยจึงคลานไปเล่นแถวระเบียงอย่างสนุกสนาน ความสุขกลายเป็นความเศร้าเพียงไม่กี่วินาที เมื่อคอของหนูน้อยเขาไปติดในลูกกรงของหน้าต่าง หนูน้อยจึงห้อยต่องแต่งลงมาจากชั้น 4 สร้างความตกใจให้คนแถวนั้นเป็นอย่างมาก ทีมหน่วยกู้ภัยรีบเข้าช่วยเหลือ ง้างลูกกรงให้กว้างขึ้น พร้อมรั้งตัวหนูน้อยที่กำลังร้องได้อย่างระมัดระวัง ในที่สุดก็ช่วยหนูน้อยเอาไว้ได้
อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นที่จีนเช่นกัน เมื่อเด็กชายวัย 3 ขวบเล่นซนจนพลัดตกหน้าต่างชั้น 2 คอแขวนติดอยู่กับลูกกรง ระหว่างที่พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน โชคดีที่ชาวบ้านแถวนั้นสังเกตเห็นจึงรีบช่วยเหลือราวๆ 20 นาที ก่อนที่ทีมช่วยเหลือมาช่วยหนูน้อยไว้ได้อย่างปลอดภัย
อ่านต่อ “คุณจะทำอย่างไรเมื่อลูกคอติดลูกกรง?” คลิกหน้า 2
คุณจะทำอย่างไรเมื่อลูกคอติดลูกกรง?
มาดูเหตุการณ์ตัวอย่างเมื่อลูกน้อยศีรษะติดลูกกรง สิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องทำคือตั้งสติ อย่าแสดงอาการตกใจให้ลูกเห็น เพราะลูกจะยิ่งกลัว ร้องไห้ และขาดสติ
เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ของเด็กชายคนหนึ่งที่ศีรษะติดลูกกรง คุณแม่ถามลูกน้อยว่า
“ลูกลองนึกดีๆ ว่าก่อนที่จะเป็นแบบนี้ลูกทำอะไร?
หลังจากนั้นคุณพ่อ พยายามเข้าช่วยเหลือด้วยการ
- พยายามง้างลูกกรงให้กว้าง เพื่อศีรษะลูกน้อยจะลอดออกมาได้
- ลองขยับศีรษะลูกน้อยเบาๆ เพื่อดึงออก
- ถ้าศีรษะลูกยังติดอยู่ให้รีบแจ้งหน่วยกู้ภัยเพื่อขอความช่วยเหลือ
- บอกให้ลูกตั้งสติ แล้วนึกถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้ลูกติดลูกกรง
- เมื่อลูกมีสติ ลูกก็จะใช้ความคิด และช่วยเหลือตัวเองได้ ที่สำคัญพ่อแม่ต้องอย่าตกใจให้ลูกเห็น
- ชื่นชมลูก เมื่อลูกสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ
หนูน้อยในคลิปตั้งสติ และคิดได้ว่าควรทำอย่างไร จนในที่สุดก็ออกจากลูกกรงได้สำเร็จ
This Kid Gets His Head Stuck In A Fence
Rule #1: Don't panic.
由 Fatherly 发布于 2016年6月20日周一
ลูกกรงที่ปลอดภัย
ลูกกรงราวระเบียงที่มีความปลอดภัยต้องมีความห่างที่เด็กไม่สามารถเอาตัว หรือศีรษะลอดช่องเข้าไปได้ ไม่ว่าจะอยู่ในแนวตั้งหรือแนวนอน โดยมาตรฐานไม่ควรเกิน 9 เซนติเมตร
ในอเมริกามีการทดสอบเด็ก 2-5 ขวบ โดยการใช้ศีรษะลอดช่องว่างของซี่กรงที่มีความห่าง 5 นิ้ว พบว่าเด็กอายุ 5 ขวบ สามารถลอดได้ลำบาก แต่เด็กต่ำกว่านั้นลอดได้สบาย เมื่อใช้ความห่าง 4 นิ้ว พบว่าเด็ก 5 ขวบไม่สามารถลอดได้ เด็ก 4 ขวบลอดได้ลำบาก เด็ก 2-3 ขวบลอดได้สบาย
จากการทดสอบพบว่าซี่กรงไม่ควรห่างเกิน 3 นิ้ว จึงกลายเป็นมาตรฐานการอาคารของอเมริกา สำหรับการก่อสร้างครั้งต่อไป
เครดิต: clipmass.com, kapook.com, Fatherly, ผู้จัดการออนไลน์
Save