AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เด็กติดเหล้า เพราะผู้ใหญ่ให้ลิ้มลองรสชาติ

เด็กติดเหล้า เพราะผู้ใหญ่ให้ลิ้มลองรสชาติ

มีเด็กน้อยชาวจีนวัย 2 ขวบ กลายเป็น เด็กติดเหล้า ที่อายุน้อยที่สุดในโลก และไม่ยอมดื่มนม ดื่มแต่ไวน์ กับเบียร์ โดยพ่อแม่ของหนูน้อยลองหยดไวน์ที่ตะเกียบให้ลูกได้ลิ้มรส ตั้งแต่อายุเพียง 10 เดือน และปรากฏว่าเขาชอบ หลังจากนั้นก็ร้องขอมาตลอด พ่อแม่พยายามป้อนนม น้ำ ก็ไม่ยอม

คนทั่วไปในโลกสังคมออนไลน์ทั่วโลกตำหนิพ่อแม่ที่เห็นลูกกระดกขวดไวน์เข้าปากเป็นเรื่องขบขัน เด็กน้อยดื่มเบียร์หมดขวดโดยไม่มีผลข้างเคียง สังคมตั้งคำถามกับพ่อแม่ภูมิใจหรือไม่ ที่เลี้ยงลูกแบบตามใจ จนติดเหล้าอย่างจริงจัง กลายเป็นเรื่องยุ่งยากในการแก้ปัญหา

หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ กำลังพิจารณานำตัวเด็กไปดูแล จนกว่าการติดเหล้าของเขาจะควบคุมได้ และพ่อแม่ก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นด้วยว่า สามารถดูแลเขาได้อย่างเหมาะสม

รายงานระบุว่า เด็กน้อยจะร้องขอดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เวลาที่เห็นพ่อแม่ หรือญาติๆ ดื่มกัน ทางเดียวที่จะหยุดเขาได้ ก็คือไม่นำมาตั้งให้เขาเห็น พ่อแม่ควรเริ่มด้วยการไม่ดื่มต่อหน้าเขา และไม่ซื้ออีก

แพทย์หลายคนห่วงว่า อวัยวะภายในของเด็กน้อยอาจเสียหาย เพราะดื่มเหล้าตั้งแต่ยังเป็นทารก และเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในหลายปีนับจากนี้

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรให้ลูกลอง และปล่อยปละละเลยแม้สักนิดเดียว ซึ่งเราต่างก็รู้ว่าฤทธิ์ของแอลกอฮอล์นั้นอันตรายมากเพียงใด แม้แต่ตัวผู้ใหญ่เองยังโดนฤทธิ์มากมายจากสิ่งนี้ มาตรการ กฎ ต่างๆ ที่ออกมาคุมเข้ม ก็เพื่อลดอันตรายทั้งทางสุขภาพร่างกาย สังคม และหายนะที่จะเกิดขึ้นเพราะมัน

อันตรายของแอลกอฮอล์ที่มีต่อเด็ก

1.อันตรายระยะยาว

2.อันตรายระยะสั้น

เด็กไทยติดเหล้า

จากการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (2548) พบว่ามีเด็กทำผิดกฎหมาย และถูกควบคุมตัวเพราะดื่มสุรา จำนวน 121 ราย โดยเป็นเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป

ชมคลิป เด็ก 9 ขวบติดเหล้าป่วยทางจิต

สาเหตุหลักมาจากการอยากลอง เพื่อนชวน และผลมาจากครอบครัวที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คนในครอบครัว 47.5% จะหาความบันเทิงด้วยการดื่มเหล้า เด็กบางคนเห็นพ่อแม่ดื่มเหล้าทุกเย็น ซึ่งมีเด็กเพียง 31.4% เท่านั้น ที่เห็นว่าเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซ้ำร้าย เด็กยังเห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้คลายเครียด ลืมทุกข์ และเพลิดเพลิน

อ่านต่อ “สาเหตุลูกติดเหล้า และวิธีช่วยลูกให้เลิกเหล้า” คลิกหน้า 2

สาเหตุลูกติดเหล้า

  1. พ่อแม่ขาดการดูแลเอาใจใส่ในการป้องกัน แก้ไขปัญหาลูกหลานเมื่อพบว่ามีการดื่มแอลกอฮอล์
  2. พ่อแม่ขาดความรับผิดชอบ ไม่ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกในเรื่องของการดื่มแอลกอฮอล์
  3. พ่อแม่ขาดความรู้ทางด้านจิตวิทยาในการอบรมเลี้ยงดูและปกครองไม่ให้ลูกหลานดื่มแอลกอฮอล์
  4. พ่อแม่ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำ หย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ ทำให้ลูกหลานมีจิตใจว้าวุ่น สับสน
  5. พ่อแม่ขาดความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการอบรมสั่งสอน กวดขันลูกหลาน
  6. เด็กมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมทำตามกลุ่มเพื่อน
  7. เด็กเอาแบบอย่างตามกลุ่มเพื่อน มักใช้อ้างอิงในแง่ความคิด เพราะเด็กต้องการเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม
  8. มีความกระตือรือร้นอยากรู้ อยากลองอยากมีประสบการณ์ หากได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน
  9. เด็กประสบปัญหาไม่มีทางออก มีความกลัดกลุ้ม ตึงเครียดทางอารมณ์ เกิดความคิดวุ่นวายใจ
  10. เด็กอยู่ในชุมชนแออัดมากๆ มีแนวโน้มที่จะดื่มแอลกอฮอล์
  11. เด็กเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม มองภาพสังคมในแง่ลบ ไม่เป็นมิตร ไม่ได้รับความเป็นธรรมต่อตัวเขา

วิธีช่วยลูกให้เลิกเหล้า

  1. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกในการไม่ดื่มสุรา ดังคำที่ว่า “การกระทำสำคัญกว่าคำพูด”
  2. ทำความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ของเด็ก
  3. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคสมองติดสุรา ปริมาณการดื่มที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสีย
  4. เปิดอกคุยกับลูก เรื่องสุราว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร โดยไม่ครอบงำ หรือบังคับจิตใจแต่เป็นการอธิบาย
  5. ในกรณีที่จะลูกลดปริมาณการดื่ม ให้ตกลงเรื่องปริมาณการดื่ม วัน เวลา เป็นต้น (การหยุดดื่มเป็นวิธีที่ดี)
  6. ทำกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัวอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
  7. พูดกับลูกด้วยน้ำเสียงอบอุ่น แววตาอ่อนโยน ไม่ควรดุ ด่า ห้ามกระทำการลงโทษที่รุนแรง
  8. ให้พาเพื่อนมาแนะนำให้ครอบครัวรู้จัก
  9. ไม่บังคับให้เลิกสุราด้วยตัวเอง ควรพาลูกไปตรวจประเมินว่าเข้าข่ายติดสุราแล้วหรือยัง
  10. พาไปตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน สิ่งสำคัญคือ ไม่ควรพูดว่า “จะพาไปเลิกสุรา”
  11. กรณีที่ลูกไม่ยอมให้ความร่วมมือ คุณสามารถไปปรึกษาหมอที่โรงพยาบาลใกล้บ้านก่อนได้
  12. ถ้ามีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรไปได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

เครดิต: คมชัดลึก, วิชาการ.คอม, มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย, ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา, www.gotoknow.org