ลูกอาละวาด เมื่อลูกอยู่ในช่วงวัย 1-3 ปี มักเริ่มที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูอยู่บ้าง วัยนี้ห้ามอะไรไม่ค่อยจะฟัง เพราะเด็กเริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง และบางครั้งถ้าไม่ทำหรือไม่ได้ดั่งใจ ก็จะโกรธ โมโห แล้วก็อาละวาดออกมาในที่สุด ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธีรับมือเมื่อ ลูกอาละวาด ที่ได้ผลมาฝากกันค่ะ
ลูกอาละวาด เพราะอะไร ?
เด็กในวัย 1-3 ปี ที่มักจะร้องอาละวาดเวลาที่ไม่ได้ดั่งใจ หรือถูกห้าม ถูกดุมากๆ ก็มักจะแสดงออกมาทางสีหน้า อารมณ์ว่าไม่พอใจ แล้วก็แผดเสียงดังๆ ออกมา ที่เรียกว่าการอาละวาดของเด็กนั่นแหละค่ะ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการอาละวาดก็เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก ในการเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง การอาละวาดของเด็กมักเกิดขึ้นกับเด็กเกือบทุกคน ทั้งนี้ต้องอาศัยพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูในการอบรม สั่งสอนเพื่อให้เด็กได้รู้จักควบคุมและจัดการกับอารรมณ์ของตัวเองได้ ที่ควรต้องเริ่มตั้งแต่ตอนเป็นเด็กเล็กๆ และจะได้ติดตัวเป็นนิสัยที่ดีต่อไปเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า
อ่านต่อ >> “พ่อแม่เข้าใจพฤติกรรมลูกวัย 1-3 ขวบมากแค่ไหน ?” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
พ่อแม่เข้าใจพฤติกรรมลูกวัย 1-3 ขวบมากแค่ไหน ?
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนจะมีการตอบสนอง แสดงพฤติกรรม และอารมณ์ออกมาที่ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนเวลาไม่พอใจ หรือไม่ได้ดั่งใจก็อาจจะอยากอยู่เงียบๆ คนเดียว คือมีอาการงอน น้อยใจเล็กๆ แต่ก็มีเด็กอีกกลุ่มที่เลือกจะแสดงพฤติกรรม อารมณ์ด้วยการทำลายข้าวของ ตะโกน และแสดงวาจาไม่สุภาพออกมา แบบนี้ถือว่าเป็นการอาละวาด ก้าวร้าว ออกมาค่ะ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าเด็กในช่วงวัย 1-3 ขวบ เริ่มที่จะมีความคิด อารมณ์เป็นของตนเอง พ่อแม่จึงรู้สึกเหมือนลูกไม่ค่อยเชื่อฟัง และเมื่อลูกยึดตนเองเป็นหลัก เวลาที่ไม่ได้ดั่งใจ หรือไม่พอใจใคร ก็จะทำให้ขาดการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง จนแสดงออกมาด้วยการอาละวาดใส่คนรอบข้าง หรือหากหนักหน่อยอาจมีทำร้ายคนที่อยู่ใกล้ๆ ด้วย ซึ่งพ่อแม่จะต้องให้ความใส่ใจดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ควรสอนลูกใรสิ่งที่ลูกทำว่าผิดถูก ไม่ดีตรงไหน ไม่ควรทำพฤติกรรมแบบนี้เพราะอะไร เพื่อให้ลูกค่อยๆ ซึมซับในพฤติกรรมที่เป็นอยู่ว่าไม่ดี หากทำต่อไปจะไม่มีเพื่อนเล่นด้วย และไม่มีใครรัก จนเขาสามารถที่จะเปลี่ยนพฤติกกรรมอาละวาดไปได้ในที่สุด
อ่านต่อ >> “สาเหตุที่ลูกมีพฤติกรรมอาละวาด” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมีลูกอยู่ในช่วงวัย 1-3 ขวบได้เข้าใจพฤติกรรมการอาละวาดของลูกมากขึ้น พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกอาละวาด พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี1 ที่ได้พูดถึงสาเหตุของที่เด็กอาละวาด พร้อมด้วยวิธีรับมือป้องกันเมื่อลูกอาละวาด ได้ดังนี้
4 สาเหตุที่อาจเป็นต้นเหตุของพฤติกรรม
- ข้อจำกัดเรื่องภาษา คือ ไม่เข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูดหรือถามได้ทั้งหมด เด็กจึงสับสน เครียดเมื่อใครๆ ก็ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ตนเองต้องการ ไม่รู้จะบอกความรู้สึกของตนเองอย่างไร (หลังอายุ 3 ปี เด็กส่วนใหญ่สามารถบอกความรู้สึกได้ การร้องอาละวาดจึงค่อยๆ ลดลง ส่วนเด็กที่มีพัฒนาการทางภาษาช้า การร้องอาละวาดจึงอาจจะยังคงอยู่นานกว่า)
- ข้อจำกัดเรื่องพัฒนาการด้านอื่นๆ คือ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองทำให้หมดกำลังใจได้ง่าย ไม่สามารถทำในสิ่งที่ตนเองจินตนาการได้ เช่น เดิน วิ่ง ปีนป่าย วาดรูปหรือเล่นของเล่นที่ยากกว่าวัย
- ข้อจำกัดเรื่องสังคม เป็นการแสดงปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบ้าน อิจฉาเพื่อนหรือพี่น้อง หรือต้องการได้ในสิ่งที่เด็กคนอื่นมี หรือเรียกร้องความสนใจ
- ข้อจำกัดเรื่องทางกายภาพ เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยอยู่หิว / เหนื่อยหรือนอนไม่พอ / กังวลหรือไม่สบายตัว2
อ่านต่อ >> “10 วิธีป้องกันลูกอาละวาด จากคุณหมอเด็ก!!” คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
10 วิธีป้องกันเมื่อลูกร้องอาละวาด ที่ได้ผล
- พยายามกระตุ้นให้เด็กพูด บอกความรู้สึก เช่น “หนูทนไม่ไหวแล้วนะ” เข้าใจความรู้สึกของเขาและแนะนำว่าควรพูดยังไง
- ตั้งกฎที่เหมาะสมในบ้านและอย่าไปคาดหวังว่าเด็กต้องทำได้สมบูรณ์ ให้เหตุผลง่ายๆ ว่าทำไมต้องมีกฎและพยายามอย่าไปเปลี่ยนแปลงบ่อย
- พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เหมือนเดิมทุกวันเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้เด็กคาดเดาต่อไปได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้เด็กเกิดร้องอาละวาด เช่นการเล่นของเล่นที่ยากกว่าวัย
- หลีกเลี่ยงการไปนอกสถานที่ที่กินเวลานานๆ และต้องอยู่อย่างเป็นระเบียบ ถ้าต้องเดินทางไปไหนก็ให้พกหนังสือเล่มโปรดหรือของเล่นที่ชอบ
- เตรียมของว่างที่มีประโยชน์เผื่อเวลาลูกหิว และแน่ใจว่าลูกได้พักผ่อนเต็มที่แล้ว ก่อนออกเดินทาง
- เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กจากกิจกรรมที่อาจนำไปสู่การร้องอาละวาด แนะนำกิจกรรมที่ต่างออกไป ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่อาจต้องทำอะไรขบขันเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายขึ้น บางครั้งแค่เปลี่ยนสถานที่ก็ได้
- พยายามเลือกใช้คำอื่นแทนคำว่า “ไม่, อย่า” เพราะถ้าใช้บ่อยๆ เด็กก็จะหงุดหงิดได้ง่าย
- เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเองบ้าง
- เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการกับอารมณ์3
การเลี้ยงลูกต้องเลี้ยงอย่างเข้าใจ และต้องตามให้ทันพฤติกรรมของลูกในแต่ละวัย หากพบว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่ต้องรีบแก้ไข ไม่ควรปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมติดตัวไปจนโต เพราะนั่นจะทำให้ลูกเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ และท้ายที่สุดก็จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต …ด้วยความห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
บทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจ
ลูกร้องอาละวาดในที่สาธารณะ แม่จะทำยังไงดี?
เมื่อลูกโต…อาละวาด! จัดการอย่างไร
เทคนิคสยบ อาการ หงุดหงิด อาละวาด เหวี่ยงวีน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1,2,3www.thaihealth.or.th
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ