ลงโทษ Timeout เขาทำกันอย่างไร?
- ช่วงอายุที่เหมาะสมใช้เมื่อลูกอายุประมาณ 1 ขวบครึ่งขึ้นไป เล็กกว่านั้นคงไม่รู้เรื่อง หากโตกว่านี้ลูกจะต่อต้านและจะไม่ได้ผล
- แยกจากกัน แต่ขอให้ลูกอยู่ในสายตาการเดินออกไปไม่ใช่ว่าต้องเดินออกไปจนไกลลับตาค่ะ เพียงอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆก็พอ เพราะจุดประสงค์ของการแยกออกมาก็เพื่อให้ลูกน้อยรู้ว่า การแสดงอารมณ์ร้อนร้ายจะไม่เกิดผลใดๆ สงบเสียดีกว่าหรือให้เขารู้ว่า เพราะเขาทำอะไรบางอย่างไม่เหมาะ เขาถึงไม่ได้อยู่ใกล้คุณแม่เท่านั้นค่ะ ดังนั้นเพียงรักษาระยะห่างและทำกิจกรรมอื่นของคุณตามปกติ เยือกเย็นให้เห็นว่าคุณเอาจริงและช่างน่าเสียดายที่เขาได้เสียเวลานี้ไป
- เมื่อลูกสงบลงแล้ว คุณอาจกอดหรือหอมเพื่อบอกเขาว่าคุณยังรักเขาเหมือนเดิม และอาจบอกเหตุผลสั้นๆที่คุณไม่สามารถตามใจเขาในเรื่องที่เขาโวยวาย กรีดร้อง หรือทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้ แต่ที่สำคัญคือ ไม่ต้องกลับไปบ่นหรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องพฤติกรรมไม่น่ารักนั้นของลูกอีก อะไรที่มากไปก็อาจไม่ส่งผลดีนะคะ
ปรับเปลี่ยนวิธี Timeout
ทั้งนี้ถ้าการใช้ เวลานอก ในช่วงนี้ไม่เวิร์คอีกต่อไป ก็คงถึงเวลาต้องปรับกลยุทธ์กันหน่อยแล้ว คือแทนที่จะใช้วิธีนี้รับมือหลังจากที่ลูกทำผิด ก็ลองเปลี่ยนมาสอนให้ลูกรู้จักแยกตัวออกไปเองก่อนที่สถานการณ์จะย่ำแย่จนไม่อาจควบคุมได้โดย
อธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้ Time out หรือเวลานอก ตอนที่สถานการณ์ยังคงสงบดีอยู่คุณก็อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ถ้าเขาหงุดหงิด ไม่พอใจคุณ หรือตื่นเต้นมากซะจนลืมทำตามกฎ ตอนนี้เขาก็น่าจะโตพอจนรู้จักสงบจิตสงบใจได้เองแล้ว คือเมื่อใดที่อารมณ์เสียหรือโกรธจัด เขาก็ควรแยกไปนั่งคนเดียวเงียบๆ สัก 2 – 3 นาที หรือจนกว่าจะตัดสินใจได้ว่าควรทำอย่างไรต่อไปดี
สอนให้ลูกมีทัศนคติในเชิงบวกต่อวิธีนี้ บอกลูกว่า แม้บางครั้งคุณจะยังเป็นคนสั่งให้เขาแยกตัวไปสงบจิตใจให้เย็นลง วิธีนี้ก็ไม่ใช่การทำโทษ แต่เป็นเวลานอกที่ช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้นได้ต่างหากหามุมใหม่ให้ลูกแยกไปนั่งสบายๆ ได้คนเดียว เตรียมหมอนใบนุ่มหลากสีสวย ผ้าห่มผืนเหมาะ และนิทานดีๆ ไว้ให้พร้อม แต่หากสงสารลูกทำใจไม่ได้ที่จะลงโทษลูกให้หมองใจ ใช้วิธี Time in กันดีกว่าค่ะ
แก้นิสัยลูกน้อย ได้ด้วย Time-in
ถึงแม้ว่ากุมารแพทย์และนักจิตวิทยาพัฒนาการจะแนะนำให้ใช้วิธีการ Time out เมื่อต้องการจัดระเบียบนิสัยของลูก แต่จากงานวิจัยในช่วงหลังทำให้พบว่า จากภาพสแกนการทำงานของสมอง การที่จะใช้วิธีการ Time out นั้นไม่ได้ส่งผลดีตามที่คิด และยังรวมไปถึงความรู้สึกขุ่นเคืองใจที่เกิดขึ้นจากการถูกจับแยกให้ไปนั่งอยู่คนเดียวก็ส่งผลร้ายต่อสภาพจิตใจที่ส่งผลต่อเนื่องไปถึงพัฒนาการด้านอารมณ์ด้วยเช่นเดียวกัน
อ่านต่อ >> “เทคนิคเชิงบวกแก้นิสัยลูกน้อย ได้ด้วย Time in” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่