ขู่ลูก ส่งผลร้าย! พบ 4 วิธีพูดที่ดี ช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ - amarinbabyandkids
ขู่ลูก

ไม่ต้อง “ขู่” หนูก็เชื่อฟังแม่ ด้วย 4 วิธีทำได้ง่ายๆ

event
ขู่ลูก
ขู่ลูก

ขู่ลูก

ต่อไปนี้ คือ วิธีการที่ใช้ได้ผลมากกว่า

1. พูดชมเชยเวลาลูกมีพฤติกรรมที่ดี

เช่น “หนูน่ารักมากๆ เวลาที่หนูไม่ตะโกน” “ลูกเก่งมากที่กินผักวันนี้”

2. เป็นตัวอย่างที่ดี

เช่น การเข้าคิวซื้อกาเร็ตป๊อปคอร์น/คริสปี้ครีมไม่แซงคิว การผลัดกันไม่แย่งกันเวลาเจอของแบรนด์เนมลดราคา การรอคอยอย่างอดทนไม่โวยวายเวลาต้องรออะไรนานๆ เช่นเวลารอตรวจที่โรงพยาบาล เป็นต้น

ขู่ลูก3. บอกผลตามมาที่เป็นจริง

ซึ่งอาจเป็นการให้รางวัล ทำสิ่งที่ลูกชอบ หรือ การงดของที่ลูกชอบ เช่น “ถ้าลูกไม่เก็บของเล่นให้เรียบร้อย แม่จะเก็บแล้วหนูจะไม่ได้เล่นอีก 3 วัน” “ถ้าลูกแบ่งของให้น้องเล่น วันนี้แม่จะอ่านนิทานให้ฟังเพิ่มขึ้นอีก 1 เรื่อง” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้จริงเท่านั้น และจะทำให้พ่อแม่มีคำพูดเชื่อถือได้

4. ไม่พูดว่า “จะไม่รักลูก”

ให้พูดว่า “แม่รักลูก แต่แม่เสียใจที่ลูกไม่เชื่อฟังแม่” “แม่รักลูก แต่แม่ไม่ชอบเวลาที่ลูกดื้อกับแม่” “แม่รักลูก แต่ถ้าลูกทำผิด แม่ก็ต้องลงโทษลูก”

ง่ายมาก.. เปลี่ยนวิธีขู่เป็นให้แรงเสริม “ชม” “ให้รางวัล”

แม้วิธี “ขู่ลูกให้กลัว” จะทำให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว ผู้ใหญ่ไม่เหนื่อย แต่ไม่เป็นผลดีในระยะยาว จะดีกว่าไหมถ้าเด็กๆ ของเราเลือกทำสิ่งที่เหมาะสมได้ด้วยตัวเขาเอง มาจากการควบคุมตัวเองเป็นและรู้จักรับผิดชอบพฤติกรรมของตัวเอง ซึ่งเป็นวินัยที่จะติดตัวเขาไปจนโต

เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ แสดงความชื่นชม เมื่อเขาแสดงพฤติกรรมที่ดี น่าชมเชย และเมื่อถูกตักเตือน ก็ต้องรีบใช้โอกาสนี้ สอนสิ่งที่ถูกที่ควรว่า ลูกควรแสดงออกอย่างไร เมื่อเขาเข้าใจการกระทำของตนเอง และเปลี่ยนแปลงเพราะได้รับคำชม เขาก็จะกลายเป็นเด็กที่รู้อะไรควรไม่ควร

เพราะเด็ก ถือเป็นเมล็ดพันธุ์ที่จะงอกเงยเป็นต้นไม้ใหญ่ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งผู้ปลูกอย่างคุณพ่อคุณแม่ ต้องดูแลรดน้ำไปทุกวัน จนกว่าจะเติบใหญ่ ดังนั้น เด็กถือเป็นผลผลิตครอบครัวที่สำคัญค่ะ

อ่านต่อ บทความดี ๆ น่าสนใจ” เพิ่มเติมคลิก!


บทความโดย: พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

ภาพ: Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up