3.เรียบร้อยแล้ว (สอนให้ลูกรู้จักขั้นตอนต่างๆ)
คำว่า “เรียบร้อยแล้ว” เป็นวิธีทำให้เด็กได้รับการยอมรับในสังคมที่ตัวเองอาศัย ไม่ใช่การพูดด้วยวาจาเท่านั้น แต่ต้องให้สัมผัสด้วยตัวเอง การบอกให้ผู้ใหญ่รู้ว่า “เรียบร้อยแล้วนะ” “ยังไม่เรียบร้อย” “ทำแบบนี้ถูกแล้ว” เด็กจะรู้สึกสบายใจว่ามีที่ยืนในสังคม
หมั่นชมลูกบ่อยๆ หรือเตือนซ้ำๆ เพื่อให้พวกเขาไปถึงเป้าหมายของตัวเอง เพราะเด็กเล็กมักสังเกตคำพูด และการกระทำของคนรอบข้าง หมั่นสอนเขาบ่อยๆ เนื่องจากเด็กไม่รู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร คำว่า “เรียบร้อยแล้ว” เกิดจากความต้องการให้ผู้ใหญ่ตั้งใจดูเขาให้ดี
คำว่า “เรียบร้อยแล้ว” ที่เด็กพูดออกมา มีความหมายและหน้าที่หลายอย่าง เมื่อเด็กบอกว่า “เรียบร้อยแล้ว” พ่อแม่บอกว่า “เก่งจังเลย” ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ในทางจิตวิทยาเรียกว่า “สภาพแวดล้อมที่พร้อมตอบสนอง” ตอบสนองคำพูดและการกระทำของลูกอย่างกระตือรือร้น เป็นสิ่งที่ขาดไปได้สำหรับพัฒนาการเด็ก
4.ไม่เป็นไร (ช่วยสร้างความรู้สึกสบายใจ)
บางครั้งลูกก็ต้องการความรู้สึกว่าตัวเองได้รับการปกป้องเช่นกัน ถ้าพ่อแม่เอาแต่ถามว่า “ไม่เป็นไรใช่มั้ย” ตลอดเวลา จะทำให้ลูกกังวลยิ่งขึ้น ลองใช่คำว่า “ไม่เป็นไร” ด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น เพื่อสร้างความสบายใจ หรือคำที่มีความหมายคล้ายกัน เช่น “สบายใจได้” “แบบนี้ดีแล้ว” “ดีจังนะ”
อย่าพูดว่า “ไม่เป็นไร” ถ้าตัวเองก็กังวลเหมือนกัน
เด็กบางคนปกติแล้วดื้อมาก แต่บางครั้งก็กลายเป็นเด็กขี้กลัว การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม มักเกิดในเด็กเล็กและไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทักษะการควบคุมอารมณ์ยังไม่สมบูรณ์ การที่เด็กมีท่าทางและการแสดงออกที่แตกต่างกัน คือการค้นหาตัวตนของตัวเอง
เด็กบางคนเป็นเด็กติดแม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กจะออกห่างจากพ่อแม่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ จะกำหนดสิ่งต่างๆ เป็นไปตามใจตัวเอง เมื่อเขามีทักษะการตัดสินใจขั้นพื้นฐาน และตัดสินใจด้วยตัวเองได้แล้วจะเริ่มอยากห่างพ่อแม่ไปเอง