AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เลี้ยงลูกอย่างไร? ไม่ให้เอาแต่ใจตัวเอง

คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่า คุณพ่อ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบตามใจ มักจะชอบทำอะไรให้ลูกน้อยทุกอย่างที่ลูกร้องขอ ทำให้ลูกขาดทักษะ และความเข้าใจโลกภายนอกที่แท้จริง การเอาใจลูกมากจนเกินไป และไม่คาดหวังให้ลูกพยายาม จนทำให้ลูกเกิดอาการที่เรียกว่า เอาแต่ใจตัวเอง ขึ้นได้

เอาแต่ใจตัวเอง คืออะไร?

อาการของเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง คือการที่เด็กมีอารมณ์โกรธรุนแรง เมื่อถูกขัดใจ รวมถึงการไม่ยอมทำตามคำสั่ง มักจะรบกวน และสร้างความเครียดให้กับคนรอบข้าง การหาสาเหตุ และแก้ปัญหาเด็กเอาแต่ใจ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเด็กที่เอาแต่ใจตัวเองมักจะมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ที่รุนแรง และทำให้มีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นได้ เพราะว่านิสัยวู่วาม หุนหันพลันแล่นตามอารมณ์ เมื่อเด็กไม่ได้รับการเอาอกเอาใจ ปัจจัยสำคัญเกิดจากพ่อแม่ การแก้ปัญหาก็ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ และควรฝึกฝนลูกน้อยไม่ให้เป็นเด็กเอาแต่ใจตั้งแต่ยังเล็ก

ลักษณะของเด็กเอาแต่ใจตัวเอง

1.ระดับร้ายแรง คือ เด็กที่มีอารมณ์โกรธรุนแรง ไม่สามารถระงับอารมณ์ พยายามบีบบังคับให้คนอื่นทำตามต้องการ เข้าใจว่าตัวเองมีความสำคัญมาก มีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น ขาดความเห็นอกเห็นใจ และชอบโทษคนอื่น

2.ระดับเปราะบาง คือเด็กที่มีความพยายามที่จะระงับความโกรธ หรือความไม่พอใจ แต่มีความวิตกกังวล และรู้สึกโดดเดี่ยว อยากเป็นคนสำคัญ หรือคนพิเศษ มีทัศนคติในแง่ลบ มีความรู้สึกไม่พอใจ หรือโกรธอยู่ภายใน หลงตัวเอง

3.ระดับเรียกร้องความสนใจ มีความสามารถในการทำงานสูง รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ แต่ความรู้สึกหลงตัวเองจะช่วยผลักดันให้พัฒนาความสามารถ เช่น การพูด การเขียน การเข้าใจสังคม ปรับตัวได้ดี และกระตือรือร้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การแสดงออก และสาเหตุของเด็กเอาแต่ใจตัวเอง” คลิกหน้า 2

การแสดงออกของเด็กเอาแต่ใจตัวเอง

สาเหตุของเด็กเอาแต่ใจตัวเอง

เด็กเอาแต่ใจตัวเองเกิดจากการถูกเอาใจจนเป็นนิสัย ส่วนใหญ่จะพบในลูกคนเดียวที่ไม่ค่อยได้เล่นกับเด็กคนอื่นๆ รู้สึกไม่พอใจที่จะต้องแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น หรือรู้สึกว่าถูกละเลย หรือการเอาใจมากจนเกินไปของพ่อแม่ หรือเห็นพ่อแม่ให้ความสำคัญกับน้องมากกว่าตัวเอง จึงมีพฤติกรรมเอาแต่ใจ เพื่อเรียกร้องความสนใจขึ้น โดยสาเหตุหลักๆ มีดังนี้

1.ลูกน้อยมีความพอใจที่ได้รับการตามใจจากคุณพ่อ คุณแม่ และซึมซับจนเป็นนิสัย

2.การคบเพื่อนที่เอาแต่ใจทำให้ลูกน้อยอยากเป็นเด็กเอาแต่ใจบ้าง มีความรู้สึกอย่างโดดเด่นแบบเพื่อน

3.มีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะผู้อื่น มีความเห็นแก่ตัว และไม่เต็มใจที่จะเสียสละให้ผู้อื่น

4.การเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจ เอาอกเอาใจ พ่อแม่ล้มเหลวที่จะเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของลูก

5.พ่อแม่ไม่สามารถปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้ลูกได้ เพราะเป็นแบบอย่างของความเอาแต่ใจให้ลูกเห็น

6.ลูกปฏิเสธที่จะเป็นคนดี ไม่มีความศรัทธาในศาสนา ไม่ให้ความสำคัญกับคุณธรรม และจริยธรรม

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “พ่อแม่ทำให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง” คลิกหน้า 3

พ่อแม่ทำให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

ถ้าคุณพ่อ หรือคุณแม่ได้ยินคนพูดว่า “จะตามใจลูกไปถึงไหน” นั่นคือคำเตือนที่ควรเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้น ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป การเลี้ยงลูกแบบตามใจไม่ใช่เกิดจากการเลี้ยงลูกแบบประคบประหงมตอนเป็นทารก แต่คือการที่คุณพ่อ คุณแม่เอาใจลูกเมื่อถึงวัยที่เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว  เด็กวัยคลานเริ่มมีพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเอง นั่นคือพัฒนาการโดยปกติของเด็กวัยนี้ และการกอด การหอมลูกน้อยวัยคลาน ไม่ได้แปลว่าคุณพ่อ คุณแม่กำลังตามใจลูก เรามาดูตัวอย่างพฤติกรรมเมื่อลูกน้อยเริ่มเอาแต่ใจตัวเองกันค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “แก้ไขอย่างไรเมื่อลูกเอาแต่ใจตัวเอง” คลิกหน้า 4

แก้ไขอย่างไรเมื่อลูกเอาแต่ใจตัวเอง

1.หลังจากที่ลูกโตเกิน 2 ขวบ นิสัยเอาแต่ใจตัวเองจะค่อยๆ ลดลงไปเอง แต่ถ้าลูกยังเอาแต่ใจตัวเองอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อ คุณแม่ควรพูดกับลูกอย่างจริงจัง เพื่อให้ลูกรู้ว่าต้องปรับพฤติกรรม ที่อาจติดตัวไปจนโต

2.ตั้งเป้าหมาย และความคาดหวังในตัวลูกอย่างเหมาะสม ไม่ใจอ่อน และยอมกับการกรีดร้อง หรืออาละวาด เพื่อปรับเปลี่ยนความเอาแต่ใจของลูกให้ได้ผล

3.ให้ตัวเลือกกับลูก เพื่อให้เขาเป็นคนตัดสินใจ เช่น ให้เลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ อาหารที่จะรับประทาน หนังสือที่จะอ่าน โดยการสร้างตัวเลือกให้ลูก หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติตาม หรือกฎข้อบังคับ

4.ไม่ให้ตัวเลือกกับลูก ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือกฎเกณฑ์ทางสังคม เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถประนีประนอมได้ ลูกจำเป็นจะต้องปฏิบัติตาม เช่น คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งของ

5.เมื่อลูกต่อต้าน พ่อแม่ต้องเตรียมตัวรับมือ เพราะเด็กเอาแต่ใจจะไม่ยอมปฏิบัติตาม พ่อแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจความแตกต่างของ “ความจำเป็น” และ “ความต้องการ” สนับสนุนให้ลูกทำทุกอย่างที่จำเป็น ส่วนความต้องการนั้นต้องดูว่าสมควร หรือไม่สมควร

6.เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก หาโอกาสให้ลูกมีส่วนร่วมในการเหตุการณ์ที่พ่อแม่เสียสละ อดทน และควบคุมตัวเอง

7.ไม่ปกป้องลูกมากจนเกินไป ไม่อำนวยความสะดวกให้ลูกมากจนเกินไป ปล่อยให้ลูกเรียนรู้ และรับมือกับปัญหา เพื่อสร้างความมั่นใจ และทักษะในการแก้ปัญหาให้ลูก

8.สอนให้ลูกมีความอดทน เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปดั่งใจได้ทุกอย่าง ไม่ตอบสนองเมื่อลูกมีความต้องการในทันที ลูกควรเรียนรู้การรอคอย และป้องกันตัวเองจากความโกรธ

9.ไม่ชื่นชมลูกจนเกินควร การให้ความสนใจ และชมเชยลูกในทุกครั้ง จะทำให้ลูกต้องการความสนใจ และคำชมเชยมากขึ้น ควรชื่นชมลูก เมื่อเขาสามารถทำสิ่งใหม่ หรือสิ่งที่ยากจนสำเร็จ ไม่ควรชมพร่ำเพรื่อ

10.สอนลูกให้เคารพสิทธิของคนอื่น เมื่อลูกได้รับสิ่งที่จำเป็นแล้ว เช่น อาหาร เสื้อผ้า ให้ลูกเรียนรู้ว่าคนอื่นก็ต้องการสิ่งที่จำเป็นเช่นเดียวกัน สอนให้ลูกเคารพพ่อแม่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเคารพผู้อื่นด้วย

11.จำเอาไว้ว่า การรักลูก แตกต่างจากการตามใจลูก พ่อแม่ควรแสดงความรักต่อลูก สอนให้ลูกเป็นคนเก่ง มีความน่าไว้เนื้อเชื่อใจ และใส่ใจความรู้สึกของคนอื่น แสดงความรักผ่านการกระทำ และคำพูด ด้วยการกอด หอม และบอกลูกว่า “รัก”

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง” คลิกหน้า 5

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง

1.ตั้งกฎเกณฑ์ หรือเป้าหมายเกี่ยวกับพัฒนาการ และความสามารถของลูกให้เป็นไปตามวัยที่เหมาะสม

2.ตั้งกฎความปลอดภัยให้ลูก เช่น อย่าแหย่นิ้วไปในเตาร้อนๆ ห้ามวิ่งเล่นที่ถนน ห้ามใจอ่อนกับลูกเด็ดขาด

3.สร้างพฤติกรรมทางสังคมเชิงบวก เช่น สอนให้ลูกพูดว่า ขอโทษ ขอบคุณอย่างสุภาพ กับเพื่อน และคนอื่น

4.คุยกับลูกเรื่องพฤติกรรมอย่างชัดเจน เช่น การตั้งคำถามปลายเปิด ว่าลูกทำแบบนั้นทำไม? เพราะอะไร?

5.เมื่อคุณพ่อ คุณแม่หงุดหงิดกับสิ่งที่ลูกทำ แล้วแสดงความโกรธ หรือโมโห สิ่งนั้นไม่ได้สอนอะไรให้ลูกเลย

6.เมื่อพูดแล้ว คุณพ่อ คุณแม่ต้องทำตามที่พูด ถ้าหวังอยากให้ลูกเป็นเด็กดี คุณพ่อ คุณแม่ต้องทำให้ดูตามที่พูด เช่น เมื่อพูดว่าไม่ให้ลูกเล่นของเล่นอีกถ้าไม่รักษาของ ก็ต้องทำตามที่พูดด้วย

เครดิต: ผู้จัดการออนไลน์, ถามครูดอทคอม

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ลูกเอาแต่ใจตัวเอง รับมืออย่างไรดี?

เลี้ยงลูกแบบตามใจ แล้วลูกจะเสียคนจริงหรือไม่?

วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กมีน้ำใจ รู้จักให้ และเสียสละ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save