คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่า คุณพ่อ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกแบบตามใจ มักจะชอบทำอะไรให้ลูกน้อยทุกอย่างที่ลูกร้องขอ ทำให้ลูกขาดทักษะ และความเข้าใจโลกภายนอกที่แท้จริง การเอาใจลูกมากจนเกินไป และไม่คาดหวังให้ลูกพยายาม จนทำให้ลูกเกิดอาการที่เรียกว่า เอาแต่ใจตัวเอง ขึ้นได้
เอาแต่ใจตัวเอง คืออะไร?
อาการของเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง คือการที่เด็กมีอารมณ์โกรธรุนแรง เมื่อถูกขัดใจ รวมถึงการไม่ยอมทำตามคำสั่ง มักจะรบกวน และสร้างความเครียดให้กับคนรอบข้าง การหาสาเหตุ และแก้ปัญหาเด็กเอาแต่ใจ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเด็กที่เอาแต่ใจตัวเองมักจะมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ที่รุนแรง และทำให้มีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นได้ เพราะว่านิสัยวู่วาม หุนหันพลันแล่นตามอารมณ์ เมื่อเด็กไม่ได้รับการเอาอกเอาใจ ปัจจัยสำคัญเกิดจากพ่อแม่ การแก้ปัญหาก็ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ และควรฝึกฝนลูกน้อยไม่ให้เป็นเด็กเอาแต่ใจตั้งแต่ยังเล็ก
1.ระดับร้ายแรง คือ เด็กที่มีอารมณ์โกรธรุนแรง ไม่สามารถระงับอารมณ์ พยายามบีบบังคับให้คนอื่นทำตามต้องการ เข้าใจว่าตัวเองมีความสำคัญมาก มีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น ขาดความเห็นอกเห็นใจ และชอบโทษคนอื่น
2.ระดับเปราะบาง คือเด็กที่มีความพยายามที่จะระงับความโกรธ หรือความไม่พอใจ แต่มีความวิตกกังวล และรู้สึกโดดเดี่ยว อยากเป็นคนสำคัญ หรือคนพิเศษ มีทัศนคติในแง่ลบ มีความรู้สึกไม่พอใจ หรือโกรธอยู่ภายใน หลงตัวเอง
3.ระดับเรียกร้องความสนใจ มีความสามารถในการทำงานสูง รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ แต่ความรู้สึกหลงตัวเองจะช่วยผลักดันให้พัฒนาความสามารถ เช่น การพูด การเขียน การเข้าใจสังคม ปรับตัวได้ดี และกระตือรือร้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่