เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป ป้องกันโรค “ไม่รู้จักลำบาก” - amarinbabyandkids
เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป

เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไปป้องกันโรคไม่รู้จักลำบาก

event
เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป
เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป

ลูก คือเหตุผลที่ทำให้พ่อแม่ทุ่มเท อยากเป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุดเพื่อให้ลูกจดจำ การเลี้ยงลูกต้อง เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป เพราะพ่อแม่บางครั้งด้วยความรักลูกมักจะโอบอุ้มลูก และตามใจจนลูกเคยตัว ไม่ได้หมายความว่าต้องเลี้ยงให้ลำบาก แต่ฝึกให้รู้จักดูแล และช่วยเหลือตัวเองได้

เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป

การสอนลูกให้เป็นคนมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือคนอื่น และรู้จักมีความรับผิดชอบ มีความอดทน และไม่อ่อนแอก็เป็นเรื่องสำคัญ คุณพ่อ คุณแม่ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง เข้มแข็งพอที่จะดุลูก และสั่งสอนลูก

สอนลูกอย่างไรในสังคมปัจจุบัน

ในช่วงขวบปีแรกพ่อแม่ต้องให้ความรักให้ลูกน้อยอย่างเต็มที่ ลูกจะรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย รักตัวเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง ป้องกันการเป็นเด็กที่มีปัญหาในสังคม ทำให้ลูกรักคนเป็น เคารพผู้อื่น เห็นใจผู้อื่น ลูกที่ขาดความรักจะไม่สนใจใคร รักแต่ตัวเอง และกล้าที่จะต่อสู้กับพ่อแม่ของตัวเอง

ฉะนั้นพ่อแม่ต้องให้ความรักด้วยการอบรมลูก สอนให้เขารู้จักเคารพผู้อื่น ไม่เจ้าระเบียบมากจนเกินไป อย่าใช้ความรุนแรง เพราะลูกจะต่อต้าน และมีปัญหาทางอารมณ์

คุณพ่อ คุณแม่เคยเจอเหตุการณ์นี้บ้างมั้ย?

เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป
โรคไม่รู้จักความลําบาก
  • ลูกขี้เกียจมากๆ พอทำอะไรไม่ได้ ก็ร้องไห้ วิ่งไปหาพ่อแม่ ให้พ่อแม่ช่วย
  • ลูกขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจ
  • ลูกค้นหาตัวเองไม่เจอ ความอดทนต่ำ โลกสวย ทุกอย่างง่ายไปหมด

ต้นเหตุของพฤติกรรมเหล่านี้ คือ ความสบายที่มากจนเกินไป ชีวิตนี้มีพ่อแม่ทำให้ หาให้ จัดการให้ทุกอย่าง อยากได้อะไรก็ได้ เมื่อไม่ได้ดังใจ ไม่ทันใจ ไม่ถูกใจ ก็โมโห อาละวาด และโทษคนอื่น แต่ลืมมองดูตัวเอง เมื่อลูกร้องไห้ งอแงหนักเข้า พ่อแม่ก็จะรีบตอบสนองความต้องการของลูก ด้วยการตามใจ กลัวลูกไม่มีความสุข กลัวลูกไม่รัก

พ่อแม่ทุกคนรักลูก และอยากให้ลูกมีความสุข แต่คุณพ่อ คุณแม่อยู่เลี้ยงลูก ตามใจลูกไปตลอดชีวิตไม่ได้ ต้องปล่อยให้ลูกรู้จักโต รู้จักดูแลตัวเอง และรู้จักความลำบาก

“ลำบาก” ไม่ใช่ปล่อยให้หิว อดตาย อดมื้อกินมื้อ ให้ลูกไปทำงานหนัก เพื่อแลกกับอาหาร แต่เป็นการมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบ และฝึกให้ลูกรู้จักรอ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “การมอบหมายหน้าที่ให้เหมาะสมกับวัย” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up