คุณพ่อ คุณแม่หลายคนอยาก เลี้ยงลูกให้เป็นคนมีน้ำใจ โดยพื้นฐานแล้ว เด็กทั่วไปมักเผลอแสดงความเห็นแก่ตัวออกมาด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะนั่นคือสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ แต่เราสามารถฝึกฝนให้ลูกน้อยเป็นเด็กมีน้ำใจได้ง่ายๆ แค่นึกถึงความรู้สึกของคนอื่น
เลี้ยงลูกให้เป็นคนมีน้ำใจ
ในแต่ละวัน เราสามารถทำสิ่งดีๆ มากมายเพื่อคนอื่น แต่ดูเหมือนยังมีหลายคน ที่ยังคิดถึงแต่ตัวเอง ซึ่งหลักฐานมีอยู่รอบๆ ตัวเราในสังคม เช่น การคดโกงด้วยวิธีผิดๆ ขับรถแซงหน้าคนอื่น พูดจาหยาบคายใส่กัน หรือระเบิดอารมณ์ใส่กัน ความเห็นแก่ตัว พบได้ในหลายครอบครัว ทำให้เกิดปัญหาการหย่าร้าง เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดความรับผิดชอบ และบางครั้งก็ปลูกฝังความเห็นแก่ตัวให้ลูกน้อยโดยไม่ตั้งใจ โดยการตามใจลูก และไม่กล้าอบรมสั่งสอน เมื่อลูกทำผิด
แต่ก็ยังมีคุณพ่อ คุณแม่จำนวนไม่น้อย ที่พยายามสอนลูกให้คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเองเสมอ และส่งผลดีกับลูกน้อยมากมาย เพราะการให้ ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ
1.ชมเชยลูกมากเกินไป
ปัญหา: หนุ่มสาวหลายคนเริ่มทำงานประกอบอาชีพ โดยหวังเอาไว้สูงว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้สร้างผลงานอะไรเลย บางคนวาดฝันถึงตำแหน่งที่ยังไม่ชำนาญงาน บางคนคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น และต้องการได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ เมื่อไม่ได้เป็นดังหวังก็รับไม่ได้
สาเหตุ: การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก ทำให้ส่งผลถึงตอนโต พ่อแม่บางคนชอบชมเชยลูกๆ แต่เป็นการชมเชยที่เกินพอดี ชมเชยลูกในทุกๆ เรื่อง และมองข้ามเรื่องที่ลูกน้อยทำผิดพลาด เพื่อให้ลูกรู้สึกภูมิใจ และมีความมั่นใจในตัวเอง
วิธีแก้: ชมเชยลูก เมื่อเห็นว่าสมควรจริงๆ อย่าชมเพียงเพราะต้องการให้ลูกมีความรู้สึกดีกับตัวเอง ความมั่นใจในตัวเองที่แท้จริง มาจากการฝึกฝนทักษะ และการเรียนรู้ ไม่ใช่เกิดจากการที่มีคนชมว่าเก่ง
อ่านต่อ “ทำไมลูกถึงเป็นคนไม่มีน้ำใจ” คลิกหน้า 2
ปัญหา: หนุ่มสาวหลายคนเริ่มทำงานประกอบอาชีพ แต่ไม่ได้ถูกฝึกให้รับมือกับปัญหา เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์เพียงเล็กน้อยก็รับไม่ได้ บางคนมีมาตรฐานสูง เลือกทำแต่งานที่ตรงกับความต้องการของตัวเองเท่านั้น
สาเหตุ: พ่อแม่ยุคใหม่ รู้สึกว่าต้องปกป้องลูกจากปัญหา จนบางครั้งก็ปกป้องลูกมากจนเกินไป ทำให้เขาคิดว่า ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง ในหนังสือสอนลูกอย่างถูกวิธี (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “แทนที่ลูกจะฝึกรับมือกับความเจ็บปวด และความผิดหวัง หรือได้บทเรียนที่ตัวเองกระทำ เด็กเหล่านี้จะหลายเป็นคนที่เอาแต่ใจ และคิดถึงแต่สิ่งที่เขาได้รับจากพ่อแม่ และคนรอบข้าง
วิธีแก้: คำนึงถึงวัยของลูก และฝึกให้ลูกรู้จักความรับผิดชอบจากการกระทำของตัวเอง อาจปลอบใจเขา และพูดคุย เพื่อให้ลูกทบทวนกับเรื่องที่เกิดขึ้น ฝึกให้ลูกได้ฝึกแก้ปัญหา ลูกน้อยจะแข็งแกร่ง และมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เพราะเด็กที่มีแต่คนที่คอยช่วยแก้ปัญหาทุกอย่างแทน จะไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้เลย
ปัญหา: หนุ่มสาวหลายคนในยุคปัจจุบัน 81% เป้าหมายสูงสุดในชีวิตคือความร่ำรวย มีเพียงไม่กี่คนที่อยากช่วยเหลือคนอื่น แต่คนที่สนใจในความร่ำรวย ไม่ได้มีความสุข และทุกข์ใจมากกว่า และมีปัญหาสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจมากกว่าอีกด้วย
สาเหตุ: เด็กบางคน ถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวที่เห็นเงินเป็นสำคัญ ในหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวว่า “พ่อแม่อยากให้ลูกมีความสุข ส่วนลูกอยากได้สิ่งของสารพัด พ่อแม่จึงซื้อให้ และเด็กมีความสุขเพียงไม่นาน ก็อยากได้ของมากกว่าเดิม” สิ่งนี้ทำให้ลูกไม่รู้จักพอ
อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป ป้องกันโรค “ไม่รู้จักลำบาก”
วิธีแก้: ในฐานะพ่อแม่ ลองสำรวจทัศนคติด้านการเงินของตัวเอง จัดลำดับความสำคัญของชีวิต และสอนให้ลูกทำอย่างเดียวกัน พ่อแม่และลูกน้อยสามารถพูดคุยกันได้ ว่าเราควรจะซื้ออะไร ราคาเท่าไหร่ สมควรหรือไม่ อย่าใช้สิ่งของเป็นยาแก้ปัญหา ควรแก้ด้วยความคิด ความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
อ่านต่อ “วิธีเลี้ยงลูกให้มีน้ำใจ” คลิกหน้า 3
วิธีเลี้ยงลูกให้มีน้ำใจ
เด็กที่รู้จักให้ และเข้าใจในความรู้สึกของคนอื่น จะเป็นที่รักของคนทั่วไป คุณพ่อ คุณแม่สามารถบ่มเพาะจิตใจที่ดีให้กับลูกน้อยได้ง่ายๆ และทำให้ลูกน้อยมีความมั่นใจในการทำความดีมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาเด็กๆ ในยุคดิจิตอล ที่ชอบหวงของ เห็นแก่ตัว และไม่มีน้ำใจ การเลี้ยงลูกให้มีน้ำใจ ควรมีขั้นตอนดังนี้
1.เตรียมตัวให้ลูกเป็นเด็กมีน้ำใจ
เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้ความ แต่มีอาการหวงของ การจะสอนให้ลูกน้อยรู้จักให้นั้น ควรเริ่มจากการอธิบายให้ฟัง ว่าเด็กหลายคนไม่ได้โชคดี เกิดมามีครอบครัวที่อบอุ่น มีพ่อแม่ที่เอาใจใส่ และเห็นวันเกิดเป็นวันสำคัญของเขา ลูกน้อยจะเริ่มรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนอื่น และจะนึกอยากช่วยเหลือคนอื่นให้มีความสุขบ้าง
แนะนำให้ลูกน้อยรู้จักการให้ โดยเริ่มจากของเล่นชิ้นที่ไม่ชอบก่อน หรือของเล่นชิ้นโปรดที่ไม่ได้เล่นแล้ว คุณพ่อ คุณแม่อาจพาลูกน้อยไปช่วยเลือกซื้อข้าวของสำหรับบริจาค ให้ลูกน้อยมีส่วนช่วย หลังจากนั้น ลองฝึกให้ลูกให้ สิ่งของที่คิดว่าคนอื่นต้องการจริงๆ เมื่อลูกได้ให้คนอื่น จิตใจของเขาจะพองโต รู้สึกดี มีจิตใจที่ดี เชื่อมั่นในความดีของตัวเอง และจะเป็นเด็กที่รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3.ชื่นชมลูกเมื่อลูกเป็นเด็กมีน้ำใจ
เมื่อลูกน้อยทำความดี ด้วยการให้ หรือเสียสละ คุณพ่อ คุณแม่ อย่าลืมชื่นชม และอธิบายให้ลูกน้อยฟังว่า ผลของการให้จะเป็นอย่างไรต่อไป เช่น คนที่ได้รับจะดีใจ และมีความสุข อาจทำสมุดความดีเอาไว้ ให้ลูกน้อยบันทึกสิ่งดีๆ ที่ตัวเองได้ทำ
อ่านต่อ “ตัวอย่างของคนมีน้ำใจ” คลิกหน้า 4
ตัวอย่างของคนมีน้ำใจ
การฝึกให้ลูกน้อยเป็นเด็กมีน้ำใจนั้น ทำได้ง่ายๆ เพียงคุณพ่อ คุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงความมีน้ำใจต่อคนรอบข้างให้ลูกเห็นทุกๆ วัน ดังนี้
- ให้ความช่วยเหลือ เมื่อมีคนหยิบสิ่งของไม่ถึง
- ถ้ากำลังจะเปิดประตูเข้าอาคาร แล้วเห็นว่ามีคนเดินตามหลังมา แค่เปิดประตูรอคนอื่นไว้อีกนิด
- ยิ้ม และทักทายคนที่รู้จัก ด้วยไมตรีจิต
- ให้กำลังใจเพื่อน หรือคนรู้จัก เมื่อเขาต้องพบเจอกับเรื่องแย่ๆ
- เมื่อต้องทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ พยายามจำชื่อ เอกลักษณ์ เมื่อพบกันอีกครั้งอย่าลืมทักทาย
- ให้ความช่วยเหลือเด็กๆ คนอ่อนแอ หรือสัตว์เลี้ยงที่ถูกกระทำรุนแรง
- เมื่อไปใช้บริการสถานที่ต่างๆ แล้วประทับใจ อย่าลืมเขียนจดหมายเล่าถึงความดีของพนักงาน
- เมื่อมีคนกำลังจะนินทาคนอื่น แล้วบังเอิญอยู่ในวงนั้นพอดี ลองเปลี่ยนเรื่องคุย หรือเลี่ยงออกมา
- ถ้ามีหนังสือดีๆ อย่าลืมมอบให้ใครสักคนที่ต้องการกำลังใจ จะสามารถส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้ผู้อื่น
- ถ้ารู้ว่าเพื่อนบ้าน หรือคนรู้จักป่วย ลองให้ความช่วยเหลือ เช่น ไปเยี่ยม นำของอร่อยๆ ไปให้
- ถ้าที่บ้านทำขนมอร่อยๆ อย่าลืมนำมาแบ่งปันเพื่อนๆ ให้ลองชิม
- ถ้าพบว่าคนแถวบ้านมีความเดือดร้อนเรื่องการเงิน อย่าลืมช่วยเหลือโดยการซื้อของจำเป็นมอบให้
- ชวนลูกๆ เขียนจดหมาย หรือส่งข้อความดีๆ ให้เพื่อน ให้คุณตา คุณยาย หรือคนรู้จัก
- ให้ความช่วยเหลือ เด็ก หรือคนชราที่กำลังจะข้ามถนน หรือขึ้นลงบันได รถประจำทาง
การทำเพื่อคนอื่น โดยไม่หวังผลตอบแทนนั้น นอกจากจะทำให้มีความสุขแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือคนอื่นให้มีความสุข และส่งต่อความมีน้ำใจต่อๆ ไป
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
เด็ก ม.4 พาคุณยายที่หายตัวไปกลับบ้าน : ปลูกฝังให้ลูก “มีน้ำใจ” ได้อย่างไร
สอนลูกให้มีน้ำใจ ในพริบตา!
Save
Save
Save