AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เรียนแบบไหน? ส่งเสริมให้ลูกน้อยเก่งรอบด้าน

สมองส่วนหน้า (EF) คือส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ลูกน้อยประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะส่งผลต่อการเรียน การควบคุมจิตใจให้จดจ่อ ไม่ยอมแพ้ สามารถควบคุมอารมณ์ และความคิด คุณพ่อ คุณแม่สามารถช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าของลูกน้อย ด้วยการเลือกให้ลูกเรียน หลักสูตรพัฒนาสมอง เหล่านี้

หลักสูตรพัฒนาสมอง เพื่อลูกน้อย

1.เรียนสองภาษา

แต่ต้องเป็นการเรียนภาษาโดยธรรมชาติ อย่างเช่น ครอบครัวที่พ่อแม่พูดกันคนละภาษา และเวลาที่พ่อแม่คุยกับลูกจะคุยในภาษาของตัวเอง เด็กกลุ่มนี้จะใช้ทักษะ EF เยอะตั้งแต่เด็ก เพราะต้องคุยกับแม่ภาษาหนึ่ง พ่อภาษาหนึ่ง สมองเขาต้องเปลี่ยนตลอดเวลา ตอนนี้ต้องพูดภาษาอังกฤษ ตอนนี้ต้องพูดภาษาไทย (รวมถึงภาษาอื่นๆ ด้วย)  ซึ่งถ้าเด็กเรียนรู้ตามธรรมชาติไม่ได้ถูดยัดเยียด แล้วเรียนถูกต้องตามหลัก คือไล่ลำดับจาก ฟัง พูด อ่าน เขียน หมายความว่า ฟังออก พูดได้ ก่อนที่จะอ่านเขียนสะกดคำ แบบนี้เด็กจะมี EF ที่ดี แต่ปัญหาของเด็กกลุ่มนี้คือ พัฒนาการด้านการพูดจะช้ากว่าเด็กที่พูดภาษาเดียวเล็กน้อย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

2.เรียนหลักสูตร Montessori

ซึ่งเป็นหลักสูตรการสอนอนุบาลที่เก่าแก่ พัฒนาโดยมาดามมาเรีย มอนเตสซอรี่แพทย์ผู้ดูแลรักษาเด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม มาดามมาเรียจึงพยายามคิดหาวิธีฝึกเด็กเหล่านี้ให้สามารถอ่านออกเขียนได้ จากนั้นจึงนำหลักสูตรมาปรับและประยุกต์ใช้กับเด็กทั่วไป ในประเทศไทยมีการนำหลักสูตรนี้มาใช้หลายโรงเรียน แนวทางการศึกษาในหลักสูตร Montessori จะเน้นให้เด็กจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่เขาสนใจ มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ เด็กจะได้คิดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับการทำงานของ EF

อ่านต่อ “เรียนแบบไหน? ส่งเสริมให้ลูกน้อยเก่งรอบด้าน” คลิกหน้า 2

3.เรียนหลักสูตร Tools of the mind

เป็นหลักสูตรที่อเมริกาคิดขึ้นมา สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยอนุบาล เน้นในเรื่องทักษะทางอารมณ์และทักษะทางสังคม เช่น ฝึกให้เด็กควบคุมอารมณ์ตนเองได้ รู้จักสีหน้าคนอื่น เข้าใจคนอื่น จะทำอะไรก็คิดถึงคนอื่น เด็กกลุ่มนี้ที่ได้รับการฝึกตั้งแต่เด็กๆ ก็จะมี EF ดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

4.วิถีพุทธแบบไทย

การเรียนการสอนวิถีพุทธ เน้นให้เด็กคิดไตร่ตรอง รู้ความเป็นจริงทั้งหลาย เช่น จะกินข้าวก็รู้ว่าเรากินเพื่ออะไร ไม่ใช่กินเพื่อความอยาก แต่กินเพื่อให้ไม่หิว ให้เรามีแรงทำกิจกรรมต่อได้ การสอนให้เด็กคิดหาคำตอบด้วยตัวเองแบบนี้บ่อยๆ ก็เป็นการส่งเสริม EF เด็กเช่นกัน

อ่านต่อ “เรียนแบบไหน? ส่งเสริมให้ลูกน้อยเก่งรอบด้าน” คลิกหน้า 3

5.Active Learning

การสอนแบบนี้พบได้ในโรงเรียนอนุบาลหลักสูตรบูรณาการต่างๆ หัวใจหลักของ Active Learning คือเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่ใช่นั่งเรียนเขียนอ่านอยู่แต่ที่โต๊ะตัวเองเท่านั้น ซึ่งการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัตินั้น สมองส่วนหน้าของเด็กจะทำงานอย่างเต็มที่ เป็นการเรียนรู้เพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง และเก็บไว้เป็นคลังข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในอนาคต

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

พัฒนาสมองง่ายๆ หนูทำได้ตามวัย

สมองของมนุษย์พัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก สังเกตง่ายๆ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูก 6 เดือน  หากเราเอาผ้าคลุมของเล่นไว้ เขาจะเข้าใจว่าของเล่นชิ้นนั้นหายไป จึงเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่น จนเมื่อลูกอายุ 7-9 เดือน  เขาจึงจะเริ่มเปิดหาของเล่นที่ซ่อนไว้ใต้ผ้า หมายความว่าสมองส่วนหน้าของเขาได้เกิดการพัฒนาขึ้นแล้ว  จึงทราบได้ว่าวัตถุไม่ได้หายไปไหน เมื่อเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ สมองส่วนหน้าของเขาก็จะพัฒนามากขึ้นอีก โดยสังเกตจากการทดลองเมื่อเรามีผ้าคลุม 2 ผืน แต่มีของเล่นซ่อนอยู่ใต้ผ้าคลุมเพียงผืนเดียวเท่านั้น  หากเป็นช่วงก่อน 1 ขวบ เด็กจะเปิดหาแต่ผ่าคลุมผืนเดิมซ้ำๆ แม้ใต้ผ้าคลุมผืนนั้นจะไม่มีของเล่นซ่อนอยู่ก็ตาม จนกระทั่งเขาอายุมากกว่า 1 ขวบ จึงจะรู้จักเปิดหาผ้าคลุมทั้งสองผืน ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ต้องเกิดจากการใช้ทักษะหลายๆ ด้าน  เช่น เกิดการเรียนรู้และจดจำว่าของเล่นไม่ได้ซ่อนอยู่ตำแหน่งเดิม (Working Memory) จากที่มุ่งมั่นจะหาของเล่นที่ผ้าคลุมผืนแรกจึงต้องหยุดความคิดเดิม (Inhibit) และเปลี่ยนไปหาที่ผ้าคลุมผืนใหม่ (Shift) แม้จะเป็นการใช้ทักษะ EF อย่างง่ายๆ แต่ก็เป็นสัญญาณว่า สมองส่วนหน้าของลูกน้อยเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ยังเล็ก และควรมีพัฒนาการต่อเนื่องอย่างเหมาะสมตามวัย ดังนี้

1 ขวบ: ความจำจะพัฒนาไปเรื่อยๆ เริ่มจากจดจำของเล่นของตัวเองได้ ทำให้รู้จักหาเมื่อของเล่นหายไป และมีความสามารถในการจดจำคนในครอบครัว จึงแยกแยะคนในครอบครัวออกจากคนแปลกหน้าได้

3 ขวบ: ยับยั้งตัวเองโดยไม่ต้องมีใครสั่ง เด็กควรรู้พื้นฐานว่า สิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ แม้อยากวิ่งเล่น แต่เป็นเวลาอาหาร เขาควรหยุดความอยากของตัวเอง นั่งลงกินข้าวจนเสร็จได้ หรือสามารถหยุดอารมณ์โกรธ

4 ขวบ: เมื่อเด็กหยุดความคิดได้แล้ว เขาจะสามารถเปลี่ยนความคิดได้ นำไปสู่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ เช่น เมื่อเด็กเลิกคิดว่าปากกาใช้เขียน เขาจะสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ว่าปากกาจะนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใดได้อีกบ้าง

5 ขวบ: มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เช่น เมื่อโกรธเพื่อนต้องไม่ทำร้ายเพื่อน เมื่อเศร้าเสียใจก็ร้องไห้ไม่นาน สามารถคืนสู่สภาวะอารมณ์ปกติได้อย่างรวดเร็ว และวางแผนในเรื่องง่ายๆ ได้

6 ขวบขึ้นไป: มีการคิดริเริ่ม การประเมินตนเอง การจัดการข้าวของ ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กมุ่งมั่นลงมือทำตามแผนที่วางไว้ รู้จักประเมินความสามารถของตนเอง เพื่อให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

อ่านต่อ บทความน่าสนใจ

6 เคล็ดลับทำง่าย สร้างเสริมสมองลูกเล็กฉลาดอย่างได้ผล

เทคนิคกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาดอย่างถูกวิธี

 


นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับเดือนกันยายน 2559

Save

Save